เปลี่ยนขยะเป็นบุญ บริจาคลังกระดาษสร้างเตียงสนามช่วยผู้ป่วยโควิด
สถานการณ์โควิด 19 ณ. ตอนนี้ในประเทศไทยเข้าขั้นวิกฤติ ถึงขั้นไม่รู้จะพูดยังไงดีแล้ว สถานที่ตรวจโควิดไม่พอ อุปกรณ์การแพทย์ไม่พอ บุคลากรไม่พอ โรงพยาบาลไม่มีเตียงรักษาคนป่วย แม้กระทั้ง สถานที่พักพิงชั่วคราว โรงพยาบาลสนามก็แทบจะไม่มีเหลือเพียงพอให้คนป่วยที่ติดโควิดกันแล้ว หลายๆ หน่วยงานที่ออกมาให้ความช่วยเหลือ ก็ช่วยกันไม่หวั่นไม่ไหวแล้ว ซึ่งตอนนี้ที่ทำได้คือ ต้องแยกคนป่วยออกจากคนไม่ป่วยก่อน ต้องขอบคุณหลายๆ หน่วยงาน หลายๆ องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่สนับสนุนสถานที่ให้จัดตั้งเป็นโรงพยาบาลสนาม แต่เมื่อมีสถานที่ก็ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกเตรียมให้พร้อม สิ่งที่สำคัญคือ เตียงผู้ป่วยชั่วคราวที่ไว้ใช้สำหรับนอนพักรักษาตัวที่จำเป็นต้องมีอย่างมาก
ดังนั้นจึงได้เริ่มมีโครงการเปลี่ยนขยะให้เป็นบุญโดยมีการนำเสนอแนวความคิดจากท่านรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนรวมถึงพี่น้องประชาชนร่วมกันบริจาค กับ ธนาคารขยะ, Lotus's และ SCGP ร่วมกันบริจาคลังกระดาษ หรือ กล่องกระดาษที่ไม่ใช่แล้วมาทำเตียงสนามตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงปัจจุบัน ยอดบริจาคทุกหน่วยงาน จนถึง ณ.วันที่ 18 พฤษภาคม 2564 อีก 1,000 กิโลกรัม รวมยอดบริจาคสะสมทั้งสิ้น 34,500 กิโลกรัม สามารถเปลี่ยนเป็นเตียงสนามได้ทั้งสิ้น 2,464 เตียง (อ้างอิงจากวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 ข้อมูลจาก https://bit.ly/36QdFTb ) ซึ่งได้กระจายบริจาคไปตามพื้นที่ต่างๆ ที่ต้องการไปแล้วจำนวนมาก แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกวันซึ่งไม่มีแนวโน้มที่จะลดลงเลยด้วยซ้ำ ซึ่งเราต้องมาอัพเดตโครงการ เปลี่ยนขยะเป็นบุญกันใหม่อีกครั้ง โดยวิธีการเดิมคือรับบริจาคกล่องหรือลังกระดาษที่ไม่ใช้แล้วมาทำเป็นเตียงสนาม เพื่อรองรับสถานที่จัดทำเตียงสนามให้มากขึ้น ล่าสุด เพจ TOP Varawut - ท็อป วราวุธ ศิลปอาชา ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อัพเดทความคืบหน้าอีกครั้งในเรื่องนี้ว่า (อ้างอิงจากhttps://bit.ly/2W0AQYJ)
อัพเดตโครงการ เปลี่ยนขยะเป็นบุญ ( เมื่อคุณหมุนเวียน ) กับการรีไซเคิล ลังกระดาษให้เป็นเตียงสนาม สำหรับรองรับผู้ป่วย Covid-19 ทั่วประเทศ ล่าสุด สามารถผลิตเตียงสนามได้ 3,892 เตียง จากการรีไซเคิลขยะลังกระดาษ จำนวน 54,500 กิโลกรัม ครับ และผมขออนุญาต เป็นอีก 1 ช่องทาง ในการประชาสัมพันธ์ แนวทางแก้ปัญหาจำนวนเตียง ในระบบสาธารณสุข ที่ไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ติดเชื้อ จากเดิมที่ผู้ติดเชื้อทุกคน ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนาม