ที่มาของคำว่า "ร้อนตับแตก"
สงสัยกันไหมว่าที่อากาศประเทศไทยร้อนทุกฤดู จนมีคำว่า "ร้อนตับแตก" ที่เราใช้กันบ่อยๆ
เป็นที่ชวนงงกันว่า อากาศร้อนขนาดทำให้ ตับพัง ตับแตก ได้เลยเหรอ?
นับว่าเป็นความเข้าใจผิดกันครึ่งประเทศเลยทีเดียว ดังนั้นจึงชวนทุกท่านมาทำความรู้จักกับความหมายของคำนี้กันครับ
ตับแตกที่ถูกต้องไม่ได้หมายถึงอวัยวะในร่ายกายคน แต่หากเป็น ใบจากตากแห้ง ที่ใช้มุงหลังคาบ้าน ตามชนบท
เย็บเรียงกองไว้ติดกัน เรียกว่าตับ และมันจะแตก หรือเสียรูปเวลาโดนแดดจัดๆจากประเทศเรานั่นเอง
มันจะร้อนมากจนได้ยินเสียงเสียดสีกันดัง เปรี้ยะๆคนโบราณเลยเรียกว่า ร้อนจนตับแตก
ส่วนอาการที่เกิดขึ้นกับร่างกายเมื่ออากาศร้อนจัด ที่เรียกว่า ลมแดด หรือ ฮีทสโตรค คืออาการที่ไม่มีเหงื่อออก รู้สึกกระหายน้ำมาก ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ วิงเวียน ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน มึนงง และหายใจเร็ว จนอาจทำให้หน้ามืดเป็นลมหมดสติ เพราะอุณหภูมิร่างกายกำลังเพิ่มสูง โดยอาจสูงไปได้ถึง 40 องศา ประกอบกับเส้นเลือดส่วนปลายขยาย และความดันโลหิตต่ำลงนั่นเอง
อ้างอิงจาก: สาระยาน่ารู้, FB Jessada Denduangboripant