หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ดัน พ.ร.บ.อี-เซอร์วิส ตามเก็บภาษีโซเชียลมีเดีย 3,000 ล้านบาทต่อปี

โพสท์โดย Fukurou

 30 กรกฎาคม 2563

ใจความสำคัญ

  • กรมสรรพากร ตอบรับนโยบายรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ด้วยการเร่งเสนอร่างกฎหมายอี-เซอร์วิสหรือร่างกฎหมายการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ เพื่อบังคับใช้เก็บภาษี VAT 7% กับทุกแพลตฟอร์มในโซเชียลมีเดีย อาทิ เฟซบุ๊ก ยูทูบ เน็ตฟลิกซ์ แอปเปิลเพลย์ สปอร์ติฟาย บุ๊กกิ้งดอทคอม อะโกด้า ลาซาด้า ช้อปปี้ เป็นต้น
  • หากสภาฯ เห็นชอบต่อร่างกฎหมายฉบับนี้ จะส่งผลให้บริษัทดิจิทัลต่างประเทศที่ไม่มีบริษัทลูกในประเทศไทย และมีรายได้ต่อปีจากค่าบริการตั้งแต่ 8 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องมายื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีหน้าที่เสียภาษี ตาม พ.ร.บ. อี-เซอร์วิส โดยจากการประเมินเบื้องต้น คาดว่า มูลค่าการเก็บภาษีจะอยู่ที่ปีละ 3,000 ล้านบาท ที่สำคัญยังช่วยคืนความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการของไทยที่แบกรับภาระภาษีแทนมาโดยตลอด
  •  

    ดัน พ.ร.บ.อี-เซอร์วิส ตามเก็บภาษีโซเชียลมีเดีย 3,000 ล้านบาท

     งานด้านกฎหมาย, 30 กรกฎาคม 2563

    ใจความสำคัญ

     

    • กรมสรรพากร ตอบรับนโยบายรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ด้วยการเร่งเสนอร่างกฎหมายอี-เซอร์วิสหรือร่างกฎหมายการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ เพื่อบังคับใช้เก็บภาษี VAT 7% กับทุกแพลตฟอร์มในโซเชียลมีเดีย อาทิ เฟซบุ๊ก ยูทูบ เน็ตฟลิกซ์ แอปเปิลเพลย์ สปอร์ติฟาย บุ๊กกิ้งดอทคอม อะโกด้า ลาซาด้า ช้อปปี้ เป็นต้น
    • หากสภาฯ เห็นชอบต่อร่างกฎหมายฉบับนี้ จะส่งผลให้บริษัทดิจิทัลต่างประเทศที่ไม่มีบริษัทลูกในประเทศไทย และมีรายได้ต่อปีจากค่าบริการตั้งแต่ 8 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องมายื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีหน้าที่เสียภาษี ตาม พ.ร.บ. อี-เซอร์วิส โดยจากการประเมินเบื้องต้น คาดว่า มูลค่าการเก็บภาษีจะอยู่ที่ปีละ 3,000 ล้านบาท ที่สำคัญยังช่วยคืนความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการของไทยที่แบกรับภาระภาษีแทนมาโดยตลอด

     

    ในโลกยุคใหม่ที่โซเชียลมีเดียตอบสนองได้เกือบทุกความต้องการ จึงมีคนไทยกว่า 51 ล้านคนใช้ชีวิตอยู่กับโซเชียลมีเดียเฉลี่ย 3.10 ชั่วโมงต่อวัน เรียกว่าเมื่อหยิบโทรศัพท์สมาร์ทโฟนเมื่อได้ ก็ต้องเปิด Facebook Line Twitter Google Yahoo หรือ YouTube หากจะซื้อสินค้าก็ต้อง Lazada Shopee Amazon Ebay ฯลฯ หากจะดูสื่อบันเทิงก็ต้อง Netflix ซึ่งทั้งหมดเป็นสื่อที่อยู่ในต่างประเทศ แต่เข้ามากอบโกยเม็ดเงินจากค่าโฆษณาค่าสมาชิก ปีละจำนวนหลายหมื่นล้านบาท แต่ทว่าสื่อเหล่านี้กลับไม่ต้องเสียภาษีใด ๆ ทั้งสิ้น

    นั่นก็เพราะกรมสรรพากรไม่เคยมีฐานกฎหมายที่จะให้อำนาจในการตามเก็บภาษีจากบริษัทเหล่านี้ได้ ที่พอจะเก็บได้บ้าง ก็น้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับตัวเลขภาษีที่ควรจะเก็บได้ซึ่งเคยมีการประมาณการไว้ถึง 3,000 ล้านบาท โซเชียลมีเดียเหล่านี้จึงถูกเปรียบว่าเหมือน “เสือนอนกิน” มาเป็นเวลานาน ซึ่งนอกจากไทยแล้ว ทุกประเทศทั่วโลกต่างก็คิดหาวิธีที่จะจัดเก็บภาษีกับโซเชียลมีเดียเหล่านี้เช่นเดียวกัน

