ข้าวปลูกครั้งแรกอย่างน้อย 9,400 ปีที่แล้วในจีน
ข้าวปลูกครั้งแรกอย่างน้อย 9,400 ปีที่แล้วนักโบราณคดีได้ขุดพบเศษข้าวตั้งแต่ครั้งแรกที่ปลูกในจีน
โดย ซาราห์ จาง ประมาณ 10,000 ปีที่แล้ว ในยุคธรณีกาลไพลสโตซีนทางธรณีวิทยา กลุ่มนักล่าสัตว์ใกล้แม่น้ำแยงซี ของจีนก็เริ่มเปลี่ยนวิถีชีวิตโดยเริ่มปลูกข้าวน่าประหลาดใจที่นักโบราณคดีได้ขุดพบเศษข้าวนี้ ที่พื้นที่ที่เรียกว่าซ่างซาน แน่นอนว่าเมล็ดพืชถูกกินมานานแล้วและก้านพืชก็เน่าไปนานแล้ว แต่ส่วนเล็กๆ ของข้าวยังคงอยู่หลายพันปีต่อมา นั่นก็คือ ไฟโตลิธหรือซิลิกาแข็งขนาดจิ๋ว ที่สร้างขึ้นโดยเซลล์พืชเพื่อป้องกันตัวเอง ใบข้าวมีไฟโตลิธรูปพัดที่ไม่เผาไหม้ ย่อย หรือสลายตัว รูปแบบเฉพาะของไฟโตลิธเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าผู้คนในซ่างซานไม่ได้เป็นเพียงเก็บข้าวเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วเขาปลูกข้าวเมื่อ 10,000 ปีก่อน ซึ่งจะเปลี่ยนการรับประทานอาหารของมนุษย์อย่างอัศจรรย์ จนถึงจุดครึ่งหนึ่งของโลกต้องอาศัยพืชผลหลักนี้ในปัจจุบัน
นักโบราณคดีชาวจีน เริ่มขุดค้นซ่างซานในช่วงต้นทศวรรษ 2000 พวกเขาพบหลักฐานการพึ่งพาข้าว เช่น แกลบฝังอยู่ในเศษเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องมือหินที่ดูเหมือนถูกนำมาใช้ในการสีข้าว แต่สิ่งที่อุดมสมบูรณ์มากกว่าสิ่งประดิษฐ์ก็คือไฟโตลิธ ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในดิน หากมองดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
Dolores Piperno ผู้เชี่ยวชาญด้านไฟโตลิธจากสถาบันสมิธโซเนียน ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการศึกษานี้กล่าวว่า ดินน้อยกว่าหนึ่งในสิบของออนซ์ อาจมีไฟโตลิธได้หลายพันชิ้น
ดังนั้น ทีมงานชาวจีนจึงทำการกรองไฟโตลิธจากดิน ล้าง กรอง และให้ความร้อน จนได้ผงสีขาวของไฟโตลิธบริสุทธิ์ จากนั้นพวกเขาใช้การหาอายุของคาร์บอน-14 เพื่อระบุอายุของไฟโตลิธ ที่พบในระดับความลึกต่างๆ ในการขุดค้น เพื่อพิสูจน์ความน่าเชื่อถือของอายุไฟโตลิธ พวกเขาเปรียบเทียบอายุกับวัสดุอื่นๆ เช่น เมล็ดพืชและคาร์บอน ซึ่งพบที่ระดับความลึกเท่ากัน “มันแข็งแกร่งและพวกเขาเปรียบเทียบการพบไฟโตลิธ เคียงข้างกันอย่างระมัดระวัง”
Dolores Piperno กล่าวว่า ไฟโตลิธที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุถึง 9,400 ปี
จากนั้นพวกเขาก็ส่องดูไฟโตลิธใต้กล้องจุลทรรศน์ ข้าวที่ผู้คนปลูกที่ซ่างซานเมื่อ 9,400 ปีที่แล้วไม่เหมือนข้าวที่เรากินในปัจจุบัน เม็ดอาจมีขนาดเล็กและบางกว่า พวกมันจึงกระจัดกระจายได้ง่าย
นี่เป็นหลักฐานของการค่อยๆ เพาะเลี้ยงข้าว ซึ่งเป็นกระบวนการที่ “ยาวนานและใช้เวลา” Jianping Zhang นักธรณีวิทยาจาก Chinese Academy of Sciences ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา กล่าว "ข้าวป่าไม่ได้กลายเป็นข้าวสมัยใหม่ในชั่วข้ามคืน"
การค้นพบทางโบราณคดีในประเทศไทย-มนุษย์ยุคหินเริ่มกินข้าว?
สมัยหินปลาย มนุษย์ดำรงชีวิตด้วยการหาของป่าล่าสัตว์ได้ค้นพบโดยบังเอิญว่าข้าวป่ากินได้ เมื่อทดลองนำข้าวมาปลูกจึงพบว่า จากข้าวเมล็ดเดียวเมื่อโตเป็นต้นข้าวจะออกรวงได้ข้าวเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก การค้นพบข้าวทำให้มนุษย์มีความมั่นคงทางอาหารสูงกว่าเดิม เริ่มตั้งถิ่นฐานที่อยู่เป็นหลักแหล่งเลิกเร่ร่อน และรู้จักพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ในการปลูกข้าว
ข้อมูลการค้นพบทางโบราณคดีในประเทศไทยแสดงหลักฐานเกี่ยวกับวัฒนธรรมข้าวที่เก่าแก่ที่สุด คือเมล็ดข้าวของมนุษย์ถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ขุดพบที่ถ้ำปุงฮุง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลักษณะเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวเมล็ดใหญ่ปลูกในที่สูง ราว 3,500-3,000 ปีมาแล้ว มีอายุร่วมสมัยกับเมล็ดข้าวสารและแกลบข้าวที่ขุดพบที่เนินอุโลก อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา นับเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงว่าคนในตระกูลไท-ลาวในอุษานาคเนย์กินข้าวเหนียวเป็นหลักมาไม่น้อยว่า 3,000 ปี มาแล้ว
ภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์บนผนังถ้ำผาหมอนน้อย อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี แสดงภาพการปลูกพืชชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายกอข้าว มีภาพควายและแปลงพืชคล้ายข้าว ทำให้นักประวัติศาสตร์ตีความว่าผู้คนในดินแดนแถบนี้รู้จักปลูกข้าว และใช้ควายไถนา
การค้บพบวิธีการปลูกข้าวทำให้มนุษย์ปลูกข้าวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งให้ชุมชนขยายตัวเกิดเป็นสังคมที่มีความซับซ้อน และเจริญก้าวหน้าขึ้นเมื่อมีการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับอินเดีย ต่อมาการกินข้าวเหนียวจึงเริ่มเปลี่ยนแปลงไปสู่วัฒนธรรมการกินและปลูกข้าวเจ้า