"รากฟันเทียม"หรือ"ฟันปลอม" เลือกให้ดี ก็ใช้ชีวิตอย่างเป็นสุข
ด้วยปัญหาภายในช่องปาก ก็นับว่าเป็นเรื่องที่น่าหงุดหงิดไปเลยใช่ไหมถ้าเป็นปัญหาของ “ฟัน”แต่อย่าคิดเหนื่อยใจไปเลยนะ เดาดูเล่น ๆ ถ้าเราดูแลและรักษาฟันให้มีสุขภาพที่ดีก็นับว่าความสุขของเราก็จะไม่หายไปโดยเฉพาะเรื่องของการรับประทานอาหารที่ชอบ แต่เอาเถอะบางครั้งบางทีก็มีเหตุให้ต้องสูญเสียฟันของเราไปโดยไม่ตั้งใจ วันนี้เรามีเรื่องราวของฟันมาฝากด้วย จะช่วยคุณได้มากน้อยแค่ไหนตามมาเลย…
รากฟันเทียมคืออะไร
คือฟันปลอมชนิดหนึ่งมีรูปร่างคล้ายรากฟันทำมาจากวัสดุไทเทเนียม ซึ่งวัสดุไทเทเนียมสามารถเข้ากับร่างกายของมนุษย์ได้ดี โดยรากฟันเทียมจะทำหน้าที่แทนรากฟันธรรมชาติที่สูญเสียไปหรือถอนไป
สาเหตุที่ต้องทำรากฟันเทียม
จากสาเหตุที่ต้องรักษาหรือต้องเข้ารับทำรากฟัน อาจมาจากตัวฟันบางซี่ผุลึกจนทำให้ฟันร้าว มีความแตกหัก บิ่น ผิดรูปและทะลุไปถึงปมประสาทฟันและอีกกรณีคือได้รับอุบัติเหตุส่งผลให้มีเชื้อโรคเข้าถึงโพรงประสาทฟันทำให้เกิดการติดเชื้อในเวลาต่อมาที่สำคัญส่งผลเสียทำให้การรับประทานอาหารเป็นเรื่องยาก เช่น เคี้ยวอาหารแล้วไปโดนโพรงประสาททำให้รู้สึกปวด รำคาญ และใช้ชีวิตได้ยากขึ้น
รากฟันเทียมกับฟันปลอม แตกต่างกันอย่างไรมีกี่แบบ
สำหรับรากฟันเทียมและฟันปลอมจะมี 2 แบบด้วยกัน คือ แบบถอดได้และแบบติดแน่น ซึ่งในปัจจุบันการใช้รากฟันเทียมจะถูกเป็นที่นิยมมากกว่าการใส่ฟันปลอม เนื่องจากรากฟันเทียมเป็นฟันปลอมแบบติดแน่นที่จำลองได้ทั้งตัวรากฟันและตัวฟันได้อย่างเป็นธรรมชาติกว่าฟันปลอม โดยที่ไม่ต้องกรอฟันหรือตัดแต่งรูปฟันใด ๆ
ข้อดี-ข้อเสียการทำรากฟันเทียม และฟันปลอม
ข้อดีของการทำรากฟันเทียม
ข้อที่ 1.เป็นแบบติดแน่นไม่ต้องถอดเข้า-ออกเหมือนฟันปลอม
ข้อที่ 2.เพิ่มความมั่นใจให้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ข้อที่ 3. ไม่ต้องกรอแต่งฟันข้างเขียง
ข้อที่ 4.หลังใส่รากฟันเทียมสามารถพูด ออกเสียงได้อย่างเป็นธรรมชาติ
ข้อเสียของการทำรากฟันเทียม
ข้อที่ 1. รากฟันเทียมยังคงมีราคาที่แพงอยู่เมื่อเทียบกับฟันปลอมชนิดอื่น ๆ
ข้อที่ 2. ต้องมีการผ่าตัดเปิดเหงือก ซึ่งหลายคนกลัวเจ็บก็อาจจะเป็นกังวลในเรื่องนี้
ข้อที่ 3. ใช้ระยะเวลาในการทำค่อนข้างนาน
ข้อที่ 4.เรื่องความสวยงามของสีฟันอาจไม่เท่ากัน
รักษารากฟัน
เป็นการไปยับยั้งการติดเชื้อที่โพรงประสาท รวมถึงการทำความสะอาดโพรงฟันพร้อมคลองรากฟันเพื่อให้ฟันแข็งแรงและไม่มีเชื้อโรคและอุดคลองรากฟันด้วยวัสดุอุดคลองรากฟัน เพื่อให้ฟันสามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ
ทำไมต้องใส่ฟันปลอม
