ปัญหาและสาเหตุโรคลัมปีสกิน แนวทางการแก้ไขและการเยียวยาช่วยเหลือเกษตรไทย
ประเทศไทยนอกจากมนุษย์อย่างเราที่จะต้องเจอกับโรคอุบัติใหม่อย่างโรคโควิด 19 ที่แผร่ระบาดมาหลายระลอก ซึ่งต้นเหตุการแผร่ ระบาดคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าเริ่มต้นจากประเทศจีน และกระจายไปสู่ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว หลายๆ ประเทศออกกฏมาตรการป้องกันและช่วยเหลือประชาชนของประเทศตัวเองกันอย่างเต็มที่มีการวิจัยคิดค้นวัคซีนป้องกันจนได้ผลและสามารถนำมาใช้กับมนุษย์เพื่อป้องกัน แม้จะไม่ได้ป้องการติด 100% cแต่ก็สามารถป้องกันการเสียชีวิตโดยฉับพลันเพราะเชื่อโควิดจะไม่กระจายลงสู่ปอดได้แล้วก็ตาม ขนาดที่ประเทศไทยเรากำลังเดินหน้าลุยสู้กับโรคโควิด 19 สำหรับมนุษย์แล้วนั้น ก็ยังเกิดโรคอุบัติใหม่ขึ้นมาในสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งโรคอุบัติใหม่นี้คือ โรคลัมปี สกิน หรือโรค LSD เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในโคกระบือ เกิดจากแมลงพาหะ เช่น เห็บ ยุง แมลงวัน หรือการสัมผัสใกล้ชิดกันของสัตว์ รวมถึงการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน จัดเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในไทยมาก่อนอย่างแน่นอน
สำหรับสัตว์ที่ติดเชื้อโรคนี้จะมีอาการไข้สูง ต่อมน้ำเหลืองโต และมีตุ่มขนาดใหญ่ 2-5 ซม. ขึ้นบริเวณผิวหนังทั่วร่างกายของสัตว์ จากนั้นตุ่มที่ขึ้นอาจเป็นแผลแตก ตกสะเก็ด และเกิดเป็นเนื้อตาย หรือมีหนอนแมลงมาไชได้ อาจพบตุ่มน้ำขึ้นที่เยื่อเมือก ทางเดินหายใจ และทางเดินอาหาร ทำให้สัตว์น้ำลายไหล ตาอักเสบ มีตุ่มขึ้นที่เยื่อเมือก และสุดท้ายอาจตายในที่สุด จากสถิติข้อมูล สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ ณ สัปดาห์สุดท้ายของเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา พบว่ามีวัวเนื้อ ป่วยสะสม 346,717 ตัว วัวนม 1,705 ตัว...วัวเนื้อตายไปแล้ว 14,532 ตัว วัวนม 85 ตัว
วัวเนื้อป่วยมากกว่าวัวนม 203 เท่า วัวเนื้อตายมากกว่าวัวนม 170 เท่า ทั้งที่เป็นวัวเหมือนกัน ปัจจัยอะไรที่โรคนี้ถึงได้ระบาดในวัวเนื้อมากกว่าวัวนม เพราะว่ากรรมวิธีการเลี้ยงวัวนมกับวัวเนื้อมีความแตกต่างกันแทบจะสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภูมิทัศน์ของการเลี้ยงวัวนมนั้นมักจะเป็นที่โล่งโปร่ง แดดส่องถึง มีการเก็บวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นสัดส่วน ความสะอาด มีการกำจัดมูลออกนอกฟาร์มสม่ำเสมอ และในพื้นที่เลี้ยงแทบไม่มีน้ำขังอยู่เลย เลยทำให้ไม่มีที่อาศัยของแมลงพาหะ คือ ยุง แมลง ต่างๆ นั้นเอง จากการระบาดทำให้มีสัตว์ล้มตายจำนวนมากสร้างผลกระทบต่อเกษตรผู้เลี้ยงสัตว์ ทำให้ขาดรายได้ และ ศูนย์เสียสัตว์เลี้ยงที่จะสามารถทำการค้าขายให้มีผลกำไรได้อีกต่อ ดังนั้นจึงมีการสั่งการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชนที่เดือดร้อนจากโรคอุบัติแก่สัตว์พวกนี้ โดยวันที่ 8 กันยายน 2564 นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของโรคลัมปีสกิน ในโค กระบือนั้น กรมปศุสัตว์ได้มีมาตรการต่างๆ ในการควบคุมโรค ทำให้สถานการณ์การระบาดเริ่มดีขึ้นตามลำดับโดยแนะนำผู้เลี้ยงวัวเนื้อต้องหมั่นกำจัดแมลงพาหะนำโรค ด้วยการใช้สารกำจัดแมลงแบบฉีดพ่น หรือแบบ ราดในสัตว์ทุกตัวในฝูง ปรับภูมิทัศน์โดยรอบฟาร์ม ให้โปร่งโล่ง ไม่ให้เป็นแหล่ง อาศัยของแมลงพาหะ กำจัด แหล่งเพาะพันธุ์ยุง กำจัดมูลสัตว์ออกจากฟาร์มเป็นประจำ หรือใช้ผ้าใบคลุมเพื่อป้องกันแมลงมาวางไข่ หรือจะกางมุ้งให้สัตว์เพื่อป้องกันแมลงดูดเลือด เป็นอีก หนึ่งวิธีในการป้องกันโรคลัมปี สกิน ได้ และได้เร่งจัดหาวัคซีนโดยกระทรวงเกษตรฯ รับมอบวัคซีน LSDV ป้องกันโรคลัมปี สกิน ล็อตแรกจำนวน 60,000 โด๊ส จากเนเธอเเลนด์ เตรียมกระจายไปปศุสัตว์จังหวัด เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ โค-กระบือทุกตัวในพื้นที่การระบาด จะได้รับการฉีดวัคซีนให้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น เตรียมจัดหาวัคซีนเพิ่มเติมอีกจำนวน 300,000 