ความจริงของ ว่านจั๊กจั่น หรือ พญาว่านต่อเงินต่อทอง
ความเชื่อของคนโบราณ เชื่อว่าว่านจั๊กจั่น หรือ พญาว่านต่อเงินต่อทอง เป็นว่านกึ่งพืชกึ่งสัตว์ประเทภเดียวกับพวกมักกะีลีผล ผู้ใดมีบูชาก็จะมีทรัพย์สินงอกเงยไม่ขาดมือ
จนมีขายกันในร้านค่าออนไลน์ ในเฟซบุ๊ก ว่านจั๊กจั่น ขายว่านจักจั่นว่าเป็นของวัตถุมงคลมีราคาราคา 299-499 บาท และทำให้มีชาวบ้านบางพื้นที่ออกไปขุดหาวัตถุดิบมาขายมีราคากิโลกรัมละ 1,000 บาท
แต่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ได้ชี้ชัดไปแล้วว่า ว่านจั๊กจั่น ที่หลายคนบูชานี่ที่แท้แล้วคือ จั๊กจั่นที่ตายแล้วจากการติดเชื้อรา ไม่มีส่วนไหนที่เป็นว่านหรือพืชเกี่ยวข้องตามที่เข้าใจ
"จั๊กจั้นจะติดเชื้อราในขณะที่เป็นตัวอ่อนในช่วงที่ขึ้นมาลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยเหนือดิน ในระยะนี้จั๊กจั่นจะอ่อนแอมาก ร่วมด้วยช่วยกันกับอากาศชื้นจากหน้าฝนที่มีความชื้นสูง ทำให้เชื้อราที่แพร่กระจายได้ดีในอากาศ เมื่อเชื้อราตกลงไปอยู่บนตัวจั๊กจั่นผู้อ่อนแอ ภูมิต้านทานต่ำ จึงทำให้เชื้อราสามารถแทงเส้นใยเ้ข้าไปและงอกงามภายใจตัวจั๊กจันได้ดี โดยดูดน้ำเลี้ยงในตัวจั๊กจั่นเป็นอาหาร และทำให้จั๊กจั่นตายในที่สุด
...เมื่อจั๊กจั่นตายแล้วเชี้อราหมดทางหาอาหารได้จึงต้องพยายามไปหาอาหารที่อื่่น โดยการสร้างโครงสร้างสืบพันธุ์ที่มีลักษณะเหมือนเขายืดขึ้นเหนือพื้นดิน (ลักษณะที่เหมือนเขาของว่านจั๊กจั่น) สปอร์ หรือ หน่วยสืบพันธุ์ที่ติดอยู่บริเวณปลายเขาที่สร้างขึ้นเหนือพื้นดิน จะต้องอาศัยลมหรือน้ำในการพัดพาให้ไปตกอยู่ในที่อื่นๆ เพื่อค้นหาจั๊กจั่นโชคร้ายตัวต่อไป"
เชื้อราที่มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในตัวแมลงที่มีชีวิต จัดอยู่ในประเภท เชื้อราทำลายแมลง ราชนิดนี้นักวิจัยสันนิษฐานว่าเป็นเชื้อราสายพันธุ์ Cordyceps sobolifer
จากการศึกษาของนักวิจัยจากไบโอเทคพบว่ามีราทำลายแมลงในประเทศไทยมากกว่า 400 ชนิด พบได้ทั้งบนหนอน แมลงวัน มวน เพลี้ย ผีเสื้อ ปลวก แมลงปอ แมงมุม มด เป็นต้น
สำหรับประเทศไทย มีรายงานว่าว่านจักจั่นมีความใกล้เคียงกับราชนิด Ophiocordyceps sobolifera กินแล้วคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว ชัก กล้าเนื้อเกร็งกระตุก ดวงตาหมุนวนไปรอบๆไม่ทิศทางที่ชัดเจน อ่อนแรงใจสั่น และเวียนศรีษะ และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
พิพิธภัณฑ์เห็ดรา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