โดยฟันปลอมจะเป็นฟันที่ถูกทำขึ้นโดยทันตแพทย์เพื่อใส่ให้กับผู้ป่วยที่สูญเสียฟันไป ไม่ว่าจะเป็นถอนฟันและทำให้เกิดไม่มั่นใจไปพูดไม่ชัด ฟันปลอมก็จะทำหน้าที่ในการเพิ่มบุคลิกภาพให้ดีขึ้น ผู้ที่ควรใส่ฟันปลอมก็คือผู้ที่มีการถอนฟันไป จากการที่ฟันผุ ฟันหักหรือฟันแตกจนไม่สามารถจะบูรณะขึ้นมาได้ใหม่หรือในกรณีที่ถอนฟันจากการที่ฟันโยกเพราะเหงือกอักเสบนั่นเอง
ผลจากการที่ไม่ใส่ฟันปลอม จะมีฟันข้างเขียงของฟันที่ถอนไปจะโน้มเข้ามาหาช่องว่าง หากไม่มีคู่สบฟันบนก็จะย้อยงอกลงมาจนทำให้เกิดการกระแทกหรือสบขณะที่เคี้ยวอาหารได้ และกรณีหากเป็นฟันหน้าก็อาจทำให้ขาดความมั่นใจ พูดออกเสียงได้ไม่ชัด
รากฟันเทียมราคา
เฉลี่ยแล้วราคาจะประมาณ 39,000 บาท
*ราคาขึ้นอยู่กับชนิดรากเทียมที่เลือก ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละที่ด้วยบางที่อาจมีระยะเวลาในการผ่อนจ่ายไม่เท่ากัน
ขั้นตอนการรักษา/การทำ
1.ตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด โดยการซักประวัติ ตรวจฟัน เอกซเรย์ และพิมพ์ปาก เพื่อนำไปประกอบการวางแผนในการรักษาและใส่รากฟันเทียม
2. นัดผ่าตัดและใส่รากฟันเทียม*หลังการใส่รากฟันเทียมเรียบร้อยแล้วต้องรอให้รากฟันเทียมยึดเข้ากับกระดูกเองโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 2-6 เดือน
3.พิมพ์ปากบริเวณรากเทียม เมื่อรากเทียมยึดเข้ากับกระดูกดีแล้วขั้นตอนต่อไปคือการพิมพ์ฟันเพื่อวางแผนใส่เดือยในรากเทียมเพื่อรองรับครอบฟันและทำครอบฟัน ขั้นตอนการพิมพ์ฟันจะใช้เวลาเพียง 30 นาที
4.นัดใส่เดือยฟันและครอบฟัน
5. นัดตรวจเช็ครากฟันเทียม
หลังจากการกลับไปใช้งานรากฟันเทียมสักพักแพทย์จะนัดตรวจเช็คว่าใช้งานได้ดรหรือไม่อย่างไร การเคี้ยวอาหารได้เป็นปกติหรือไม่
การใส่ฟันปลอมถาวร
ชนิดของฟันปลอมถาวรจะมี 2 แบบคือ ฟันปลอมชิดติดแน่นด้วยสะพานฟันที่จะเป็นฟันปลอมถาวร ติดยึดแน่นในช่องปากไม่สามารถถอดมาทำความสะอาดได้และฟันปลอมชนิดติดแน่นด้วยรากฟันเทียม ที่นับว่าจะแบบการจำลองในลักษณะของฟันธรรมชาติทั้งส่วนของตัวฟันและรากฟัน จึงทำให้เหมือนกับการปลูกฟันธรรมชาติที่สูญเสียไปขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
ฟันปลอมพระราชทาน
“เวลาไม่มีฟัน กินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุข จิตใจก็ไม่สบาย ร่ายกายก็ไม่แข็งแรง” เป็นกระแสพระราชดำรัส
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9 ) ”ทรงมีความห่วงใยพสกนิกรที่ไม่มีฟันบดเคี้ยวอาหาร ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาหลัก ๆ ของผู้สูงอายุ จึงนำมาสู่ “โครงการฟันเทียมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติพระบาดสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ซึ่งได้เริ่มดำเนินตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2548 ส่งผลให้ผู้สูงอายุจำนวนมากมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ยาติดฟันปลอม
