ฝิ่นในประเทศไทยและความเป็นมาของฝิ่น
ประวัติความเป็นมาของฝิ่นใน
ฝิ่นเข้ามาในประเทศไทยในสมั
แม้ว่าบทลงโทษจะสูง แต่การลักลอกซื้อขายและเสพฝ
ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจ
"ห้ามอย่าให้ผู้ใดสูบฝิ่น กินฝิ่น ซื้อฝิ่นขายฝิ่น และเป็นผู้สมซื้อสมขายเป็นอ
ในรัชกาลที่ 3 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่ง
พระองค์จึงได้ทรงมีบัญชาให้
ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้
อันดับที่ 5 ของรายได้ประเภทต่าง ๆ และได้มีความพยายามห้ามคนไท
ใน พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติซึ่งปกครองประเทศ
จุดเริ่มต้นของฝิ่น
ข้อมูลในเว็บไซต์ของ “หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ” ซึ่งตั้งอยู่ใน จ. เชียงราย ระบุว่าประวัติศาสตร์ของฝิ่นเริ่มขึ้นตั้งแต่ประมาณ 3400 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อชาวไร่ทางตอนใต้ของเมโสโปเตเมียเพาะปลูกพืชชนิดนี้ นับตั้งแต่นั้นผู้คนก็ได้เพาะปลูกและใช้ฝิ่นเป็นสารเสพติด และเป็นยารักษาโรค
ฝิ่นมีผลผลกระทบต่อทวีปเอเชียอย่างมาก อังกฤษได้กำไรมหาศาลจากการค้าฝิ่น และเพราะต้องการรักษาผลประโยชน์นี้ไว้จึงทำให้เกิดสงครามกับจีนถึงสองครั้ง ในระหว่างปี พ.ศ. 2343-2442 เว็บไซต์ houseofopium.com เปิดเผยว่าฝิ่นซึ่งมักเรียกกันว่า “ทองคำสีดำ” เป็นสิ่งที่มีค่ามากจนคนสมัยนั้นใช้ทองคำแทนเงินในการซื้อ-ขายฝิ่น ในช่วงปลายปีระหว่าง พ.ศ. 2443-2542 การค้าฝิ่นทำให้เกิดสิ่งที่รู้จักกันในนาม “สามเหลี่ยมทองคำ”
รังฝิ่นจีน
สามเหลี่ยมทองคำ เป็นชื่อที่บรรดาพ่อค้าฝิ่นตั้งให้กับบริเวณที่มีลักษณะเป็นพื้นที่สามเหลี่ยมบรรจบกันและรอยต่อระหว่างสามประเทศ ได้แก่ ไทย ลาวและพม่า ดินแดนสามเหลี่ยมทองคำครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 100,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเทือกเขา ตรงกลางของสามเหลี่ยมทองคำมีแม่นํ้าสองสายไหลมาบรรจบกัน คือ แม่นํ้าโขงและแม่นํ้ารวก
จักรพรรดิ์หย่งเจิ้น
แม้ในปัจจุบัน “ยาเสพติดจากดินแดนสามเหลี่ยมทองคำเข้าสู่กัมพูชาผ่านทางแนวชายแดนไทย ลาวและพม่า จากนั้นจึงเดินทางผ่านกัมพูชาเข้าสู่ประเทศไทยและเวียดนามเพื่อส่งออกไปยังภูมิภาคอื่น” ตามข้อมูลในหนังสือ ประเด็นข้อตกลง เรื่องมุมมองของเอชีย ในเรื่องที่ท้าทายความมั่นคงข้ามชาติ ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2553 โดยศูนย์การศึกษาเพื่อความมั่นคงแห่งเอเชียแปซิฟิก หนังสือเล่มนี้ยังระบุด้วยว่าประเทศที่มีพรมแดนติดกับสามเหลี่ยมทองคำมีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการผลิตและค้ายาเสพติด ตัวอย่างเช่น “ห้องปฏิบัติการลับที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรอาชญากรรมผลิตยาผิดกฎหมายในพื้นที่ที่มีประชากรเบาบางของกัมพูชา” นอกจากนี้ชายแดนที่เต็มไปด้วยช่องโหว่ยังดึงดูดให้นักลักลอบค้ายาใช้กัมพูชาเป็นเส้นทางขนยาเสพติด
ฝิ่นดิบ