    รัฐบาลภายใต้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตระหนักดีว่า ไทยควรมีมาตรการที่ไม่ปล่อยให้โซเชียลมีเดียเหล่านี้เอาเปรียบ และเพื่อให้มีรายได้กลับมาพัฒนาประเทศ สร้างความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการที่ต้องยอมแบกรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT 7% โดยต้องคำนึงถึงวิธีการในการจัดเก็บที่เหมาะสม รวมทั้งต้องได้รับความร่วมมือกับประเทศในระดับภูมิภาค เพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองให้มีการเสียภาษีอย่างถูกต้องและเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

    รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้กรมสรรพากรจัดทำร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่..) พ.ศ. …. (การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า พ.ร.บ. อี-เซอร์วิส (e-Service) ขึ้น เพื่อจัดเก็บภาษี VAT จากทุกผู้ประกอบการแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างชาติที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการเข้ามาทำการค้าขายในประเทศไทย และทำรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ อีกทั้งที่ผ่านมา ยังได้เปรียบผู้ประกอบการในประเทศเนื่องจากไม่ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคณะกรรมการกฤษฎีกามีข้อเสนอในการแก้ไขเพิ่มเติมร่าง พ.ร.บ. อี-เซอร์วิส (e-Service) เพื่อให้ อี-เซอร์วิส (e-Service) มีคำจำกัดความที่ครอบคลุมธุรกิจกว้างขวางมากขึ้นและกำหนดให้ธุรกิจที่เข้าข่ายมีหน้าที่ชัดเจนในการเสียภาษี ซึ่งจะทำให้กรมสรรพากรมีเครื่องมือที่จะใช้ในการจัดเก็บภาษีจากบริษัทเทคโนโลยีต่างชาติได้จริง

     

    ทั้งนี้ กรมสรรพากรได้เสนอร่างกฎหมายอี-เซอร์วิส ดังกล่าวผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้วเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2563 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา และคาดว่า กฎหมายจะบังคับใช้ภายในสิ้นปี 2563

    ใจความสำคัญของร่างกฎหมายนี้ระบุให้ผู้ประกอบการจากต่างประเทศที่ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยและมีรายได้ต่อปีจากค่าบริการตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องมายื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีหน้าที่เสียภาษีดังกล่าว ตาม พ.ร.บ. อี-เซอร์วิส โดยประเมินเบื้องต้นว่า มีมูลค่าการให้บริการรวมอยู่ที่ปีละ 40,000 ล้านบาท และคาดว่าจะจัดเก็บภาษีได้ 3,000 ล้านบาท ที่สำคัญ ยังจะสามารถช่วยคืนความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการของไทยที่มีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ในปัจจุบัน

    พ.ร.บ.อี-เซอร์วิส แบ่งธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ออกเป็น 2 ส่วน คือ

    1. ธุรกิจ อีคอมเมิร์ซซื้อขายสินค้าออนไลน์หรือการค้าขายบนมาร์เกตเพลส อย่าง ลาซาด้า (Lazada) หรือช้อปปี้ (Shopee)  โดยผลักดันให้ยกเลิกประกาศกรมศุลกากรที่ให้ยกเว้นการเก็บภาษี VAT สำหรับสินค้าต่างประเทศที่นำเข้ามาที่มีมูลค่าไม่เกิน 1,500 บาทเสีย เพื่อให้สินค้านำเข้าที่ซื้อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต้องเสียภาษี VAT เช่นเดียวกับผู้ประกอบการในประเทศไม่ให้มีการได้เปรียบเสียเปรียบ
    2. ธุรกิจ อี-เซอร์วิสเป็นบริการบนแพลตฟอร์มดิจิทัล แบ่งออกเป็น 5 ประเภทได้แก่
      1. ธุรกิจที่มีรายได้จากค่าโฆษณา เช่น เฟซบุ๊ก ยูทูบ ที่ขายโฆษณาบนแพลตฟอร์ม โดยลูกค้าในไทยต้องชำระค่าโฆษณาผ่านการจ่ายบัตรเครดิตไปยังประเทศปลายทาง ทำให้ภาครัฐของไทยไม่สามารถเก็บภาษีใด ๆ ได้
      2. ธุรกิจเพลง-หนังบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น เน็ตฟลิกซ์ แอปเปิลเพย์ (Apple Play) สปอร์ติฟาย (Spotify) ที่มีรายได้จากการสมัครสมาชิก
      3. ตัวกลางแบบ P2P ได้แก่ แกรบ (Grab) แอร์บีเอ็นบี (Airbnb)
      4. ตัวกลางที่เป็นเอเย่นต์จำหน่ายสินค้าและบริการ เช่น บุ๊กกิ้งดอทคอม (Booking.com) อะโกด้า (Agoda)
      5. อีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์ม เช่น อเมซอน (Amazon) อีเบย์ (Ebay) โดยเป็นการเก็บ VAT จากรายได้จากการให้ใช้แพลตฟอร์มในการขาย

