นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร และพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทย
นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในเวลาต่อมาได้เป็นวิทยากรให้กับวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร และเป็นผู้ร่างนโยบายซึ่งนำมาซึ่งคำสั่งที่ 66/2523 เรื่องนโยบายต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร | |
---|---|
นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เกิดที่ตำบลท่าทองใหม่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 เป็นบุตรนายมี-นางเกต ทรัพย์สุนทร สมรสกับนางสาวอรพิน สัมฤทธิ์ มีบุตรด้วยกัน 1 คน นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ถึงแก่กรรมด้วยโรคเส้นโลหิตในหัวใจตีบตัน เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2537 อายุ 81 ปี |
นายประเสริฐ จบมัธยม 8 จากโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2479 เป็นอักษรศาสตร์บัณฑิตรุ่นที่ 1 ระหว่างศึกษาเป็นสาราณียกรรับผิดชอบการจัดทำหนังสือมหาวิทยาลัย และได้รับเลือกเป็นนายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2479
การทำงาน
เมื่อจบการศึกษา นายประเสริฐเข้ารับราชการเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จากนั้นจึงลาออกไปสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง จึงย้ายไปเป็นครูโรงเรียนฝึกหัดครูประถมพระนคร (วังจันทร์เกษม) และลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในสมัยรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ก่อนที่จะลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มีส่วนในการยกเลิกพระราชบัญญัติการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476
เข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
เกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 ประเสริฐสมัครเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และได้รับคัดเลือกไปศึกษาลัทธิมาร์กซ์ที่ประเทศจีน ได้รับเลือกเป็นกรรมการกลางพรรค และได้เข้าร่วมการประชุมสันติภาพสากล 3 ครั้งระหว่าง พ.ศ. 2494-95
พ.ศ. 2494 เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยไปร่วมการประชุมคณะกรรมการสันติภาพแห่งโลก ที่กรุงเบอร์ลิน
พ.ศ. 2495 เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการสันติภาพแห่งโลกที่กรุงปักกิ่ง และเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยไปร่วมประชุมสภาสันติภาพแห่งโลกที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
นายประเสริฐ ทราบล่วงหน้าดีว่าจะเกิดเหตุการณ์รุกรานจากพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย ด้วยความห่วงใยบ้านเกิด จึงขอเดินทางกลับเมืองไทยเพื่อจะได้มาแก้ปัญหาของชาติไม่ให้ถูกพรรคคอมมิวนิสต์รุกราน เมื่อ พ.ศ. 2501 และถูกจับในข้อหากระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์ ในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถูกคุมขังอยู่เป็นเวลา 6 ปี ในระหว่างถูกคุมขังได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับการปฏิวัติไทยโดยสันติตามระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ตลอดจนยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการต่อสู้เอาชนะคอมมิวนิสต์ ต่อพนักงานสอบสวน ซึ่งเป็นแนวทางที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เห็นด้วย และมีคำสั่งให้ยกฟ้อง จากนั้นนายประเสริฐได้มีโอกาสเป็นที่ปรึกษาทางการเมือง ได้รับเชิญให้แสดงปาฐกแก่นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรหลายครั้ง
วันที่ 28-29 เมษายน พ.ศ. 2530 มีการประชุมผู้แทนประชาชนทั่วประเทศ จัดตั้งสภาปฏิวัติแห่งชาติขึ้นเป็นการสนับสนุนการปฏิวัติประชาธิปไตยของนายประเสริฐ และออกคำสั่งสภาปฏิวัติแห่งชาติที่ 1/2532 เรื่องการโอนอำนาจจากรัฐสภามาสู่สภาปฏิวัติแห่งชาติ และแถลงการณ์สภาปฏิวัติแห่งชาติ
เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ถูกจับกุมด้วยข้อหาทำลายความมั่นคงแห่งชาติ พร้อมกับพวกรวม 14 คน
11 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกฟ้องคดีสภาปฏิวัติตามศาลชั้นต้น
เพลง: ปฏิวัติชาติไทย
อ้างอิงจาก: https://youtu.be/kZeS0GzY1wI
https://youtu.be/2ecNmuzFWRI
https://th.wikipedia.org/wiki/