โจ๊กชามนี้ มีมูลค่า มากกว่า 3,000 บาท
สำหรับคนทั่วไปแล้ว คงคิดว่าโจ็ก ชามนี้ เป็นโจ็กทั่วๆไป ราคาไม่เท่าไร แต่อยากให้ทุกท่าน ดูข้อมูลรายละเอียดตรงนี้ก่อน แล้วลองมาสรุป กันว่า มีมูลค่า และวิธีการ อย่างไร
เริ่มที่ข้าว ใช้ ข้าวสาร คือ ข้าวญี่ปุ่นสายพันธุ์พิเศษ โคชิฮิคาริ (Kochi Hikari) ที่ปลูกที่ เมือง โวนุมะ จังหวัด นิกาตะ ซึ่งถือข้าวที่แพงที่สุดในโลก (กิโลกรัมละ 10,000 เยน หรือประมาณ 3,453 บาท) ซื้อมาจาก ลาซาด้า ได้เลย
ต่อกันที่ ไข่ไก่ ที่ ออแกนิค แพ็ค 10 ฟอง ราคา 250 บาท ซื้อมาจากโลตัส
ส่วนเครื่องปรุง คือ ซอสโชยุ ออแกนิค , น้ำปลาแท้ เมก้าเชฟ , เกลือหิมาลายัน , ต้นหอมญี่ปุ่น
หุ้งข้าว ด้วยเตาถ่าน แบบวิถีชาวบ้านชนบท แล้วจึงนำมาต้ม แล้วก็เคี้ยว ด้วยไฟอ่อนๆ 30-50 องศา ในระยะเวลา 2 ชั่วโมง เพื่อให้ เมล็ดขาวที่ หุงสุกแล้ว ได้เกิดความอิ่มน้ำ ซึ่ง น้ำ ที่ใช้ คือ น้ำแร่เอเวียง ในปริมาณ 600 มล.
แต่สิ่งนี้ เชื่อได้ว่า ไม่มีใครที่ไหนทำกันแน่นอน คือ เทคนิค Cooling เป็นการทำให้ความร้อนที่หลังจากเราต้มด้วยความร้อน สะสม เกิน 60 องศานาน เกิน 30 นาที แล้วทำให้เย็น ในเวลาไม่ถึง 10 นาที โดย ขั้นตอนนี้ เป็นส่วนหนึ่ง ของกระบวนการ พาสเจอร์ไรท์ (Pasteurization) ซื่ง หลังจากที่เรา ทำโจ๊ก หม้อนี้แล้วนั้น หากเรา ทานไม่หมด เราจะนำไปเก็บไว้ใน ภาชนะ ที่มิดชิด เช่น กระป๋อง หรือ กล่องที่มีฝาปิด แล้วก็จะเก็บไว้ได้นาน หลายวันเลย แต่ถ้าจะให้ดี ทานให้หมดระหว่างที่ ร้อนๆดีกว่าค่ะ ของดี คุณภาพสุดๆ ขนาดนี้ ไม่บอกใคร ไม่มีทางรู้หรอก
เพราะ คนทั่วไปมักจะตัดสิน แต่ภาพภายนอกเสมอ ไม่ทัน จะคิดถึง หรือ ไตร่ตรอง ถึง ข้อมูลที่มาที่ไป ก่อนตัดสินใจหรอก ดังนั้น จงอย่าตัดสินใคร จากภายนอกที่เห็นเพียงไม่กี่นาที