หาชมได้ยากยิ่ง
สมเด็จพระพุฒาจารย์
(โต พฺรหฺมรํสี)
หรือนามที่นิยมเรียก..
"สมเด็จโต" "หลวงปู่โต"
หรือ "สมเด็จวัดระฆัง"
ภิกษุที่ไม่ยอมสอบไล่
ต่อพระพักตร์..
"พระบาทสมเด็จพระ
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ"
และ ต่อพระพักตร์..
"สมเด็จพระสังฆราช"
(สุก) นั่นแล..
ปรากฏว่าชื่อ "โต"
และสืบมา เมื่อได้
เจริญพรรษา และ
คุณวุฒิ..
ได้เลื่อนสมณศักดิ์
สูงขึ้นเป็นลำดับ..
สมณศักดิ์ครั้งสุดท้าย
ของท่าน คือ..
"สมเด็จพระราชาคุณ
ชั้นพิเศษ" เรียกขาน
ตามสมณศักดิ์ ที่ได้
รับพระราชทานว่า..
"สมเด็จพระพุฒาจารย์"
ประทับอยู่ ณ วัดระฆัง
โฆสิตาราม..
มีข้อน่าประหลาดอย่าง
หนึ่ง ที่ท่านเรียนรู้ปริยัติ
ธรรม แต่ไม่เข้าแปล
หนังสือเป็นเปรียญ..
(*ในสมัยก่อนนั้น การ
สอบพระปริยัติธรรม
ไม่ได้ออกเป็นข้อสอบ
เหมือนทุกวันนี้..
การสอบในครั้งนั้น
ต้องสอบพระปริยัติ
ธรรมต่อพระพักตร์
"พระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัว" และ..
"สมเด็จพระสังฆราช
(สุก)" ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม..
เป็นการสอบด้วย
ปากเปล่า สุดแต่ผู้เป็น
ประธานกรรมการ
และ กรรมการจะ
สอบถามอย่างใด
ต้องตอบให้ได้..
ถ้าตอบไม่ได้ก็หมาย
ความว่าสอบตกเพียง
แค่นั้น..)
และแปลกยิ่งกว่านั้น
ก็คือ มีผู้เรียกท่านว่า
"มหาโต" มาตั้งแต่
แรกบวช..
(*ปรากฏในบัญชีราย
นามพระสงฆ์พระราช
ทานฉัน และสดัปกรณ์
ราย ๑๐๐ ในงานพระ
ราชพิธีวิสาขบูชา
รัชกาลที่ ๓ วันแรม ๒
ค่ำ เดือน ๖ แต่ไม่ลงปี
มีนาม "เจ้าพระคุณ
สมเด็จฯ" เขียนว่า..
"มหาโต เปรียญเอก"
บางแห่งว่า..
"มหาโต" เปรียญ ๔
ประโยคแรก..)
แต่ บางคนเรียกว่า..
"ขรัวโต"
ทั้งนี้เพราะเห็นว่า..
ท่านมักชอบทำอะไร
แปลกๆ ไม่ซ้ำแบบ
ใคร..
นี้เป็นเรื่องธรรมดา
ของอัจฉริยบุคคล
ซึ่งตามปรกติคนส่วน
มาก ไม่ค่อยเข้าใจ
ในอัจฉริยภาพอันมี
ความหมายสูง..
อัจฉริยบุคคลแทบ
ทุกท่าน เมื่อยังมีชีวิต
อยู่ มักจะมีผู้เข้าใจ
ว่า "บ้า" เสมอ..
มีมติอยู่ข้อหนึ่งว่า..
"..อัจฉริยบุคคล และ
คนบ้านั้นอยู่ห่างกัน
เพียงก้าวเดียว.."
ว่าถึงความรอบรู้พระ
ปริยัติธรรม ปรากฏ
ว่า "ท่านเจ้าพระคุณ
สมเด็จฯ" เป็นผู้แตก
ฉานในพระไตรปิฏก
มีชื่อทั้ง..
- เป็นผู้เรียน ก็เรียน
เก่งกว่าใคร..
- เป็นครู ก็สอนได้ดี
เยี่ยม มีลูกศิษย์ลูกหา
มากมาย..
ศิษย์ที่เป็นเปรียญเอก
และทรงสมณศักดิ์สูง
คือ..
"หม่อมเจ้าพระสมเด็จ
พระพุฒาจารย์ (ทัด)"
(วัดพระเชตุพน)
"เจ้าพระคุณสมเด็จฯ"
สิ้นชีพิตักษัย ณ หอ
สวดมนต์..
วัดระฆังโฆสิตาราม
จังหวัดธนบุรี เวลา
๒ ยาม (๒๔.๐๐น.
วันเสาร์แรม ๒ ค่ำ
เดือน ๘ (ต้น) ปีวอก
จุลศักราช ๑๒๓๔
ตรงกับวันที่..
๒๒ มิถุนายน ปีพุทธ
ศักราช ๒๔๑๕
ในรัชกาล..
"พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
(*รัชกาลที่ ๕)
คำนวณสิริอายุได้..
๘๕ ปี ครองพรรษา
ได้ ๖๕ พรรษา..
............................................