กว่าจะเป็น "ม่อฮ่อม" ต้องย้อมด้วยต้นฮ่อม แล้วต้นฮ่อมเป็นไง
กว่าจะเป็น "ม่อฮ่อม" ต้องย้อมด้วยต้นฮ่อม แล้วต้นฮ่อมเป็นไง
ความเป็นมาของผ้าม่อฮ่อม
ผ้าม่อฮ่อม เป็นผ้าพื้นเมืองที่สำคัญของจังหวัดแพร่ คำว่าม่อฮ่อม เขียนได้หลายแบบ เช่น ม่อห้อม,หม้อฮ่อม,หม้อห้อม ซึ่งแล้วแต่ใครจะนำมาใช้ แต่ ความหมายที่แท้จริงนั้น เหมือนกันทุกคำ คือ เสื้อผ้าที่มีสีครามที่เกิดจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษชาวไทย เป็นการใช้ผ้าฝ้ายที่ได้จากการทอ ย้อมด้วยสีครามที่ได้จากต้นฮ่อมหรือต้นคราม จะได้ผ้ามีสีเดียวกันตลอดทั้งผืน ปัจจุบันนำมาตัดเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น กางเกง กระโปรง เสื้อ ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น งานเทศกาลต่างๆ เช่น ลอยกระทง ,สงกรานต์ ,วันขึ้นปีใหม่ , งานบุญประจำปี , งานไหว้พระธาตุ , การท่องเที่ยว และอื่นๆ อีกมากมาย ม่อฮ่อมเป็นที่นิยมในการสวมใส่ของคนภาคเหนือ และของคนทั่วประเทศ ซึ่งแสดงได้ถึงเอกลักษณ์ผ้าไทย ที่เหมาะกับทุกเทศ
ม่อฮ่อม เป็นภาษาถิ่นเหนือ เกิดจากคำว่า ม่อ และฮ่อม แต่หลายคนเรียกเพี้ยนว่า หม้อห้อม หรือ หม้อฮ่อม หรือ ม่อห้อม ซึ่งก็สามารถเรียกได้ เพียงแต่ความหมายก็เหมือนกัน คือ เสื้อผ้าที่เกิดจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในแบบของสีครามม่อฮ่อม
ต้นฮ่อม หรือต้นคราม เป็นพืชล้มลุกในตระกูล คราม ซึ่งชาวทุ่งโฮ้งนำเอาส่วนที่เป็นลำต้น และใบมาหมักในหม้อที่บรรจุน้ำตามกรรมวิธีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ ทำให้ได้น้ำสีคราม ที่จะนำมาย้อมผ้าขาวให้เป็นผ้าคราม ที่เรียกกันว่า ผ้าม่อฮ่อม ซึ่งเป็นผ้าที่ชาวแพร่ และคนทั่วประเทศ นิยมใช้ทุกเพศทุกวัย ไม่เว้นแม้แต่ชาวต่างประเทศ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ชาวต่างประเทศได้นิยมชมชอบในผ้าม่อฮ่อม กันอย่างมาก
กรรมวิธีในการทำผ้าหม้อห้อมแบบดั้งเดิม
การทำผ้าหม้อห้อมแบบดั้งเดิมยังคงสืบทอดอยู่ที่บ้านทุ่งโฮ้งในปัจจุบัน โดยมีวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ และขั้นตอนการผลิต ดังนี้
วัตถุดิบ
ประกอบด้วย
1. ต้นห้อมสำหรับทำสีย้อมผ้า
2. ผ้าฝ้ายทอมือสีขาว
3. น้ำด่าง
4. แป้งมัน
อุปกรณ์
ประกอบด้วย
1. โอ่งหรือหม้อ
2. ถุงมือยาง
3. ไม้พาย
4. ปี๊บ
5. กะละมัง
6. กะทะขนาดใหญ่
7. ตะกร้าตาห่าง
ความยุ่งยากของการทำเสื้อผ้าม่อฮ่อมแบบดั้งเดิมอยู่ที่การจัดทำสีย้อมจากต้นฮ่อม แต่หลังจากที่มีการจัดเตรียมสีย้อมที่ได้จากต้นฮ่อม ไว้ในโอ่งเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนการย้อมก็ทำได้อย่างง่าย ๆ ดังนี้
1.นำผ้าฝ้ายสีขาว ( ผ้าดิบ ่) ตัดเย็บตามแบบที่ต้องการให้เรียบร้อย หรือ อาจตัดผ้าเป็นผืนก็ได้ นำไปแช่ในโอ่งหรือถังน้ำสะอาดธรรมดา เพื่อให้แป้งที่ติดมากับเนื้อผ้าหลุดออกหมด จากนั้นนำผ้ามาตากแดดให้แห้ง
2.นำผ้าดิบแห้งหมาดๆ มาใส่ตะกร้า แล้วแต่ความใหญ่ของตะกร้า นำตะกร้าจุ่มลงในโอ่งที่บรรจุสีย้อมที่เตรียมไว้แล้ว สวมถุงมือยางขยำผ้า ถ้าไม่ขยำจะทำให้สีของเนื้อผ้าไม่สม่ำเสมอ จากนั้นนำผ้าที่ขยำเสร็จ มาผึ่งแดดไว้จนหมาด นำผ้าที่ตากใว้ซึ่งแห้งหมาดๆ มาทำซ้ำอย่างเดิมอีกประมาณ 5 ครั้ง จนสีผ้าเป็นสีครามเข้ม การย้อมซ้ำหลายครั้งมีข้อดี คือ สีครามที่ย้อมจะติดผ้าทั่วผืน สีเสมอกัน และสีที่ย้อมจะติดทนนาน
3. เมื่อผ้าที่ผ่านกระบวนการย้อมเย็นไปแล้ว 6 ครั้ง แห้งหมาดๆ ก็นำผ้ามาผ่านกระบวนการย้อมร้อน (การเอาผ้าไปต้ม ) ใส่ผ้าลงในกะทะจำนวนพอประมาณ แล้วใช้ใม้พาย คนให้ผ้าเข้ากับน้ำประมาณ15-20 นาที จากนั้นจึงนำผ้าไปผึ่งแดดให้แห้งหมาดๆ
4. นำผ้าที่แห้งหมาดๆ มาจุ่มในกะละมังที่เตรียมใว้สำหรับลงแป้ง บิดหมาดๆ แล้วนำมาตากแดด
5.นำผ้าที่แห้งหมาดๆ มาทำกระบวนการรีด โดยการนำ มาจุ่มลงในน้ำแป้ง ที่ได้เตรียมไว้แล้ว ขยำให้ทั่ว บิดให้แห้งหมาดๆ นำไปตากแดดให้แห้ง