สงครามกลางเมืองอเมริกา
สงครามกลางเมืองอเมริกา (อังกฤษ: American Civil War)
เป็นสงครามกลางเมืองซึ่งเกิดขึ้นในสหรัฐระหว่างปี 1861 (พ.ศ. 2404) ถึง 1865 (พ.ศ. 2408) สืบเนื่องจากข้อโต้แย้งที่ยืดเยื้อเกี่ยวกับทาส (คนผิวดำ) ระหว่างฝ่ายเหนือ ซึ่งเป็นกลุ่มชาตินิยมสหภาพ (the Union) ที่ประกาศความภักดีต่อรัฐธรรมนูญสหรัฐ กับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนฝ่ายใต้-สมาพันธรัฐ (the Confederacy) ซึ่งสนับสนุนสิทธิของมลรัฐในการคงไว้ซึ่งสถาบันทาสอีกฝ่ายหนึ่ง
ความเป็นมาของสงคราม
สงครามเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2404 เมื่อกองกำลังของผู้แบ่งแยกดินแดนเข้าโจมตีป้อมซัมเตอร์ (Fort Sumter) ที่อยู่ที่แคโรไลน่าใต้ (South Carolina) หลังจากที่ฮับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln) ซึ่งมีแนวคิดไม่ประนีประนอมกับระบบทาสอย่างชัดเจน ได้รับการเลือกตั้งขึ้นเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐ (United States) ได้เพียง 2 เดือน ทำให้ประชากรในรัฐทางใต้ 11รัฐไม่พอใจอย่างยิ่ง เพราะเดิมที 2 ใน 3 ของจำนวนประธานาธิบดีทั้งหมดล้วนมาจากภาคใต้ นับแต่ จอร์จ วอชิงตัน ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนแรกในปี ค.ศ. 1789 (พ.ศ. 2332)
การเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้เสียชีวิตในแต่ละวันระหว่างสงครามกลางเมือง
ป้อมซัมเตอร์ (Fort Sumter)
ประธานาธิบดี ฮับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln)
ประธานาธิบดี เจฟเฟอร์สัน เดวี่ส์ (Jefferson Davis)
ความพ่ายแพ้นี้ทำให้รัฐฝ่ายใต้รู้สึกถูกบีบคั้นอย่างมาก และกลายเป็นจุดแตกหักทางการเมือง รัฐภาคใต้มองว่าหากไม่มีแรงงานทาส ตนก็ไม่อาจแข่งขันกับอุตสาหกรรมสิ่งทอผ้าฝ้ายที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในรัฐทางตอนเหนือและในยุโรปได้ นายทาสจากรัฐทางใต้จึงพยายามใช้วิธีทั้งทางการเมืองและกฎหมาย เข้าขัดขวางนโยบายควบคุมสถาบันทาสของรัฐทางเหนือ
มลรัฐแคโรไลนาใต้ (South Carolina) เป็นตัวตั้งตัวตีที่สำคัญที่สุดในการผลักดันประเด็นเรื่องสิทธิของมลรัฐที่จะปกครองและกำหนดตนเอง (state rights) ได้ประกาศแยกตัวออกจากสหรัฐฯเป็นรัฐแรกในวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1860 (พ.ศ. 2403) มลรัฐเกษตรกรรมไร่ฝ้ายอีก 6 มลรัฐ ได้แก่ มิสซิสซิปปี (Mississippi), ฟลอริดา (Florida), แอละแบมา (Alabama), จอร์เจีย (Georgia), หลุยส์เซียนา (Louisiana) และเท็กซัส (Texus) ทยอยประกาศแยกตัวออกตามในอีกสองเดือนถัดมา คือ ระหว่างเดือน มกราคมและกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1861 (พ.ศ. 2404) 6 รัฐแรกที่ประกาศแยกตัวมีสัดส่วนของทาสต่อประชากรที่สูงถึงร้อยละ 49
พวกรัฐทางใต้ที่มีทาส 7 รัฐ จากอเมริกาทั้งหมด 34 รัฐ ที่ประกาศแยกตัวออกจากประเทศ ได้จัดตั้งขึ้นเป็นสมาพันธรัฐแห่งอเมริกา (Confederation States of America) ซึ่งสหรัฐฯถือว่าเป็นกบฏต่อต้านรัฐบาล