รายงานยุทธศาสตร์การควบคุมสารเสพติดระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2553 ของกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา ระบุว่าประเทศไทยเป็น “จุดพักของสารกระตุ้นประสาทในกลุ่มแอมเฟตามีนก่อนที่จะส่งออกไปยังประเทศต่างๆ” ทั้งนี้ยาบ้าจากพม่าจะถูกลักลอบขนข้ามชายแดนทางภาคเหนือเข้าสู่ประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่เชื่อได้ว่ายาเสพติดถูกขนออกจากแหล่งผลิตในพม่าผ่านทางลาวและข้ามแม่นํ้าโขงเข้าสู่ประเทศไทย นอกจากนี้นักค้ายาเสพติดจะขนยาลงทางใต้ผ่านลาวเข้าสู่กัมพูชาแล้วผ่านเข้าสู่ประเทศไทยทางพรมแดนไทย-กัมพูชา
ตามรายงานระบุว่าการลักลอบขนส่งยาบ้าจากสามเหลี่ยมทองคำมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ในปี พ.ศ. 2551 ทางการจีนยึดยาบ้านํ้าหนักประมาณ 2.4 ตันได้ในมณฑลยูนนาน
นอกจากนี้ ตามรายงานยังเปิดเผยว่า จีนและอินเดียเป็นผู้ผลิตอีเฟดรีนและซูโดอีเฟดรีนอย่างถูกกฎหมายรายใหญ่ แต่สารทั้งสองชนิดนี้ถูกนำไปใช้อย่างผิดกฎหมายในการผลิตยาบ้า
ความเป็นมา ของฝิ่นในเอเชีย
พ.ศ. 2143-2242 ผู้ที่อาศัยในเปอร์เซียและอินเดียดื่ม และรับประทานอาหาร ที่มีฝิ่นเป็นส่วนผสมเพื่อความบันเทิง เหล่าพ่อค้าชาวโปรตุเกสเป็นผู้นำฝิ่นอินเดียเข้าสู่ประเทศจีน
สงครามฝิ่นครั้งแรก
พ.ศ. 2243-2342 ชาวดัทช์ส่งออกฝิ่นอินเดียสู่ประเทศจีนและเกาะต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้าเหล่านี้ยังเป็นผู้แนะนำชาวจีน ให้รู้จักการสูปฝิ่นโดยใช้กล้องยาสูบ
พ.ศ. 2272 จักรพรรดิ์หย่งเจิ้นแห่งจีน สั่งห้ามการสูปฝิ่น และห้ามขายฝิ่นในประเทศ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตให้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์
สงครามฝิ่นครั้งที่สอง
พ.ศ. 2310 การนำเข้าฝิ่นสู่ประเทศจีนของบริษัทบริติช อีสต์ อินเดีย มีปริมาณสูงถึง 2,000 หีบต่อปี หีบหนึ่งๆ จะบรรจุฝิ่นดิบได้ถึง 60 กิโลกรัม
พ.ศ. 2354 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ หล้านภาลัย ทรงสั่งห้ามการขายและการสูบฝิ่น
พ.ศ. 2382 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดโทษประหารชีวิตสำหรับผู้ลักลอบค้าฝิ่นรายใหญ่ อย่างไรก็ตาม ปัญหาฝิ่นก็ได้แพร่หลายเกินกว่าที่ทางการจะควบคุมได้
พ.ศ. 2385 อังกฤษชนะจีนในสงครามฝิ่นครั้งแรกที่เกิดขึ้นในช่วงปีพ.ศ. 2382-2385 จีนยกฮ่องกงให้กับอังกฤษ หลังจากที่อังกฤษบังคับให้จีนคงการเปิดเส้นทางฝิ่นไว้ ฮ่องกงจึงกลายเป็นจุดหลักสำหรับการส่งฝิ่นอินเดียต่อไปสู่ตลาดจีนที่กว้างใหญ่
การผลิตฝิ่นในอินเดีย
พ.ศ. 2399 อังกฤษและฝรั่งเศสต่อสู้กับจีนในสงครามฝิ่นครั้งที่สองระหว่างปีพ.ศ. 2399-2403 ผลจากสงครามครั้งนี้ทำให้การนำเข้าฝิ่นกลายเป็นสิ่งถูกกฎหมาย ในปีพ.ศ. 2403 จีนก็เริ่มปลูกฝิ่นเองบนพื้นที่มหาศาล
พ.ศ. 2441 นายไฮน์ดริก เดรสเซอร์ ซึ่งทำงานให้กับบริษัทไบเออร์ ที่เมืองเอลเบอร์เฟลด์ ประเทศเยอรมนี ค้นพบว่าถ้าเอามอร์ฟีนไปเจือจางด้วยอะซิติล จะทำให้ได้ตัวยาที่ไม่มีผลข้างเคียง ไบเออร์จึงเริ่มผลิตยาดังกล่าวและตั้งชื่อว่า "เฮโรอีน”ซึ่งมาจากคำว่า Heroisch ในภาษาเยอรมันที่แปลว่า วีรบุรุษ
