กัญชา-ประเทศอื่น ๆเดินไปในทิศทางใด?
ในขณะที่ประเทศไทยเริ่มเดินหน้าเรื่องกัญชาว่าจะยังคงเป็นสารเสพติดอยู่ต่อไปหรือไม่? ท้ายที่สุดพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 ลงในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 136 ตอน 19 ก (18 กุมภาพันธ์ 2562) เปิดช่องให้นำยาเสพติดประเภท 5 “กัญชา-กระท่อม” ไปใช้ทางการแพทย์ ครอบคลุมถึงยาแผนโบราณและยาสมุนไพร แต่เป็นระยะเวลา 5 ปีแรก อนุญาตเฉพาะหน่วยงานรัฐ หรือรัฐร่วมกับหน่วยงานอื่นเท่านั้น ผู้ลักลอบครอบครองและจำหน่ายยังคงได้รับโทษเหมือนเดิม ส่วนผู้เสพถ้าไม่ใช่เพื่อใช้ในการรักษาโรค มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนกระท่อมมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในต่างประเทศกัญชาอยู่ในสถานะใดบ้าง? จะเห็นได้ว่าประเทศ/รัฐต่าง ๆ ก็ให้สถานะของกัญชาแตกต่างกันไป ดังภาพต่อไปนี้
จะเห็นได้ว่าบางประเทศ/รัฐให้กัญชาถูกกฎหมาย ทั้งการใช้ในทางการแพทย์และการใช้ในการสันทนาการ, บางประเทศให้การใช้ทางการแพทย์ถูกกฎหมาย การใช้ทางสันทนาการไม่ถูกกฎหมาย แต่ถือว่าไม่เป็นอาชญากรรม, บางประเทศให้การใช้ทางการแพทย์ถูกหมาย ใช้ทางสันทนาการผิดกฎหมาย แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่บังคับใช้กฎหมาย, บางประเทศให้การใช้ทั้งทางการแพทย์และสันทนาการผิดกฎหมาย, บางประเทศให้การใช้ทั้งทางการแพทย์และสันทนาการผิดกฎหมาย แต่ไม่ถือว่าเป็นอาชญากรรม, บางประเทศให้การใช้ทั้งทางการแพทย์และสันทนาการผิดกฎหมาย แต่ไม่บังคับใช้กฎหมาย และบางประเทศให้การใช้ทั้งทางการแพทย์และสันทนาการผิดกฎหมาย ยังมีบางประเทศที่ยังไม่มีข้อมูลในเรื่องนี้
* บางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา การใช้กัญชาในระดับประเทศถือว่าผิดกฎหมาย แต่ในแต่ละมลรัฐสามารถกำหนดสถานะทางกฎหมายได้เองอย่างเป็นอิสระ
สเปนและเนเธอร์แลนด์ ขายกัญชาในสถานประกอบการที่ได้รับอนุญาตได้
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 กำหนดการกระทำความผิดและบทลงโทษเกี่ยวกับกัญชา ดังนี้
(1) ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 หรือในประเภท 5 เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจะได้อนุญาต โดยการเสนอแนะของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษเป็นราย ๆ ไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
(2) ห้ามมิให้ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 หรือในประเภท 5
ข้อหาและโทษทางอาญาในความผิดเกี่ยวกับกัญชา ได้แก่
(1) ผลิต นำเข้า หรือส่งออก มีโทษจำคุกตั้งแต่ 2 - 15 ปี หรือปรับตั้งแต่ 200,000 - 1,500,000 บาท (มาตรา 75 วรรค 1)
(2) จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
- จำนวนไม่ถึง 10 กิโลกรัม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 2 - 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 40,000 - 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 76/1 วรรค 1)
- จำนวนตั้งแต่ 10 กิโลกรัมขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 - 15 ปี และปรับตั้งแต่ 200,000 - 1,500,000 บาท (มาตรา 76/1 วรรค 2)
(3) ครอบครอง มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 76 วรรค 1)
(4) เสพ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 92 วรรค 1)
ประเทศไทยควรจะเดินไปทิศทางใด กรุณาแสดงความคิดเห็น