ฝ่ายสหภาพ (the Union) ประกอบไปด้วยรํฐทางเหนือ รวมทั้งบางรัฐทางตะวันตกและบางรัฐทางใต้ที่ภักดีต่อรัฐธรรมนูญ ฝ่ายสมาพันธรัฐ (the Confederacy) สามารถควบคุมดินแดนส่วนใหญ่ได้ใน 11 รัฐ [(จากเดิม 7 รัฐที่แยกตัวออกมาก่อนและมีรัฐเข้าร่วมเพิ่มขึ้นอีก 4 รัฐ คือเวอร์จิเนีย (Virginia), เทนเนสซี (Tennessee), อาร์คันซอ (Arkansas) และแคโรไลน่าเหนือ (North Carolina) ตามลำดับ ในปี พ.ศ. 2404 ไม่กี่สัปดาห์หลังจากการโจมตีที่ฟอร์ตซัมเตอร์ (Fort Sumter)] และยังอ้างว่ารวมทั้งผู้คนที่อยู่ในรัฐเคนตั๊กกี้ (Kentucky) และมิสซูรี่ (Missouri) ที่ต้องการแบ่งแยกออกไปจากอำนาจของสหภาพ แต่จริง ๆแล้วไม่่มีดินแดนหรือผู้คนอยู่ที่นั่นที่ต้องการแยกออกจากสหภาพ และยังชักชวนรัฐ เดลาแวร์ (Delaware) และ แมรี่แลนด์ (Maryland) เข้าร่วมด้วยแต่่ไม่ยั่งยืน
ทำไมจึงมีความขัดแย้งเรื่องทาส ?
ระหว่างปี พ. ศ. 2358 ถึง พ.ศ. 2404 เศรษฐกิจของรัฐทางเหนือมีความทันสมัยและมีความหลากหลาย แม้ว่าการเกษตรส่วนใหญ่เป็นฟาร์มขนาดเล็กที่พึ่งพาแรงงาน แต่เป็นแรงงานอิสระ ยังคงเป็นภาคส่วนที่สำคัญในภาคเหนือ ยิ่งไปกว่านั้นชาวเหนือยังมีการลงทุนอย่างมากในระบบการขนส่งที่กว้างขวางและหลากหลาย ซึ่งรวมถึงคลอง, ถนน, เรือกลไฟและทางรถไฟ ลงทุนในอุตสาหกรรมการเงิน เช่นธนาคารและประกันภัย และในเครือข่ายการสื่อสารขนาดใหญ่ที่ให้บริการหนังสือพิมพ์, นิตยสาร และหนังสือราคาไม่แพง พร้อมกับบริการโทรเลข
ในทางตรงกันข้ามเศรษฐกิจภาคใต้มีพื้นฐานมาจากฟาร์มขนาดใหญ่ (สวน) ที่ผลิตพืชเพื่อการค้า เช่น ฝ้ายและอาศัยแรงงานทาสเป็นกำลังหลัก. แทนที่จะลงทุนในโรงงานหรือทางรถไฟตามที่ชาวเหนือทำ ชาวใต้ลงทุนเงินของพวกเขาในเรื่องทาสและให้ความสำคัญยิ่งกว่าในที่ดิน ราคาฝ้ายซึ่งเป็นพืชที่สำคัญทางทิศใต้พุ่งสูงขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 2390 และมูลค่าของทาสซึ่งเป็นทรัพย์สมบัติ ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในปีพ. ศ. 2403 ความมั่งคั่งของคนผิวขาวทางใต้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของชาวเหนือและ 3/5 ของบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศ คือชาวใต้ ชาวเหนือขับเคลื่อนโดยความรู้สึกด้านคุณธรรม มีความสนใจในการปกป้องแรงงานอิสระ ทาสจึงเป็นสิ่งที่จะต้องกำจัดให้สิ้นซาก
ชาวใต้ชาวผิวขาวกลัวว่าการจำกัดการขยายตัวของทาสจะทำให้สถาบันทาสล่มสลาย ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาทั้งสองฝ่ายเริ่มแบ่งขั้วกันมากขึ้นและนักการเมือง ก็ไม่สามารถที่จะระงับข้อพิพาทผ่านการประนีประนอมได้ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่ออับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln) ผู้สมัครของพรรครีพับลิกัน ที่มีแนวคิดต่อต้านการมีทาส (antislavery) อย่างชัดเจนชนะการเลือกตั้ง ได้เป็นประธานาธิบดี ในปี พ.