3 ผลเสียจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืชพาราควอต-คลอร์ไพริฟอส
พี่น้องเกษตรกรหลายคนคงได้ยินข่าวการแบนพาราควอต และคลอร์ไพริฟอสกันมาบ้าง ซึ่งวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาก็ได้ประกาศแบน พาราควอต-คลอร์ไพริฟอสอย่างเป็นทางการ โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายนนี้
>
>
>
โดยสาเหตุของการแบนพาราควอตและคลอร์ไพริฟอสเพราะมันเป็นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่อันตราย แต่บางคนอาจยังไม่รู้ว่าที่อันตราย มันอันตรายขนาดไหนและมันส่งผลต่อร่างกายหรือสิ่งแวดล้อมยังไงบ้างและนี้คือ 3 ภัยร้ายจากการใช้ พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส
>
>
>
(1.) สารพิษสามารถตกค้างไปถึงลูกได้
งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ ระบุว่า คลอร์ไพริฟอสสามารถตกค้างในร่างกายของแม่และมีโอกาสกระจายตัวไปสู่ทารกในครรภ์ ส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก เด็กจะมีความจำสั้น สมาธิต่ำ เชื่องชา และจากข้อมูลคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลวิจัยพบว่าจากการศึกษาแม่ที่เป็นเกษตรกรที่ใช้คลอร์ไพริฟอส สำรวจมีน้ำนมจากแม่ 51 คน มีคลอร์ไพริฟอสในน้ำนมแม่ 21 คน 41.2% และมีทารกแรกเกิดได้รับเกินค่า ADI* (Acceptable Daily Intake) สูงถึงร้อยละ 14.3
>
>
>
(2.) สามารถปนเปื้อนอยู่ในดินนานนับ 10 ปี
วิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า สารเคมีพาราควอตจะปนเปื้อนไปในดินและสลายตัวช้ามากนั้นหมายความว่าอาจต้องใช้เวลากว่า 10 ปี สารเคมีดังกล่าวถึงจะลดไปครึ่งหนึ่ง หากมีการใช้อย่างต่อเนื่องก็จะสลายช้ามากขึ้น
>
>
>
(3.)กลายเป็นสารพิษปนเปื้อนในสัตว์
ในงานวิจัยชิ้นเดียวกันจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังเผยการศึกษาการปนเปื้อนของสารฆ่าวัชพืชในสัตว์ พบว่ามีการปนเปื้อนใน กบ ปู หอยจำนวนมาก โดยพบพาราควอตปนเปื้อนในปูนาประมาณถึง 24 – 56 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม และ12.6 – 1,233.8 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมในกบหนอง ขณะที่ตัวเลข MRL* (Maximun Residue Limits) กำหนดให้ไม่เกิน 5 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมเท่านั้น
>
>
>
อย่างไรก็ตามปัญหาที่ตามมาหลังจากแบน พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส คือจะใช้อะไรทดแทนสารเคมีเหล่านี้ ด้านกรมวิชาการเกษตรเองก็ยังไม่ได้ส่งหนังสือการหาสารตัวอื่นมาทดแทนสารเคมีทั้ง 2 ชนิด ประกอบกับชาวเกษตรกรได้ผลกระทบ เนื่องจากสารไกลโฟเซตที่ทดแทนสารพาราควอตได้บางส่วนมีราคาสูงขึ้นเนื่องจากถูกจำกัดการใช้และไม่มีการอนุญาตนำเข้าเพิ่ม
>
>
>
แม้ทางมูลนิธิชีววิถี หรือไบโอไทยจะเสนอแนะเครื่องตัดหญ้ามาใช้แทนสารหรือการปลูกพืชคลุมดิน แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ก็ยังมีปัญหาเรื่องต้นทุนหรือการเข้าถึงเครื่องจักร ดังนั้นการหาสารทดแทน พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส ก็คงต้องรอดูกันต่อไปว่าอะไรคือสิ่งที่จะมาทดแทนสารเหล่านี้ #วิจัย #นักวิจัย #พาราควอต #คลอร์ไพริฟอส #งานวิจัย #เกษตรกร #เกษตรกรรม
-------------------------เกร็ดน่ารู้-----------------------------------
MRL (Maximun Residue Limits) = ระดับปริมาณสารพิษซึ่งเป็นอันตรายทางเคมี
ADI (Acceptable Daily Intake) = ปริมาณวัตถุเจือปนอาหาร วัตถุอันตรายทางการเกษตร