#ซาวเสียงกันหน่อย เห็นด้วยไหม!!?? เมื่อล่าสุด The Star เว็ปไซต์สื่อใหญ่ของมาเลเซียเสนอข่าว "Mass transit not keeping up with ‘poor’ reality" โดยระบุว่า การก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนในเมืองหลวงและปริมณฑลของไทยอาจไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนกลุ่มผู้มีรายได้น้อยมากนัก โดยอ้างอิงความเห็นของ สุเมธ องกิตติกุล นักวิจัยด้านการคมนาคม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ที่กล่าวว่า แม้รถไฟฟ้าจะขยายออกไปถึงชานเมือง แต่คนที่อยู่บริเวณนั้นอาจไม่ใช้งานเพราะค่าโดยสารแพงเกินไป
Source : https://www.naewna.com/likesara/414519?fbclid=IwAR1tui46Ykq5wCRZvaPMNiLIFFzLPcaRWKcW0xfk8lNwA1GON3JCHNJhwLQ
อนึ่ง ปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ที่เปิดให้บริการแล้วมีระยะทาง 120 กิโลเมตร และอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 173 กิโลเมตร เช่น ในส่วนของการรถไฟแห่งประเทศไทย แบ่งเป็นสายบางซื่อ - รังสิต กับบางซื่อ - ตลิ่งชัน ในส่วนของ MRT มีสายหัวลำโพง - บางแค กับบางซื่อ - ท่าพระ ทั้งนี้ กทม.เคยวางนโยบายไว้ว่า ค่าโดยสารรถไฟฟ้าตลอดสายไม่ควรเกิน 65 บาท ซึ่งคาดว่าคงมาจากการคำนวณพบว่าหากไม่จำกัดเพดานไว้ค่าโดยสารอาจสูงถึง 158 บาท แต่ถึงอย่างไรก็ตาม นักวิชาการจาก TDRI รายนี้ก็มองว่า 65 บาทเป็นค่าโดยสารที่ค่อนข้างแพงในสายตาผู้มีรายได้น้อยอยู่ดี เช่น เดินทางไป-กลับอยู่ที่ 130 บาท เมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำ 325 บาทต่อวัน ทั้งนี้ ยังไม่รวมค่าโดยสารการต่อยานพาหนะอื่นๆ อย่างรถเมล์หรือมอเตอร์ไซค์รับจ้างจากบ้านไปยังสถานีรถไฟฟ้าที่ใกล้ที่สุดเพื่อนั่งรถไฟฟ้าไปทำงาน.