ศ. 2403 รัฐ 7 รัฐทางใต้ (รัฐแคโรไลนาใต้ (South Carolina), มิสซิสซิปปี (Mississippi), ฟลอริดา (Florida), แอละแบมา (Alabama), จอร์เจีย (Georgia), หลุยส์เซียนา (Louisiana) และเท็กซัส (Texus) ) จึงได้แยกตัวและจัดตั้งสมาพันธรัฐแห่งอเมริกา (Confederate States of America) ขึ้นภายใต้การนำของประธานาธิบดี เจฟเฟอร์สัน เดวี่ส์ (Jefferson Davis) ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากสถาบันทางทหารของสหรัฐ (U.S. Military Academy) และเป็นวีรบุรุษในสงครามเม็กซิกัน-อเมริกัน (Mexican-American War)
เหตุแห่งสงคราม
ประการที่ 1 เกิดความขัดแย้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของฝ่ายมลรัฐทางภาคเหนือ และฝ่ายมลรัฐทางภาคใต้ ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจน คือเศรษฐกิจของฝ่ายทางภาคใต้ขึ้นอยู่กับเกษตรกรรมเป็นหลักที่สำคัญได้แก่ ยาสูบ ฝ้าย ข้าวและน้ำตาล ผลผลิตเหล่านี้ต้องส่งไปขายยังต่างประเทศ ส่วนเศรษฐกิจของฝ่ายมลรัฐทางภาคเหนือมีการทำเกษตรกรรมบ้าง และมีอุตสาหกรรมทั้งหนักและเบา ซึ่งแรงงานที่ใช้เป็นพวกกรรมกร (ไม่ใช่ทาส) ผลผลิตทางอุตสาหกรรมของมลรัฐภาคเหนือ จึงต้องการตลาดภายในประเทศ ทำให้มลรัฐภาคใต้เสียผลประโยชน์ การซื้อขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทางภาคใต้ต้องเผชิญกำแพงภาษีของต่างประเทศทำให้ได้รับผลกระทบ 2 ด้าน
ประการที่ 2 มลรัฐภาคใต้ใช้แรงงานจากทาสเป็นสำคัญซึ่งเป็นวิถีชีวิตของชาวภาคใต้ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และความเป็นหน้าเป็นตาทางสังคม มลรัฐทางภาคเหนือโจมตีการใช้แรงงานทาสว่าเป็นเรื่องผิดศีลธรรม
ดูเหมือนว่า 23 รัฐที่ยังคงอยู่ในสหภาพ (Union) มีคนมากกว่าจำนวนคนใน 11 รัฐทางใต้ที่แยกตัวออกไป คือ มีประมาณ 21 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือ เมื่อเทียบกับ 9 ล้านคนในภาคใต้ ซึ่งประมาณ 4 ล้านคนเป็นทาส นอกจากนี้ทางเหนือยังเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตมากกว่า 100,000 แห่งเทียบกับ 18,000 แห่ง อยู่ทางทิศใต้ของแม่น้ำโปโตแมคและมีทางรถไฟ 70% อยู่ในสหภาพ
จุดเริ่มต้นของสงคราม
ในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 12 เมษายน 2404 พวกกบฏสมาพันธรัฐก็เปิดฉากโจมตีค่ายทหารที่ฟอร์ตซัมเตอร์ (Fort Sumter) ปากทางเข้าสู่ท่าเรือชาร์ลสตัน (Charleston) ในรัฐเซาท์แคโรไลนา (South Carolina) ซึ่งเป็นการเผชิญหน้าครั้งแรกของสงครามนองเลือดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา หลังจากการทิ้งระเบิด 34 ชั่วโมง พ. ต.โรเบิร์ต แอนเดอร์สัน (Maj. Robert Anderson) กับทหารประมาณ 85 นายยอมจำนนให้กับกองกำลังสมาพันธรัฐจำนวน 5,500 นายที่ปิดล้อม ภายใต้การนำของนายพล พี.จี.ที. โบริการ์ด (P.G.T. Beauregard)
นายพล พี.จี.ที. โบริการ์ด (P.G.T. Beauregard)
