ชมสภาพ!! พลาสติกแข็ง เช่น ฝาขวด ที่ใช้เวลาย่อยสลายทางชีวภาพนานถึง 400 ปี
ปลายทางการย่อยสลายของพลาสติกมี 3 รูปแบบ คือการเสื่อมสภาพ (Degradation) แตกสลาย (Fragmentation) และย่อยสลายเป็นสารชีวภาพ (Biodegradation) ซึ่งระดับการย่อยสลายมีความสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาขยะพลาสติก
พลาสติกคือสารประกอบโพลีเมอร์ซึ่งสกัดโดยใช้กระบวนการทางเคมีแตกต่างหลากหลายซึ่งจะให้ผลลัพธ์เป็นพลาสติกที่ต่างชนิดกัน แต่พลาสติกซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันจะทำจากไฮโดรคาร์บอนซึ่งพบได้ทั่วไปในแก๊สธรรมชาติ น้ำมัน และถ่านหิน กล่าวแบบกำปั้นทุบดิน พลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ได้จากการสกัดเชื้อเพลิงฟอสซิล
หากทิ้งมันไว้เฉยๆ เป็นการ การย่อยสลายทางชีวภาพ (biodegradation) หรือการสลายตัวทางชีวภาพ คือสารเคมีที่สลายตัวของวัสดุจากเชื้อแบคทีเรียหรือทางชีวภาพอื่นๆ โดยมีความสัมพันธ์กับระบบนิเวศ การจัดการขยะ ชีวการแพทย์ และสภาพแวดล้อมทางชีวภาพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถย่อยสลายกลับไปเป็นธาตุตามธรรมชาติ สารอินทรีย์จะถูกย่อยสลายด้วยออกซิเจน หรือไม่ใช้ออกซิเจน
การย่อยสลายทางชีวภาพคือกระบวนการที่นำสารอินทรีย์มาทำปฏิกิริยากับสารอนินทรีย์ ทำให้ย่อยสลายได้ ซึ่งอินทรียวัตถุจะเปลี่ยนเป็นแร่ธาตุ สารลดแรงตึงผิวซึ่งจะหลั่งออกมายังผิวด้านนอกโดยการทำงานของเซลล์จุลินทรีย์ เพื่อเพิ่มกระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ การย่อยสลายทางทั่วไปใช้อินทรีย์วัตถุ เช่น พืช สัตว์ และสารอื่นๆที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต หรือวัตถุที่มีความคล้ายคลึงกับพืช และสัตว์ ที่ทำให้จุลินทรีย์สามารถนำไปใช้ได้ จุลินทรีย์บางชนิดเกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยจุลินทรีย์มีความหลากหลายในกระบวนการสร้าง นำไปสู่การย่อยสลาย
นวัตกรรมวิธีการที่สำคัญในการย่อยสลายของจุลินทรีย์ได้เปิดเผยรายละเอียดด้านข้อมูลทางพันธุกรรม การศึกษาสารพันธุกรรมทั้งหมดของจุลินทรีย์ การศึกษาด้านโปรตีนทั้งหมดที่มีในรหัสพันธุกรรม ชีวสารสนเทศ การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมของจุลินทรีย์ระดับสูง เพื่อนำไปสู่กระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ และความสามารถของจุลินทรีย์เพื่อปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ผลิตภัณฑ์ที่มีสารย่อยสลายชีวภาพได้ และสารย่อยสลายทางชีวภาพไม่ได้ ในการตลาดมักบอกว่าสลายได้ทางชีวภาพได้
พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ มักเรียกว่า พลาสติกชีวภาพ พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ จะถูกแตกสลายเป็นเศษเล็กๆ จากการกระทำของน้ำ แสงแดด(ถ้ามี) และออกซิเจน ต่อมาเศษเล็กๆเหล่านั้นจะเป็นอาหารของเชื้อแบคทีเรีย พลาสติกดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นโพลีเอสเทอร์ มีความไวต่อการถูกทำลายด้วยน้ำ
ภายใต้ออกซิเจนที่ต่ำ พลาสติกย่อยสลายทางชีวภาพจะย่อยสลายช้าลง และผลิตก๊าซมีเทน เหมือนอินทรียวัตถุอื่นๆ กระบวนการสลายจะเร่งในกองปุ๋ยหมัก พลาสติกที่จะทำจากแป้งจะย่อยสลายภายใน 2-4 เดือนในถังหมักที่บ้าน ขณะที่กรดโพลิแลกติกส่วนใหญ่ไม่ย่อยสลายที่อุณหภูมิที่สูง กว่าถึงจะย่อยสลายได้โพลีคาร์โพรแลกโตน และแป้งโพลีคาร์โพรแลกโตนจะย่อยสลายช้ากว่า แต่ปริมาณของแป้งจะเร่งการสลายตัวโดยหลังพื้นที่ผิวรูพรุนสูง ใช้เวลาหลายเดือน
ชมภาพ การย่อยสลายทางชีวภาพ ในระยะเวลา เพียง50 วัน จะถูกแตกสลายเป็นเศษเล็กๆ ซึ่งการย่อยสลายที่ดีที่สุดคือการย่อยสลายเป็นสารชีวภาพ กล่าวคือบรรจุภัณฑ์นั้นจะไม่ทิ้งร่องรอยหรือปล่อยสารเคมีอันตรายใดๆ สู่ธรรมชาติ ส่วนการย่อยสลายที่ดูจะสร้างปัญหาใหม่คือการแตกสลาย ที่ทำให้พลาสติกชิ้นใหญ่กลายเป็นพลาสติกจิ๋ว (Microplastics) ซึ่งปนเปื้อนในธรรมชาติได้ง่ายขึ้นและขจัดได้ยากขึ้น