ฟังเรื่องเครียด ๆ เกี่ยวกับข่าวโควิด-19 มากันมากแล้ว คราวนี้เราลองมาฟังงานวิจัยที่อาจจะทำให้คนไทยหรือคนประเทศแถบร้อนอาจใจชื้นขึ้นมาบ้าง เกี่ยวกับความแนวคิดที่ว่าไวรัสโควิด-19 อาจแพร่เชื้อได้ยากในแถบอากาศร้อนชื้นอย่างประเทศไทย
>
>
>
งานวิจัยของคณะแพทย์ชาวจีนที่เผยแพร่ในคลังเอกสารวิชาการออนไลน์ด้านแพทยศาสตร์ medRxiv.org เป็นอีกหนึ่งงานวิจัยในหลายชิ้นที่ให้การสนับสนุนทฤษฎีนี้ โดยงานวิจัยบอกว่า อุณหภูมิ ความเร็วลม และความชื้นสัมพัทธ์ในแต่ละพื้นที่ มีส่วนเชื่อมโยงกับอัตราการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่นเดียวกับรายงานวิจัยจากบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านระบาดวิทยา Ausvet ที่มีวิเคราะห์ว่าในพื้นที่ที่อุณหภูมิสูงจะพบการติดเชื้อโรคโควิด-19 ที่ต่ำกว่า
>
>
>
นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์ หรือเอ็มไอทีของสหรัฐฯ ก็ได้มีการตีพิมพ์บทความในวารสารออนไลน์ SSRN โดยจากการศึกษาพบว่า 90% ของการติดเชื้อโรคโควิด-19 เกิดขึ้นในภูมิภาคที่มีอุณหภูมิ 3-17 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมบูรณ์ 4-9 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ขณะที่ประเทศที่มีอุณหภูมิเฉลี่ย 18 องศาเซลเซียสขึ้นไป และมีความชื้นสัมบูรณ์สูงกว่า 9 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะมีจำนวนผู้ติดเชื้อน้อยกว่า 6% ของกรณีทั้งหมดทั่วโลก
>
>
>
โดยจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่าไวรัสโคโรนามีเปลือกหุ้มเป็นชั้นไขมันทำให้ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้ดีกว่าไวรัสชนิดอื่น ยิ่งในพื้นที่อากาศหนาวเย็นจะทำให้ไขมันที่เป็นเกาะตัวเป็นเปลือกหุ้มแข็งขึ้น และส่งผลให้ช่วยปกป้องอนุภาคไวรัสขณะที่อยู่นอกร่างกายของสิ่งมีชีวิตได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับการอยู่ในอากาศร้อนที่เปลือกไขมันจะถูกทำลาย
>
>
>
ฟัง ๆ ดูแล้วเหมือนจะมีความหวังอย่างมากโดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีพื้นที่ร้อนขนาดนี้ แต่ต้องเข้าใจก่อนว่างานวิจัยทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นงานวิจัยที่ศึกษาโคโรนาสายพันธุ์อื่น ๆ เทียบเคียง และส่วนใหญ่ยังเป็นการใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์ทำนายคาดการณ์ล่วงหน้า เพราะโควิด-19 ถือเป็นโรคใหม่จึงยังบอกไม่ได้ว่าการแพร่โควิด-19มีผลต่อฤดูกาลหรือเปล่า
>
>
>
ศ.ยาน อัลเบิร์ต ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสจากสถาบันคาโรลินสกาของสวีเดน ให้ความเห็นว่า แม้การระบาดวงกว้างของไวรัสโคโรนาส่วนใหญ่ในอดีตจะบรรเทาลง และกลายเป็นการระบาดตามฤดูกาลไปในที่สุด แต่ไวรัสที่มีการระบาดใหญ่ทั่วโลกแบบโควิด-19 อาจระบาดโดยไม่สนกลไกทางภูมิอากาศก็ได้ อย่างเช่นไข้หวัดใหญ่สเปนที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน ทั้งที่ไข้หวัดใหญ่ส่วนมากมักเกิดการระบาดในฤดูหนาวเป็นต้น ยิ่งโควิด-19 เป็นไวรัสชนิดใหม่ ทำให้ไม่มีทางรู้ได้เลยว่ามันจะมีผลกระทบจากการเปลี่ยนแผลงทางฤดูกาลหรือหรือเปล่า
>
>
>
สุดท้ายแล้วก็ยังคงบอกอะไรชัดไม่ได้เพราะโควิด-19 ถือเป็นโรคใหม่ที่เราต้องทำการวิจัยกันอีกมาก แต่ก็หวังว่าทฤษฎีนี้อาจเป็นจริงบ้าง ให้อย่างน้อยเรายังหาทางต่อกรหรือยับยั้งมันได้บ้างไม่มากก็น้อยก็ยังดี #วิจัย #งานวิจัย #COVID2019 #นักวิจัย
-----------------เกร็ดน่ารู้----------------------------
โคโรนา = บางคน(อย่างแอดมิน) อาจยังไม่รู้ว่าไวรัสโคโรนาถูกพบครั้งแรกตั้งแต่ปี 1960 แล้ว โดยก่อนหน้านี้พบอยู่ 6 สายพันธุ์และที่แพร่อยู่ตอนนี้ถือเป็นสายพันธุ์หรือสายพันธุ์ที่ 7
อ่านงานวิจัยเพิ่มเติมได้ที่
https://bansornmagazine.blogspot.com/2019/04/blog-post.html
https://twitter.com/tonygooogking/status/969579360171696128
https://www.facebook.com/barnsorn/photos/a.868203936527445/3278429882171493/?type=3&theater