ประธานาธิบดีลินคอล์น ได้เรียกกำลังพล 75,000 คน ดำเนินการปิดล้อมท่าเรือของฝ่ายฝ่ายสมาพันธรัฐเป็นเวลาสามเดือน เขายืนยันว่าฝ่ายสมาพันธรัฐไม่ได้ประกอบขึ้นเป็นประเทศที่มีอำนาจอธิปไตยที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่กลับเป็นรัฐกบฏ นอกจากนี้เขายังได้มอบหมายให้รัฐมนตรีคลังให้เงินช่วยเหลือ 2 ล้านเหรียญสหรัฐในการดำเนินการ แต่ก่อนหน้านี้ฝ่ายสมาพันธรัฐก็ได้มีการเรียกระดมทหาร 100,000 คน เข้าประจำการเป็นเวลาอย่างน้อยหกเดือนและในไม่ช้าตัวเลขนี้ก็เพิ่มขึ้นเป็น 400,000 คน
เมื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของทั้งสองฝ่ายแล้วในด้านพื้นที่ทั้งสองฝ่ายต่างมีพื้นที่หรือดินแดนที่ใกล้เคียงกัน แต่หากเปรียบเทียบด้านกำลังคน และทรัพยากรธรรมชาติตลอดจนเทคโนโลยีแล้ว มลรัฐทางภาคเหนือได้เปรียบกว่ามลรัฐทางภาคใต้เป็นอย่างมาก แต่มลรัฐทางภาคใต้มีผู้นำทางทหารที่มีความสามารถคือ นายพล โรเบิร์ต อี. ลี (Robert E. Lee) นอกจากนี้ทหารทางมลรัฐภาคใต้มีขวัญกำลังใจและมีความเด็ดเดี่ยวมากกว่าทหารของมลรัฐทางภาคเหนือ
ส่วนมลรัฐทางฝ่ายเหนือนั้นประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์น ใช้เวลาอยู่หลายปีกว่าจะได้นายพลผู้เก่งกาจมาบัญชาการ ชื่อว่า นายพล ยูลิซิส ซิมป์สัน แกร๊นท์ (Ulysses S. Grant) เป็นผู้บังคับบัญชาการทหารที่มีความสามารถเหนือกว่านายพลโรเบิร์ต อี.ลี. จึงสามารถพลิกสถานการณ์ความเสียเปรียบทางการทหารมาเป็นความได้เปรียบและทำให้มลรัฐทางภาคเหนือได้รับชัยชนะในการทำสงครามกลางเมืองในที่สุด
จุดจบของสงคราม
สงครามกลางเมืองยุติลงในวันที่ 9 เมษายน ปี ค.ศ. 1865 (พ.ศ. 2408) เมื่อนายพล โรเบิร์ต อี. ลี (General Robert E. Lee) ยอมแพ้ต่อนายพล ยูลิสซีส ซิมป์สัน แกร๊นต์ (Ulysses S. Grant) ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพฝ่ายสหภาพ ซึ่งเป็นรองประธานาธิบดีลินคอล์น ที่ศาลแอพโพแมททอกส์ (the Appomattox Court House) ในรัฐเวอร์จิเนีย (Virginia)
นายพล โรเบิร์ต อี. ลี (General Robert E. Lee)
นายพล ยูลิสซีส ซิมป์สัน แกร๊นต์ (Ulysses S. Grant)
ศาลแอพโพแมททอกส์
(the Appomattox Court House)
กำลังพลและการสูญเสีย
ฝ่ายสหภาพมีกองกำลัง 2,200,000 คน ฝ่ายสมาพันธรัฐ มีกองกำลัง 750,000 - 1,000,000 คน
ฝ่ายสหภาพมีจำนวนผู้บาดเจ็บ/ล้มตาย 828,000 คน ฝ่ายสมาพันธรัฐมีผู้บาดเจ็บ/ล้มตาย 864,000 คน
สงครามกลางเมือง-การสู้รบที่มานาสซาส (American Civil War-Battle Of Manassas)
เมืองมานาสซาสอยู่ห่างจากกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 25 ไมล์ การสู้รบที่นี่ฝ่ายสหภาพใช้ชื่อว่าสงครามครั้งแรกของกระทิงแล่น (The First Battle of Bull Run) แต่ฝ่ายสมาพันธรัฐใช้ชื่อว่าการสู้รบครั้งแรกที่มานาสซาส (the First Battle of Manassas)
สงครามกลางเมืองที่เกาะเจมส์ (American Civil War- Battle of James Island) ในรัฐแคโรไลน่าใต้ (South Carolina) รู้จักกันในนามว่า "การต่อสู้ครั้งสุดท้ายที่ชาร์ลสตัน-Charleston"
อ้างอิงจาก: https://youtu.be/BP_Mm3B6wjw