ยาหรือกาวชนิดที่ใช้ติดฟันปลอมหลัก ๆ จะมีหลายยี่ห้อ ได้แก่
- Polident
- Rapident
- Fittydent
*ไม่ส่งผลอันตรายต่อช่องปาก
อุปกรณ์ติดฟันปลอม/รากเทียม
(Abutment) เดือยรองรับครอบฟัน เมื่อทันตแพทย์ฝังรากเทียมบนกระดูของขากรรไกร จะใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือนเพื่อให้รากฟันยึดติดกับกระดูกได้ดี
วีเนียร์ คือ
การเคลือบสีฟัน ด้วยวัสดุที่บาง ลักษณะคล้ายฟัน วีเนียร์ ถือว่าเป็นการทำฟันปลอม ที่แตกต่างจากฟันปลอมแบบทั่วไปที่มีมา โดยจะมีแค่ส่วนบริเวณผิวหน้าของฟันที่ไม่ไดเป็นเหมือนฟันปลอมทั้งหมด ก็จะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ
พลอสเลน วีเนียร์ (Porcellan Veneers) เป็นวัสดุจากเซรามิคที่มีความเรียบเนียนสวยและให้ความรู้สึกที่เหมือนฟันธรรมชาติ และ คอมโพสิต Composite Veneer) ที่เป็นวัสดุคล้ายกับใช้สำหรับอุดฟัน
วีเนียร์มีกี่แบบ ?
วีเนียร์ มี 2 แบบ คือ
1.Traditional Veneers
เป็นการทำวีเนียร์ทั่วไปที่มีการตกแต่งและเจียหน้าฟันออก
2. No-Prep
เป็นการทำวีเนียร์แบบไม่มีการเจียผิวของหน้าฟัน การทำวีเนียร์ลักษณธนี้ ข้อจำกัดสำหรับบางคนเท่านั้นและขึ้นอยู่กับรูปร่างฟันแต่ละบุคคล ที่ต้องตรวจแล้วผ่านดุลพินิจของทันตแพทย์
การดูแลฟันเทียม
1. ควรแปรงฟันและแปรงฟันปลอมให้ได้ทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร
2. ไม่แนะนำให้ใส่ฟันปลอมนอน เพื่อให้ผิวบริเวณเหงือกได้พักผ่อน
3. พยายามเลี่ยงการใช้ฟันปลอมในส่วนซี่หน้ากัดหรือเคี้ยวอาหาร
4. เก็บฟันปลอมได้ด้วยการนำฟันปลอมที่ทำความสะอาดแล้วไปแช่ไว้ในภาชนะที่เตรียมไว้สำหรับแช่ฟันปลอม และควรเติมน้ำให้ระดับของน้ำสูงกว่าฟันปลอม ซึ่งการแช่ฟันปลอมในน้ำก็จะช่วยให้คงสภาพเดิมอยู่ไม่หด ไม่เบี้ยว จนเสียรูป
5. เมื่อใส่ฟันปลอมแล้วรู้สึก แน่นเกินไป รู้สึกเคืองเล็กน้อย ควรกลับไปปรึกษาทันตกรรมที่ได้รับการรักษาทันทีเพื่อจะตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดได้ทัน
6. พบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อตรวจช่องปากและฟัน
7. ทุกครั้งหลังการถอดหรือใส่ควรมีที่เก็บหรืออุปกรณ์เก็บฟันปลอมเพื่อป้องกันการตก หล่น หรือหาย
สุดท้ายนี้จะดีกว่าไหมหากการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง สุขภาพช่องปากดี ไม่ประมาทในการใช้ชีวิตก็ย่อมเป็นผลที่ดีต่อตัวเราด้วย
สุดท้ายนี้ทางเราก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และตัวช่วยในการประกอบการรักษาที่ดีอย่างลืมบอกต่อคนรอบข้างที่คุณรักด้วยนะ…
Reference: https://www.ddbmh.com/dental-implant/
อ้างอิงจาก: pixabay