แปลกหนัก!!รธน.60! ส.ว. นั่งควบ “ฝ่ายนิติบัญญัติ” ปัญหาความลักลั่นที่ต้องตอบ ผู้เรียนรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ให้ได้
อาร์ท เอกรัฐ โพสต์เรื่องราวน่าสนใจ เกี่ยวกับ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ของไทย
“ตัวอย่างที่เป็นปัญหาชัดที่สุดใน รธน.60”
ผมเคยเคยพูดเรื่องนี้ หลายรอบ ครับ
ในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 นั้น ใน ส.ว.250 คน
มี 6 ตำแหน่งส.ว.อยู่ในฐานะ “ข้าราชการประจำ” ฝ่ายบริหาร ตามโครงสร้างอำนาจแน่นนอนว่า
ต้องถูกตรวจสอบโดยฝ่าย “นิติบัญญัติ”
แต่ 6 ตำแหน่งนั้นนั่งควบ “ฝ่ายนิติบัญญัติ”
ไปด้วยในฐานะสมาชิกวุฒิสภา
คำถามคือ ปัญหาเหล่านี้ หรือความลักลั่นแบบนี้
จะตอบน้องๆที่เค้าเรียนรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์กันอย่างไร?
เราจะหาทฤษฎีอะไร มาอธิบายให้พวกเค้ายอมรับได้
ตัวอย่างปัญหาความบิดเบี้ยวที่ชัดที่สุด ที่เห็นอย่างง่ายในรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้
ด้านคอมเม้นต์ก็ดุเดือด เช่น
"จริง ข้าราชการทุกกระทรวงต้องอยู่ภายใต้การบริหารของ รัฐบาล เพื่อรับนโยบายไปปฏิบัติ
แต่..... ให้มานั่ง ส.ว. ที่มีอำนาจควบคุมตรวจสอบ 55555
ดูสถิติ ประธานร่างก็สงสัยดูแค่ชื่อ มีชัย
จะร่าง.....สอดแทรกขวยอะไรไว้ก็ไม่สน
ขนาดเค้าถาม เจตนารม ผู้ร่างให้ตีความ.....ก็ให้ไปถาม ศาล รธน.
เออ ดี !!"
"สว 250 แต่งตั้งมาหมดก็อธิบายไม่ได้เช่นกันคะ ไม่มีทฤษฎีใดที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลสามารถอธิบายได้ มีอันเดียวที่น่าจะอธิบายแบบงงๆ ได้คือ ประชาธิปไตยแบบไทยๆ หรือ Thai-Styled Democracy ซึ่งก็ไม่รู้ว่าคืออะไรเหมือนกันคะ คือลักลั่นมาก อย่าเอาคำว่าประชาธิปไตยมาใช้เลยดีกว่า เพราะ demos ไม่รู้อยู่ตรงไหน หาไม่เจอคะ rip ค่า"