ข้อเท็จจริงที่ควรรับรู้:แม้ในประเทศเดียวกันทุกคนก็ไม่ได้มีสิทธิเสมอภาคกันจริง
- คนมีเงิน 1 แสนบาท ซื้อรถยนต์ซูเปอร์คาร์ไม่ได้
- คนเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสกันไม่ได้
- การสมรสของชายหรือหญิงอายุไม่ครบ 17 ปี เป็นโมฆียะ
- ผู้ที่อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ (เว้นแต่สมรสแล้ว) ทำสัญญาซื้อขายบ้าน/ที่ดิน ตามลำพังไม่ได้
- เด็กอายุไม่เกิน 10 ปี กระทำผิดทางอาญา ไม่ถือว่ามีความผิด
- เด็กอายุ 10 ปี ถึง ไม่เกิน 15 ปี กระทำผิดทางอาญาห้ามลงโทษทางอาญา
- เด็กอายุ 15 ปี ถึงไม่เกิน 18 ปี กระทำผอดทางอาญาให้ศาลใช้ดุลพินิจในการลงโทษทางอาญา
- บุคคลผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพเดือนละ 600 -1,000 บาทต่อเดือน
- ผู้ที่จะประกอบวิชาชีพเป็นแพทย์ วิศวกร ทนายความ ฯลฯ ต้องจบการศึกษาและมีใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพนั้น ๆ
- ผู้จะขับขี่รถจักรยานยนต์ รถยนต์ส่วนบุคคล รถยนต์สาธารณะได้ก็จะต้องมีใบอนุญาตขับขี่ตามแต่ละประเภท
- ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ต้องมีสัญชาติไทยโดยกำเนิด หรือแปลงสัญชาติเป็นไทยมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
- และอื่น ๆ อีกหลาย ๆ กรณี
เหล่านี้เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าไม่ใช่ว่าทุกคนเกิดมามีชีวิตรอด กลายเป็นบุคคลแล้วจะต้องมีสิทธิเสมอภาคทำอะไรก็ได้เหมือนกัน/เท่ากันทุกคน
การกำหนดให้ผู้หนึ่งผู้ใดจะประกอบวิชาชีพบางอย่างได้หรือไม่ก็เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของสังคม
การลดหรือระงับสิทธิบางเรื่องสำหรับเด็กนั้นไม่ใช่การริดรอนสิทธิหรือเสรีภาพ แต่กลับเป็นการคุ้มครองตัวเด็กเอง ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของสังคม เพราะคำนึงถึงว่าเด็กย่อมมีความรู้ ความคิด ประสบการณ์ อ่อนด้อยกว่าผู้ใหญ่ ง่ายต่อการชักจูงให้กระทำความผิดหรือตกเป็นเหยื่อของสังคม
การที่นักการเมืองใช้เด็กหรือเยาวชนที่มีความคิด สติปัญญา วิจารณญาณ ประสบการณ์ ที่ด้วยกว่าผู้ใหญ่มาเป็นเครื่องมือทางการเมือง คงจะมีความภาคภูมิใจเหลือเกิน ถ้าหากคิดว่าเด็ก ๆ ในปัจจุบันมีความคิดสติปัญญาเทียบเท่าผู้ใหญ่แล้ว ส.ส.พรรคที่สนับสนุนเด็กในทุกวันนี้ ก็ให้นำเสนอให้ยกเลิกกฎหมายที่คุ้มครองเด็กดังตัวอย่างที่ยกมาข้างต้นเสียเลย จะได้ทำให้สิทธิเด็กเสมอภาคกับผู้ใหญ่เสียที
นักการเมืองใช้เด็กเป็นเครื่องมือทางการเมือง
View this post on Instagram