อย่ามองข้ามโซเดียม อันตรายจาก'ผงชูรส'
เมื่ออาทิตย์ที่แล้วมีคลิปกรณีแม่ค้าเทผงชูรสใส่อาหารแซ่บนัวปริมาณกว่าครึ่งถุง สร้างความตกอกตกใจให้กับผู้บริโภคอย่างเราๆเป็นอย่างมาก หลายคนก็วิพากวิจารณ์กันว่าผงชูรสไม่อันตราย ไม่เคยมีงานวิจัยว่าทานเยอะแล้วผมร่วง แต่อย่ามองข้ามอันตรายจาก "โซเดียม" ที่อยู่ในผงชูรส
"ผงชูรสมีโซเดียมเหมือนเกลือ เกลือใส่มากยิ่งเค็มเราก็หยุดใส่
แต่ผงชูรสอันตรายกว่าตรงที่ไม่มีรสเค็ม เราก็ยิ่งใส่แบบไม่รู้ตัว"
ทำไมยิ่งใส่ยิ่งนัว??
ชื่อทางการของผงชูรสคือ โมโนโซเดียมกลูตาเมต เมื่อละลายน้ำจะแตกตัวเป็น โซเดียม 12.2% + กลูตาเมต 78.2% (ตามชื่อ) + น้ำ 9.6 %
กลูตาเมต จะไปกระตุ้นต่อมรับรส (หวาน เค็ม เปรี้ยว ขม) ให้มีความรู้สึกชัดเจนมากยิ่งขึ้น และทำให้เกิดรสชาติเฉพาะตัวที่เรียกว่า รสอูมามิ/รสนัว/รสอร่อย
กลูตาเมตเป็นเกลือโซเดียมของกรดอะมิโน ซึ่งไปกระตุ้นต่อมรับรสเนื้อสัตว์ ทำให้รู้สึกอร่อย (ลองคิดถึงแกงจืดผักกาดขาวที่ใส่แต่ผักกาดขาว กับอีกถ้วยใส่หมูสับด้วย เราจะรู้สึกว่าน้ำซุปที่มีหมูสับจะอร่อยกว่า)
กินมากเกิน จะเกิดอันตรายจากโซเดียม
- หากมีโซเดียมในร่างกายมาก ทำให้เลือดข้น ร่างกายจะดึงน้ำจากเซลล์ออกมาในกระแสเลือด ทำให้ความดันโลหิตสูงและตัวบวม (บวมโซเดียม) ทั้งใบหน้า มือ เท้า ขา หน้าท้อง และยังทำให้ผิงแห้งและเหี่ยว เสียความชุ่มชื่น
- ไตทำงานหนัก เสี่ยงโรคไต
- หัวใจทำงานหนัก
ปริมาณโซเดียมที่แนะนำต่อวัน 2 กรัมหรือ2,000 มก.ต่อวัน
วิธีหลีกเลี่ยงโซเดียม
1) หลีกเลี่ยงผงชูรสและผงปรุงรส
2) หลีกเลี่ยงความจัดจ้านของรสชาติอาหาร
3) รับประทานอาหารสด หลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่สารกันบูด เพราะมีโซเดียมอยู่ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบ
ป.ล.อาหารแช่แข็ง ไม่มีสารกันบูด (อ่านเพิ่มเติม https://board.postjung.com/1163856 )
4) หลีกเลี่ยงการซดน้ำซุป เพราะมีผงปรุงรสมาก
5)สังเกตปริมาณโซเดียมจากข้อมูลโภชนาการข้างผลิตภัณฑ์ (ไม่ควรเกิน 600 มก./วัน) สำหรับแต่ละมื้อ
ก็คือขอสรุปอีกครั้งว่าตัวผงชูรสเองไม่มีอันตราย ไม่ได้ทำให้ผมร่วง ใจสั่น (ยกเว้นผู้ที่แพ้ผงชูรส จะมีแสดงอาการแพ้ภายใน 72 ชม.) แต่อย่างที่บอกข้างต้นว่ามีส่วนประกอบของโซเดียมอยู่พอสมควร ซึ่งหากใส่ปริมาณไม่มากเกินไปก็ไม่มีปัญหา แต่อย่าลืมว่าอาหารทุกอย่างที่เราทานเข้าไปมีโซเดียมอยู่แล้ว ขอยกตัวอย่างอาหารโดยข้อมูลจาก สสส.
ปริมาณโซเดียม
ขนมปัง 1 แผ่น = 120-150 มิลลิกรัม (มก.)
ไข่ไก่/ไข่เป็ด 1 ฟอง = 110-120 มก.
ถั่วอบกรอบ 2 ช้อนกินข้าว = 120 มก.
ข้าวไข่เจียว 1 จาน = 362 มก.
ข้าวผัดหมู 1 จาน = 613 มก.
ข้าวหมูกอกรอบ 1จาน =700 มก.
ข้าวหมูแดง 1 จาน = 812 มก.
ดังนั้น โซเดียมที่กินเข้าไปต่อวันก็พอสมควรแล้ว หากเรายิ่งทานผงชูรสเพิ่มเข้าไปอีกยิ่งจะได้รับโซเดียมมากขึ้นไปอีก เมนูทางเลือกหลายๆ อย่างช่วงนี้จึงเป็นแนวไม่ใส่ผงชูรส หรือจะใส่ปริมาณพอเหมาะเพื่อเพิ่มรสชาติก็ตามแต่สะดวกจ้า