กระรอกเผือก การกลายพันธุ์ของยีน ความผิดปกติ ที่ทำให้มันอยู่ยากในธรรมชาติ
ผู้อาศัยในอังกฤษสามารถถ่ายรูปกระรอกเผือกได้ในที่ที่เขาอาศัยอยู่ โดยพบในสวนสาธารณะในเมือง แต่ภาพถ่ายที่น่าสนใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ที่มีการกลายพันธุ์ และหายากนั้นดูไม่ดีเท่าที่คุณจะจินตนาการได้ ซึ่งสัตว์ที่น่ารักเหล่านี้มักถูกนำมาเปรียบเทียบกับหนู ที่มีอยู่ทั่วเมือง
Tim Clifton เขาสามารถถ่ายภาพสัตว์เผือกหายากนี้ได้ ซึ่งเขาเคยเห็นหลายครั้งในสวนสาธารณะของเมือง Hastings ตอนแรกที่เขาเห็นมัน ก็ไม่แน่ใจว่ามันคือสัตว์เผือกชนิดใด และเข้าใจผิดว่าเป็นนกนางนวลด้วยซ้ำ เมื่อหาข้อมูลก็พบว่า มันเป็นกระรอกขาว เขาจึงถ่ายรูปขณะที่เจ้ากระรอกเผือกตัวนี้ กำลังขออาหารจากชายคนหนึ่ง
"กระรอกเป็นสัตว์ขี้อาย แต่เจ้าตัวนี้กล้าหาญมาก โพสท่าต่อหน้าผมอย่างมั่นใจ ผมโชคดีอย่างไม่น่าเชื่อเลย การได้ถ่ายรูปกระรอกเผือกต่อหน้าถือว่าเกิดขึ้นได้ยากมาก”
ซึ่งภาวะผิวเผือกเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนที่ควบคุมการสร้างเม็ดสี ซึ่งอัตราการเกิดกระรอกเผือกมีเพียงแค่ 1 ต่อ 100,000 ตัวเท่านั้นเอง นั่นกลับข้อเสียมากกว่า มันผิดธรรมชาติ ทำให้มันอยู่ยากในธรรมชาติ สีขนทีเคยซ่อนพรางไปกับสภาพแวดล้อมในสัตว์บางประเภท หากเปลี่ยนเป็นสีขาวเด่นชัด มันย่อมเป็นเป้าที่มองเห็นได้ชัดเจน สำหรับสัตว์ที่เป็นเหยื่อของสัตว์อื่นมันย่อมจะถูกล่าได้ง่ายกว่าเดิม เพราะการซ่อนพรางสีขาวเอาไว้คงเป็นเรื่องยากมาก
แม้ว่าในธรรมชาติจะมีสัตว์บางอย่างที่มีสีขาวไม่ว่าจะเป็นนกกระยาง หมีขั้วโลก หรือแมลงมากมาย แต่นั่นก็เป็นการปรับตัวและใช้ประโยชน์จากสีขาวมาเนิ่นนานแล้ว ไม่เหมือนกับสัตว์เผือกที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด บางตัวก็มีผลต่อสุขภาพของมัน จนอายุสั้นกว่าที่เคยเป็น