นักสูบฝิ่นชาวม้ง
พ.ศ. 2443-2542 สมาคมการกุศลเซนต์เจมส์ในสหรัฐฯ ส่งเฮโรอีนฟรีทางไปรษณีย์แก่คนติดมอร์ฟีนที่พยายามหาทางเลิก อังกฤษและฝรั่งเศสประสบความสำเร็จในการควบคุมการผลิตฝิ่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตามในที่สุดสามเหลี่ยมทองคำก็มีบทบาทสำคัญในการค้าฝิ่นที่มีกำไรมหาศาลระหว่างปี พ.ศ. 2483-2492
พ.ศ. 2453 หลังจาก 150 ปีที่จีนล้มเหลวในการกำจัดฝิ่นให้หมดไปจากประเทศ ในที่สุดจีนก็ประสบความสำเร็จในการโน้มน้าวอังกฤษให้ยกเลิกการค้าฝิ่นระหว่างอินเดียกับจีน
ชาวไร่ไหล่เขาชาวพม่า
พ.ศ. 2483-2492 สงครามโลกครั้งที่สองตัดเส้นทางการค้าฝิ่นจากอินเดียและเปอร์เซีย เนื่องจากเกรงว่า จะสูญเสียความเป็นเจ้าตลาดฝิ่น ฝรั่งเศสจึงสนับสนุนให้เกษตกรชาวม้ง ที่อาศัยอยู่ตามเทือกเขาทางภาคใต้ของจีนขยายพื้นที่เพาะปลูกฝิ่น
การบุกเข้ายึดโรงงาน
พ.ศ. 2491 พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง การเพาะปลูกและค้าฝิ่นเริ่มเฟื่องฟูในรัฐฉาน
พ.ศ. 2493-2502 สหรัฐฯ พยายามจำกัดการแพร่กระจายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเชีย โดยการผูกสัมพันธ์กับบรรดาชนเผ่าและผู้นำทางทหารต่างๆ ในบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ทำให้สามารถเข้าถึงและมีการคุ้มครองตามแนวชายแดนทางตอนใต้ของจีน พรรคชาตินิยมของจีน (ก๊กมินตั๋ง) ถอยร่นออกมาอยู่ในพื้นที่รอบๆ สามเหลี่ยมทองคำหลังจากถูกกองทัพแดง ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนปราบปราม ในการหาเงินทุนสนับสนุนภารกิจต่อต้านการรุกรานของลัทธิคอมมิวนิสต์ ก๊กมินตั๋งชักชวน ชาวไร่ชาวนาที่เป็นชนเผ่าในพม่าให้หันมาปลูกฝิ่นมากขึ้น ยังผลให้ปริมาณฝิ่นจากพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำเฉพาะส่วนที่อยู่ในพื้นที่ประเทศพม่าเพิ่มขึ้นถึง 10-20 เท่า จาก 30 ตันเป็น 300-600 ตัน
ขุนส่า
พ.ศ. 2503-2512 พ่อค้าฝิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งโรงงานสกัดเฮโรอีนขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงปีพ.ศ. 2503-2512 บนเทือกเขาในลาว ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามแม่นํ้าโขงกับ อ. เชียงของ ในประเทศไทย หลังจากนั้นก็มีการสร้างโรงงานเพิ่มบริเวณชายแดนไทย-พม่า
พ.ศ. 2515 ขุนส่า ผู้นำชนกลุ่มน้อยชาวพม่าควบคุมการส่งออกเฮโรอีนจากสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเป็นแหล่งผลิต ฝิ่นดิบ ที่มีบทบาทสำคัญในการค้ายาเสพติด
ซอ หม่อง ประธานรัฐบาลทหารจุนตา
พ.ศ. 2521 การค้าเฮโรอีนจากเอเชียสะดุดลง ทำให้พ่อค้ายาเสพติดต้องเสาะหาแหล่งผลิตฝิ่นดิบแห่งใหม่ และได้พบกับ เซียร่า มาเดร ในเม็กซิโก “โคลนจากเม็กซิโก” สามารถแทนที่เฮโรอีน “สีขาวของจีน” ได้เพียงแค่ชั่วคราวจนถึงปี พ.ศ. 2521 เท่านั้น ในปีเดียวกันนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ และเม็กซิโกได้โปรยสารเคมีสีส้มลงบนพื้นที่เพาะปลูกฝิ่นในเซียร่ามาเดร ทำให้ปริมาณ “โคลนจากเม็กซิโก” ในสหรัฐฯ ลดลง เพื่ออุดช่องว่างในตลาด ดินแดนพระจันทร์เสี้ยวสีทอง ในอิหร่าน อัฟกานิสถานและปากีสถานจึงผลิตและค้าเฮโรอีนผิดกฎหมายมากขึ้น
