เรื่องลับๆ ของ "อูฐ" ที่คุณอาจไม่เคยรู้
ย้อนกลับไป 400 ปีก่อนคริสตกาล มีการบันทึกถึงการค้นพบ "อูฐ" เป็นครั้งเเรกในดินแดนประเทศซาอุดิอาราเบีย และต่อมาได้มีการย้ายถิ่นฐานไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นแถบเอเชียกลาง ยุโรป และออสเตรเลีย ชาวอาหรับเชื่อว่าอูฐเป็นสัตว์มหัศจรรย์แห่งดินแดนทะเลทราย และ "เป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์"
อูฐมีทั้งหมด 3 สายพันธุ์หลัก คือ อูฐหนอกเดียว อูฐสองหนอก และอูฐป่า (สองหนอก) อูฐที่พบมากที่สุดในโลกคือ อูฐหนอกเดียว จํานวนประชากรอูฐชนิดนี้คิดเป็น 94% ของจํานวนอูฐทั่วโลก โดยพบมากที่สุดในประเทศแถบตะวันออกกลาง บางครั้งอูฐชนิดนี้ถูกเรียกสั้นๆ ว่า "อูฐอาหรับ"
อูฐเป็นสัตว์ที่มีอายุค่อนข้างยืนยาว โดยมีอายุเฉลี่ย 40 – 50 ปี มีส่วนสูงประมาณ 1.85 เมตร สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็ว 50 – 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลักษณะพิเศษของอูฐคือ มีหนอกอยู่ที่กลางหลัง ซึ่งเป็นเเหล่งเก็บสะสม "ไขมัน" เพื่อให้ร่างกายของอูฐค่อยๆ นํามาใช้เป็นพลังงาน
จากการที่อูฐสามารถเก็บสะสมไขมันไว้ที่หนอก และมีร่างกายที่มีการดึงนํ้ามาใช้น้อยกว่าสัตว์อื่นๆ ทําให้อูฐสามารถอยู่ได้ประมาณสองอาทิตย์โดยไม่ต้องกินอาหารหรือดื่มนํ้า ทั้งนี้อูฐยังเป็นสัตว์ที่สามารถทนต่อสภาพอากาศรุนเเรงได้ดี ทั้งสภาพอากาศร้อนจัดเเละเย็นจัด อูฐจึงถูกนําไปใช้เป็นพาหนะในการเดินทาง และขนส่งสินค้าข้ามทะเลทรายไปยังประเทศต่างๆ นั่นเอง
ชาวอาหรับเชื่อว่า "อูฐคือของขวัญจากพระเจ้า" อูฐเป็นสัตว์ที่ให้คุณประโยชน์กับมนุษย์มากมาย และไม่มีส่วนใดของอูฐที่ไม่สามารถนํามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เราสามารถใช้อูฐเป็นพาหนะ นําขนอูฐมาทําเครื่องนุ่งห่ม นํานํ้านมและเนื้ออูฐมาบริโภค ส่วนอูฐที่เสียชีวิตกลางทะเลทราย ชาวอาหรับก็จะนํามาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการก่อไฟแทนการใช้ฟืนอีกด้วย
เเม้ว่าอูฐจะไม่ได้ใช้เป็นพาหนะหลักในการขนสินค้าข้ามทะเลทรายอีกต่อไปแล้ว แต่สัตว์ชนิดนี้ยังถูกอนุรักษ์ไว้อย่างดีในประเทศแถบตะวันออกกลาง และถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สร้างรายได้เข้าประเทศเป็นจํานวนมาก
ในปัจจุบันการบริโภคนมอูฐมีความนิยมมากขึ้นทั่วโลก ทั้งนี้เนื่อจากนมอูฐมีวิตามินซีมากกว่านมวัวถึง 20 เท่า มีโปรตีนย่อยง่าย และมีแร่ธาตุที่สําคัญต่างๆ มากมาย ทําให้นมอูฐถูกนําไปใช้เพื่อการบริโภค และในอุตสาหกรรมความงาม ยิ่งไปกว่านั้นสํานักวิจัยเมืองเจดดาห์ ประเทศซาอุดิอาราเบีย ยังมีการนํา "ฉี่อูฐ" มาสกัดและทําการวิจัยในเบื้องต้นพบว่า ฉี่อูฐมีสารสําคัญที่สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งได้
นอกจากนี้ อูฐยังเป็นสัตว์ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ในเชิงท่องเที่ยว ในหลายๆ ประเทศแถบตะวันออกกลางยังคงอนุรักษ์ประเพณีการเเข่งขันวิ่งอูฐ และมวยปลํ้าอูฐเอาไว้ เพื่อเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมระหว่างมนุษย์และสัตว์มหัศจรรย์นี้ให้สืบต่อไปในอนาคต