เปิดเรื่องราว! ชาตินิยมยุคแรก สมัยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม หรือ ป. พิบูลสงคราม และ หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) (14 กรกฎาคม 2440 – 11 มิถุนายน 2507) เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวไทย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีระหว่างปี 2481 ถึง 2487 และ 2491 ถึง 2500 รวมระยะเวลา 14 ปี 11 เดือน นับเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นสมาชิกคณะราษฎรสายทหารบกชั้นยศน้อย
หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ)
รัฐบาลภายใต้การนำของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ประกาศนโยบายสร้างชาติเป็นเป้าหมายหลัก
ในการบริหารประเทศให้มีศีลธรรม มีอนามัยดี มีการแต่งกายเรียบร้อย มีที่พักอาศัย และมีที่ทำมาหากินดี
การดำเนินนโยบายสร้างชาติเช่นนี้จะนำประเทศไทยสู่ความเป็นอารยประเทศ รัฐบาลได้กำหนดมาตรการไว้อย่าง เช่น
การปลุกเร้าสำนึกของประชาชนด้วยลัทธิผู้นำนิยม ลัทธิชาตินิยม และการปฏิวัติวัฒนธรรม
1. ลัทธิผู้นำนิยม หมายถึง การยึดถือตัวนายกรัฐมนตรีเป็นหลัก ด้วยการฟัง เชื่อ และปฏิบัติตามนโยบายของท่านผู้นำอย่างเคร่งครัด โดยที่ท่านผู้นำเป็นจุดศูนย์รวมนำไปสู่ความร่วมมือร่วมใจของประชาชนเพื่อชาติ ตามคำขวัญที่โด่งดัง "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย"
โปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง เผยแพร่โดยกรมโฆษณาการ โฆษณาชวนเชื่อที่ใช้ได้ผล
2. ลัทธิชาตินิยม หมายถึง การปลุกเร้าสำนึกของประชาชนให้เกิดความรู้สึกรักชาติทั้งความรู้สึกชาตินิยมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยมีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อสร้างชาติให้มีความยิ่งใหญ่และก้าวหน้า ตามคำขวัญ "ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ"
เมื่อคนไทยลองผลิตสินค้าใช้เอง ทำให้ไทยสร้างเครื่องบินได้เป็นชาติแรกในเอเซีย
3. การปฏิวัติวัฒนธรรม หมายถึง การปรับปรุงวัฒนธรรมไทยให้เจริญเหมือนอารยประเทศ
ขณะเดียวกับที่ยังคงเน้นเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทยไว้ด้วยและจะเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของชาติอย่างมีขั้นตอนตามแนวทางที่รัฐบาลกำหนด
ป้ายประกาศนโยบายรัฐนิยมในเรื่องการแต่งกาย
อ้างอิงจาก: https://th.wikipedia.org/wiki/แปลก_พิบูลสงคราม
https://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง