ไอเดียลดขยะนักศึกาาไทย "ตะเกียบกินได้" จากแป้งข้าวโพด-ถั่วเหลือง
ไอเดียลดขยะนักศึกษาไทย ตะเกียบกินได้ ทำจากแป้งข้าวโพด-ถั่วเหลือง ลดขยะตะเกียบใช้ทิ้ง
ปัจจุบันมีการใช้ตะเกียบ ช้อน ส้อม จานมหาศาลโดยส่วนใหญ่แล้วใช้ครั้งเดียวทิ้ง เป็นการเพิ่มปริมาณขยะ และหากนำกลับมาใช้ใหม่หากล้างไม่แห้งจะมีเชื้อราที่ตะเกียบ
ตะเกียบกินได้นี้เป็นผลงานของ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถานบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง โดย นายปวัชร เพ็งสุขแสง, นายรชานนท์ แซ่ตั้ง และ นางสาวสกุลรญา สินถิรมั่น
ที่ได้ร่วมกันผลิตตะเกียบกินได้จากแป้งข้าวโพด-แป้งถั่วเหลือง ไว้ใช้แทนตะเกียบไม้ไผ่ เมื่อโดนน้ำบริเวณที่โดนน้ำก็จะเปื่อนและนิ่มขึ้น จนสามารถกินได้ รวมถึงย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
มันสามารถใช้ได้ตามปกติ อย่างก๋วยเตี๋ยวใช้งานได้อย่างต่ำ 10 นาที หรือหากสภาวะสูงสุดอย่างการแช่หรือจุ่มน้ำร้อนตลอดเวลา อุณหภูมิ 75 องศาจะอยู่ได้ 3 นาที
โดยเขาได้ไอเดียมาจากประเทศญี่ปุ่น อินเดีย และเม็กซิโก ที่ทำภาชนะที่กินได้ขึ้นมา เพื่อเป็นการช่วยลดปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ที่ต้องการใช้อุปกรณ์ทานอาหารที่สะอาดและถูกสุขอนามัย
ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาเคลือบสารกันน้ำ สี รสชาติ อายุการใช้งาน รวมถึงพัฒนาภาชนะผลิตภัณฑ์อื่นๆเพิ่มที่สามารถกินได้
รวมถึงยังมีการเปลี่ยนมาห่อซองกระดาษ ลดขยะพลาสติก และร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อผลิตสำหรับจำน่ายต่อไป
ถือเป็นไอเดียการสร้างนวัตรกรรมใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมที่สะท้อนถึงการศึกษาที่เน้นให้นักศึกษาได้สร้างสรรค์ วิธีแก้ปัญหาให้โลกมากขึ้น
https://www.facebook.com/environman.th/