โดส โดยให้เข้มงวดเรื่องการเคลื่อนย้ายสัตว์ โดยเฉพาะการลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ตามแนวชายแดนทุกแห่ง นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ยังได้ลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือเกษตรกร โดยการพ่นยาฆ่าเชื้อ พ่นสารกำจัดแมลงให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ประสบปัญหาและได้รับผลกระทบจากโรคลัมปีสกิน พร้อมทั้งเร่งจัดหาวัคซีนป้องกันโรคลัมปีสกิน จำนวน 60,000 โดส และกระจายไปปศุสัตว์จังหวัด พร้อมเวชภัณฑ์ยาและหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ เพื่อช่วยเหลือตามความต้องการของเกษตรกรต่อไปที่สำคัญต้องขอฝากเรียนถึงพี่น้องเกษตรกรทุกคนที่กำลังประสบความเดือดร้อนว่า การฉีดวัคซีนโรคลัมปี สกินให้กับโค กระบือนี้ เป็นมาตรการช่วยเหลือของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น โค กระบือทุกตัวในพื้นที่การระบาด จะได้รับการฉีดให้ฟรี ดังนั้นหากพบการเรียกร้องค่าใช้จ่าย จะดำเนินการจัดการด้วยมาตรการขั้นเด็ดขาด
ด้าน นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้มีการติดตามสถานการณ์ของโรคลัมปี สกิน อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันได้ข้อสรุปของโรคแล้ว จึงขอรับรองว่าโรคดังกล่าว สามารถรักษาหาย เนื้อทานได้ และไม่ติดต่อถึงคนอย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้วางมาตรการป้องกันและกำจัดโรคลัมปี สกินแล้ว ขอให้เกษตรกรอย่าวิตกกังวล ให้ติดตามข้อมูลจากเจ้าที่ปศุสัตว์เป็นหลัก โดยเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จะลงพื้นที่เชิงรุกอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับเกษตรกรต่อป
นอกจากนี้สำหรับอัตราการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโค กระบือ เสียชีวิตจากโรคลัมปี สกิน ตามหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564 นั้น โค ได้ไม่เกินรายละ 5 ตัว อายุน้อยกว่า 6 เดือน 13,000 บาท อายุ 6 เดือนถึง 1 ปี 22,000 บาท อายุมากกว่า 1 ปีถึง 2 ปี 29,000 บาท อายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป 35,000 บาท กระบือ ไม่เกินรายละ 5 ตัว อายุน้อยกว่า 6 เดือน 15,000 บาท อายุ 6 เดือนถึง 1 ปี 24,000 บาท อายุมากกว่า 1 ปีถึง 2 ปี 32,000 บาท อายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป 39,000 บาท สำหรับประกาศหลักเกณฑ์ปลีกย่อยฯ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป
ส่วนกรณีของวัคซีน ด้วยโรคลัมปี สกิน เป็นโรคอุบัติใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในประเทศไทย จึงยังไม่เคยมีการใช้วัคซีนในสัตว์สำหรับควบคุมและป้องกันโรคในประเทศไทยมาก่อนเลย จึงได้ดำเนินการสั่งซื้อวัคซีน LSDV จากประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีแหล่งผลิตในประเทศแอฟริกาใต้
ทั้งนี้ หากเกษตรกรต้องการความช่วยเหลือเบื้องต้น หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคลัมปี สกิน สามารถติดต่อได้ที่หน่วยงานปศุสัตว์ในพื้นที่ของท่าน หรือติดต่อสำนักควบคุมโรค ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ (สบค.) กรมปศุสัตว์ หรือสายด่วนแจ้งโรคระบาดกรมปศุสัตว์ โทร 063 – 225 – 6888
จากข้อมูลสถิติปัจจุบันโดยขณะนี้พบการระบาดสะสม รวม 65 จังหวัด เกษตรกรได้รับผลกระทบ 268,371 ราย โค – กระบือป่วยสะสม 581,747 ตัว รักษาหายแล้ว 441,543 ตัว อยู่ระหว่างการรักษา 90,879 ตัว ป่วยตายสะสม 51,073 ตัว (ข้อมูล ณ วันที่ 7 กันยายน 2564)
ไม่ว่าจะคนหรือสัตว์ ก็มีโอกาสเกิดโรคอุบัติใหม่และผลกระทบเป็นวงกว้างด้วยกัน ดังนั้นพี่น้องประชาชนคนไทยควรจะร่วมมือร่วมใจกัน ฝ่าฟันวิกฤติการณ์โรคอุบัติใหม่ครั้งสำคัญนี้ไปให้ได้ ถึงแม้จะยังไม่มีป้องกันหรือรักษาให้หายขาดไปจากโลกเราได้ แต่อย่างน้อยก็ยังป้องกันสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เกิดการแย่ไปกว่านี้ทั้งคนและสัตว์ ประเทศไทยจะผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปได้อย่งแน่นอน