แนวทางใหม่หลังจากนี้ จะเปลี่ยนเป็น ท่านที่ตรวจพบว่าติดเชื้อ Covid-19 แต่ไม่มีอาการ หรือ แสดงอาการน้อย จะจัดอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว ซึ่งจากสถิติที่ผ่านมา จะมีถึง 80% ผู้ป่วยกลุ่มนี้ ไม่ต้องหาเตียง แต่ให้ Home Isolation กักตัวที่บ้าน จากนั้นให้โทรสายด่วน สปสช. โทร 1330 ต่อ 14 ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งตอนนี้มี จนท.1,600 คู่สาย รอให้บริการครับ สปสช.จะจัดส่ง ยาต่างๆ เช่น ฟ้าทะลายโจร และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว พร้อมแพทย์คอยให้คำแนะนำผ่าน VDO Call หากอาการหนักขึ้น แพทย์จะเร่งให้ยา Favipiravir เป็นลำดับต่อไป โดยใช้ระยะเวลาการรักษาเฉลี่ย 14 วันครับ หากบ้านของท่านใด ที่ไม่สะดวกต่อการกักตัวรักษา สามารถออกมาใช้บริการ Community Isolation ได้ครับ อย่างเช่นที่ สุพรรณบุรีบ้านผม นอกจาก รพ.สนาม 2 แห่ง ที่ อ.เดิมบางนางบวช และ อ.บางปลาม้า ตอนนี้เราได้เปลี่ยน สนามกีฬาแห่งที่ 2 เป็นศูนย์พักคอยประจำอำเภอเมือง สำหรับรองรับผู้ป่วยสีเขียว ที่ไม่สะดวกกักตัวรักษาอาการที่บ้านครับ
ซึ่งในส่วนของกระแสเรื่องนี้ มีผลตอบรับดีอย่างต่อเนื่องโรงพยาบาลสนามหลายที่ ที่ภาคเอกชนหรือรัฐบริจาคพื้นที่ สถานที่โรงเรียน ตึก อาคาร ที่ยังไม่ใช้ประโยชน์ในช่วงนี้ เพื่อเป็นโรงพยาบาลสนามตามต่างจังหวัดเริ่มให้ความสนใจมากขึ้นในเรื่อง การรับคนในพื้นที่ตัวเองคนในจังหวัดตัวเองกลับมารักษาที่บ้านเกิด ตัวอย่างเช่น จังหวัดสุพรรณบุรี
เช่นโครงการของ ท่าน ส.ส.สรชัด สุจิตต์ สุพรรณบุรี เขต 1 รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข จัดตั้งโครงการ Community Isolation (ศูนย์พักคอยประจำอำเภอเมือง) ซึ่งตอนนี้ได้กระจายไปทั่วหลายสถานที่ในจังหวัดสุพรรณบุรี (อ้างอิงจาก https://bit.ly/3iqQkwM) จากการใช้ประโยชน์จากลังกระดาษ สู่เตียงสนาม เพื่อใช้รองรับผู้ป่วยที่เป็นชาวสุพรรณบุรี หรือ ที่กลับมาจากต่างถิ่นจากการไปทำงานและรับกลับมารักษาตัวที่จังหวัด สำหรับผู้ที่ต้องการข้ามจังหวัด หรือ ประชาชนที่มีความจำเป็นจะเดินทางช่วงเวลาล็อกดาวน์ต้องกรอกข้อมูลลงระบบ (กรณีมีความจำเป็นอย่างยิ่ง)เมื่อเจอด่านต้องให้ จนท. สแกน QR CODE ที่ได้จากการกรอกข้อมูลลงระบบข้างต้นโดยประชาชนจะต้องกรอกข้อมูลบนเว็บไซต์ เพื่อจะได้รับ qr code สำหรับนำไปแสดงที่ด่าน ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ตามลิ้ง https://covid-19.in.th/ นี้ได้
จากแนวความคิดนี้ก็ยังคงต่อยอดไปเรื่อยๆ สำหรับหน่วยงานหรือประชาชนท่านใดที่ประสงค์จะติดต่อบริจาคลังกระดาษหรือช่วยในเรื่องอื่นๆ สามารถติดตามสอบถามทางช่องทางที่แจ้งไว้ได้เลย เรามาเปลี่ยนขยะเป็นบุญกันเมื่อคุณหมุนเวียนกันดีกว่า