ชาวใต้ไอเดียกรีนคิดผลิต"ถุงเพาะชำทำจากยางพารา" ย่อยสลายได้ภายใน 6 เดือน
ชาวใต้ไอเดียกรีนคิดผลิต"ถุงเพาะชำทำจากยางพารา" ย่อยสลายได้ภายใน 6 เดือน ลดการใช้พลาสติก วัสดุเป็นมิตร เพิ่มมูลค่ายางพารา สร้างรายได้ให้ชาวสวนไทย!
•
ปัจจุบันการเพาะกล้าไม้ต้องใช้ถุงพลาสติกจำนวนมาก ใช้ระยะเวลาย่อยสลายนาน เกิดขยะมหาศาลส่งผลกระทบต่อสัตว์สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้การเพาะชำใช้ต้นทุนสูงทั้งค่าน้ำ ค่าปุ๋ย คนงาน....
•
วันนี้ชวนดูถุงเพาะชำจากยางพาราโดยฝีมือคนใต้ Greensery
- ถุงเพาะชำนี้สามารถย่อยสลายได้เมื่อปลูกลงดิน ในเวลา 6 เดือน ถึง 1 ปี ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
- ถุงสามารถดูดซับน้ำได้ทำให้ความถี่ในการรดน้ำลดลง อัตราการบวมน้ำ 15%-35% ของน้ำหนักถุง
- ถุงมีธาตุอาหาร N P K ที่ช่วยในการเจริญเติบโตของกล้าพืชในช่วงเริ่มต้น
•
ถุงเพาะชำยางพารานี้ช่วยแก้ปัญหาได้หลายด้าน
- ทั้งการลดการใช้พลาสติกที่ย่อยสลายยาก
- ช่วยแก้ปัญหาราคายางพาราที่ตกต่ำ และร่วมผลักดันการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราเพิ่มมูลค่า กระตุ้นราคายางพารา
- ทำให้เกษตรกรประหยัดต้นทุน และระยะเวลา เช่นลดความถี่ในการรถน้ำและใส่ปุ๋ย ประหยัดเวลาในการย้ายกล้าพืชลงแปลงปลูก ซึ่งทำให้กล้ารอดตายจากการย้าย 100%
•
ถุงเพาะชำนี้เป็นฝีมือคุณณัฐวี บัวแก้ว หรือบ่าว หนุ่มใต้ วัย 24 ปี เจ้าของถุงเพาะชำยางพารา Greensery ที่ได้คิดค้นทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหาเกษตรกรเข้าด้วยกัน ถือเป็นนวัตกรรมดีดีจากคนไทย ที่ควรสนับสนุนอย่างยิ่ง
•
https://www.facebook.com/environman.th/