    ปัจจุบัน ทั่วโลกต่างหันมาให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการของตนเอง โดยมีประเทศที่บังคับใช้กฎหมายแล้วกว่า 60 ประเทศ อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย ซึ่งต่างก็กำหนดบทลงโทษตามกฎหมายไว้หลายรูปแบบ เช่น การบล็อกไม่ให้เข้าสู่แพลตฟอร์ม การบล็อกเส้นทางการชำระค่าบริการ ตลอดจนใช้ภาคีระหว่างประเทศ เช่น สนธิสัญญาภาคีสมาชิกเพื่อร่วมบริหารภาษีระหว่างประเทศ (Mutual assistant on tax administration) แลกเปลี่ยนข้อมูลบริษัทจดทะเบียนระหว่างกัน เพื่อนำมาประเมินภาษีที่ต้องจัดเก็บ หากมีบริษัทต่างชาติในประเทศนั้น ๆ เปิดให้บริการแพลตฟอร์มในไทย

    โดยรัฐบาลได้เน้นย้ำว่า การเก็บภาษีนี้ ไม่ใช่เก็บจากตัวสินค้า แต่เป็นการเก็บจากค่าบริการ และค่าโฆษณาผ่านแต่ละแพลตฟอร์ม ยิ่งนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เราก็ได้เห็นแล้วว่า ธุรกรรมออนไลน์ยิ่งเติบโตอีกหลายเท่าตัว ทำให้รายได้ของบริษัทเหล่านี้เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ซึ่งภาษีอี-เซอร์วิสนี้ ก็จะครอบคลุมการเก็บภาษีในทุกแพลตฟอร์มของต่างประเทศได้ทั้งหมด

    หากกฎหมายฉบับนี้เริ่มบังคับใช้ได้จริงโดยเร็วที่สุด แน่นอนว่า จะดีทั้งต่อการเพิ่มรายได้เข้าประเทศไทย ต่อประชาชนคนไทย และต่อผู้ประกอบการไทยนั่นเอง

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Fukurou's profile


โพสท์โดย: Fukurou
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: zerotype
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สาวญี่ปุ่น วัย 38 ปี เคยป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะ 3 หนัก อีก 24 ปี ต่อมาสุขภาพแข็งแรง กินแค่ 3 อย่างนี้สุดช็อก"หนุ่มแต่งงานได้ 12 วัน เมียไม่ยอมมีอะไรด้วย สะกดรอยตามจนรู้ความจริง เข่าทรุดทันทีสะเทือนใจ! ป้าแต๊งเปิดใจกลางสื่อ กรณีถูกหาว่า 'เกาะน้องกิน' – เรื่องจริงที่คุณอาจไม่เคยรู้"งานกาชาดปีนี้ สาวๆ ถูกใจบูธ ตร.เป็นอย่างมาก..เพราะมี "หนุ่มหล่อตกน้ำ" บอกเลยเร้าใจสุดๆทำไมน้ำแข็งชุบแกลบถึงละลายช้ากว่าปกติ?ตำรวจสงขลาสกัดจับรถบัสขนแรงงานเถื่อนเข้ามาเลเซีย ได้ค่าหัวคนละ 3,000 บาทอึ้งไปเลย เปิดค่าสินสอด โฟม เบญจมาศ-เจมส์ จิรายุ เรื่องราวที่ใครๆต้องยิ้มตามเสนาหอย เตือนอย่าลืมจมูกคนอื่นหายใจ ใช้หนี้หลักหร้อยล้าน แสนทรมานน้องปายไม่ทน! ลุงขอยืมเงิน พ้อทำไมตอนหนูลำบากไม่เคยช่วยเผยสาเหตุ โนโรไวรัส แอลกฮอล์ยับยั้งไม่อยู่แล้วนะสวนแบงค์เบญจมาศ(Flower Cafe)เสน่ห์แห่งทุ่งดอกไม้นานาพันธุ์งานแต่งเจมส์ & โฟม กับชุดเจ้าสาวและล็อคเก็ตสีทองที่ซ่อนความหมายพิเศษเอาไว้
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สวนแบงค์เบญจมาศ(Flower Cafe)เสน่ห์แห่งทุ่งดอกไม้นานาพันธุ์สุวรรณภูมิแตก นักท่องเที่ยวทะลัก 32 ล้านคน ไทยแลนด์ฮอตจัดสร้างรายได้ล้านล้านกูเกิลสตรีทวิว ช่วยตำรวจไขคดีฆาตกรรมยาแก้โรคซึมเศร้าหรือยาต้านเศร้ากินแล้วมีผลดีและผลข้างเคียงอย่างไรสถานกงศุลญี่ปุ่นเตือนคนไทย ระวังเป็นผีน้อยซึ่งจะถูกจับ
กระทู้อื่นๆในบอร์ด MISCELLANEOUS-จิปาถะ
ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดในรอบ 20 ปี"เจี๊ยบ อมรัตน์"ยอมรับรู้จัก"พ่อกำนันนก"ข้าวปลูกครั้งแรกอย่างน้อย 9,400 ปีที่แล้วในจีนสหรัฐฯยอมยกเลิกการอาญัติกองทุนน้ำมันอิหร่านกว่าสองแสนล้านบาท เพื่อแลกกับนักโทษ 5 คน
ตั้งกระทู้ใหม่