พ.ศ. 2531 การผลิตฝิ่นมีการเพิ่มปริมาณมากขึ้นในสมัยการปกครองของกำลังทหารพม่า ที่มีชื่อว่า กฎหมายและข้อบังคับ ของคณะกรรมการพื้นฟูการสั่งซื้อ ทำให้ทางสหรัฐฯ สงสัยว่าเฮโรอีนนํ้าหนัก1088 กิโลกรัมที่จับได้ในเมืองไทยขณะกำลังจะลงเรือไปนิวยอร์กน่าจะมีแหล่งผลิตอยู่ที่สามเหลี่ยมทองคำ
พ.ศ. 2536 กองทัพไทยโดยการสนับสนุนของหน่วยปราบปรามยาเสพติดของสหรัฐฯ ดำเนินปฏิบัติการทำลายไร่ฝิ่นจำนวนหลายพันไร่ในบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ
พ.ศ. 2538 ปัจจุบันสามเหลี่ยมทองคำเป็นผู้นำในการผลิตฝิ่น โดยแต่ละปีสามารถผลิตฝิ่นได้มากถึง 2,500 ตัน ผู้เชี่ยวชาญด้านยาเสพติดของสหรัฐฯ ชี้ว่านักค้ายาเสพติดใช้เส้นทางใหม่ในการลำเลียงยาเสพติดโดยขนยาจากพม่าผ่านลาวเข้าสู่ตอนใต้ของจีน กัมพูชาและเวียดนาม เปรียบเทียบกับในปี พ.ศ. 2530 พม่าผลิตฝิ่นดิบได้ 836 ตัน แต่ในปี พ.ศ. 2538 ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 2,340 ตัน
พ.ศ. 2542 อัฟกานิสถานผลิตฝิ่นมากถึง 4,600 ตัน ทั้งนี้โครงการควบคุมยาเสพติดแห่งสหประชาชาติประมาณการว่า อัฟกานิสถานผลิตเฮโรอีนถึงร้อยละ 75 ของปริมาณเฮโรอีนทั่วโลก
พ.ศ. 2545 สำนักงานควบคุมยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ ประกาศว่าอัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ผลิตฝิ่นมากที่สุดในโลก
คิม จอง อิล
พ.ศ. 2546 ความพยายามของเกาหลีเหนือในการเจาะตลาดเฮโรอีนของออสเตรเลียด้วยการลักลอบค้าเฮโรอีนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐเริ่มประสบกับปัญหา
พ.ศ. 2549 สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติรายงานว่าในปี พ.ศ. 2549 อัฟกานิสถานจะผลิตฝิ่นได้มากถึง 6,100 ตัน ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 92 ของปริมาณฝิ่นทั่วโลก
ขุนส่า
พ.ศ. 2550 ขุนส่าราชายาเสพติด แห่งสามเหลี่ยมทองคำและอดีตผู้นำกลุ่มแบ่งแยกดินแดนรัฐฉานได้เสียชีวิต (พ.ศ. 2476-2550) ในยุคที่เขาเรืองอำนาจอาณาจักรยาเสพติดของขุนส่าผลิตและส่งออกเฮโรอีนประมาณ 1/4 ของปริมาณเฮโรฮีนทั้งหมดในตลาดโลก
พ.ศ. 2553 แม้ว่าการเพาะปลูกฝิ่นจะลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงสามปีที่ผ่านมา แต่พม่าก็ยังเป็นผู้ผลิตฝิ่นรายใหญ่ อันดับสองของโลกรองจากประเทศอัฟกานิสถาน โดยปีที่แล้วพม่าสามารถผลิตฝิ่นได้ 330 ตัน หรือร้อยละ 17 ของปริมาณฝิ่นทั้งหมด ตามข้อมูลใน “รายงานยาเสพติดโลกประจำปี พ.ศ. 2553” ของสหประชาชาติ
ไร่ฝิ่นอัฟกาน
ที่มา: บางส่วนจากหนังสือ ความเป็นมาของฝิ่น โดยมาร์ติน บูธ รวมทั้งข้อมูลเพิ่มเติมจากรายการ Frontline ของสถานีโทรทัศน์พีบีเอส สำนักข่าวเอเชียไทม์ออนไลน์ และสำนักข่าวเอเชียแปซิฟิกมีเดียเซอร์วิสเซส
แหล่งที่มาของภาพ: วิกิพีเดีย พัทยาเมล เวลล์คัมไลบรารี เอเจนซ์ ฟรานซ์-เพรส www.erowid.org เอเชียแม็กกาซีน แอสโซซิเอทเต็ด เพรส