วีรบุรุษไทยในตำนาน นาย ขนมต้ม
ประวัติของนาย ขนมต้ม
วีรบุรุษผู้นี้ เกิดวันอังคาร เดือนยี่ ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๒๙๓ ซึ่งอยู่ในสมัยครั้งกรุงศรีอยุธยา เขาเกิดที่บ้านกุ่ม ในปัจจุบันคือ ต.บ้านกุ่ม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อนายเกิด มารดาชื่อนางอี่ มีน้องสาว ๑ คนชื่อนางเอื้อย และถูกพม่าฆ่าตายเมื่อยัง เล็กๆ ชีวิตของนายขนมต้มเกิดมาบนความลำบากตั้งแต่เด็ก ต้องอาศัยอยู่ในวัด เมื่ออายุได้ประมาณ ๑๐ ขวบ ก็ต้องมาเสียพ่อแม่ไปอีก เนื่องจากถูกพม่าฆ่าตายเช่นกัน
นายขนมต้มเริ่มสนใจ และฝึกมวยอย่างเอาจริงเอาจังตั้งแต่เริ่มเป็นหนุ่ม จนมีวิชาเก่งกล้าสามารถ และยังมีจิตใจอาจหาญ ทระนง เวลาผ่านล่างเลยจนเข้าสู่สมัยของพระเจ้าเอกทัศน์ กรุงศรีอยุธยาถูกศัตรูตีจนแตกและต้องแพ้พ่าย ทำให้ชาวเมืองส่วนใหญ่ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยศึกยังเมืองพม่า และนี่เองที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ประวัติสร้างชื่อเสียงให้กับกรุงศรีอยุธยา ดังที่มีข้อความปรากฏเอาไว้ว่า
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรามีนักมวยไทยที่เก่งกาจ นามว่า นายขนมต้ม ได้มีโอกาสออกไปแสดงฝีไม้ลายมือถึงเมืองพม่า ศิลปะการต่อสู้ และชั้นเชิงชกมวยของนายขนมต้มนั้นได้ถูกยกให้เป็นผู้ครูแห่งวงการมวยตลอดกาล ณ. เมืองพม่า ในวันที่ ๑๗ มีนาคม ตามที่บันทึกในพงศาวดารกล่าวเอาไว้ว่า เมื่อพระเจ้าอังวะผู้ปกครองเมืองพม่า ได้โปรดให้ปฏิสังขรณ์ และทำการก่อเสริมพระเจดีย์เกศธาตุในเมืองร่างกุ้งครั้งใหญ่ จนงานทั้งหมดสำเร็จลงในปี พ.ศ.๒๓๑๗ ก็ได้ถือเอาวันฤกษ์งามยามดี วันที่ ๑๗ มีนาคม จัดงานทำพิธียกฉัตรใหญ่ไว้บนยอดเป็นปฐมฤกษ์ แล้วก็ทรงได้เปิดงานมหกรรมเฉลิมฉลองอย่างมโหฬาร
ภายในงานนั้นมีการละเล่นมากมาย และมีการเปรียบมวยเป็นจุดเด่น โดยขุนนางพม่าผู้หนึ่งได้กราบทูลกับ พระเจ้าอังวะ ว่า "มีนักมวยไทยผู้หนึ่งฝีมือดียิ่งนัก" พระเจ้าอังวะจึงรี
บสั่งให้เอาตัว นายขนมต้ม เข้ามาลองเปรียบมวยพม่าดูว่าจะเก่งจริงสมคำกล่าวหรือไม่ โดยตลอดการชก พระเจ้าอังวะ ได้รับชมอยู่หน้าพระที่นั่งตลอดเวลา และเหตุการณ์ประวัติศาสตร์อันน่าภาคภูมิใจของชาวสยามจึงได้เกิดขึ้น เมื่อคู่ต่อสู้ของนายขนมต้มเปรียบมวยไม่ทันได้ครับยกแรกก็ล้มคว่ำ พ่ายแพ้อย่างสิ้นท่า และเมื่อส่งนักมวยพม่าเข้ามาอีกก็พ่ายแพ้อีกนับได้เก้าคนสิบคน ไม่มีใครสามารถสู้นายขนมต้นได้ จนพระเจ้าอังวะยกพระหัตถ์ตบพระอุระ แล้วตรัสสรรเสริญนายขนมต้มว่า "ไทยนี้มีพิษทั่วตัว แม้แต่มือเปล่าไม่มีอาวุธใดเลย สู้ได้คนเดียวก็ชนะได้ถึงเก้าคนสิบคน" ฉะนั้น ในวันที่ ๑๗ มีนาคม บรรดาเหล่านักมวยไทยรุ่นต่อมาจึงยกให้เป็นวันมีชัยของนายขนมต้ม ตราบจนถึงปัจจุบัน