อันดับประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในโลกประจำปี 2018
การฆ่าตัวตาย หรือ อัตวินิบาตกรรม เป็นการกระทำให้ตนเองถึงแก่ความตายอย่างตั้งใจ การฆ่าตัวตายมักเกิดจากภาวะซึมเศร้า ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตเภท ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง โรคพิษสุรา หรือการใช้สารเสพติด ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดเช่นความลำบากทางการเงิน หรือปัญหากับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็มีส่วนเช่นกัน ความพยายามป้องกันการฆ่าตัวตายหมายรวมถึงการจำกัดการฆ่าตัวตายด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ปืน และสารพิษ การรักษาอาการทางจิตและการใช้สารเสพติด และการปรับปรุงสถานะทางการเงิน แม้ว่าบริการที่ปรึกษาสายด่วนจะมีทั่วไป แต่แทบไม่มีหลักฐานว่าวิธีนี้จะมีประสิทธิภาพ
โดยทั่วโลกมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จปีละประมาณ 800,000 คน เฉลี่ย 1 คนในทุกๆ 40 วินาที มากกว่าตายจากสงครามและถูกฆ่าตายรวมกัน เกือบร้อยละ80 อยู่ในประเทศรายได้ต่ำ ถึงปานกลาง องค์การอนามัยโลกตั้งเป้าจะลดอัตราการเสียชีวิตลงร้อยละ 10 ภายในปี พ.ศ.2563
สถานการณ์ของประเทศไทย มีผู้พยายามทำร้ายตัวเองเพื่อฆ่าตัวตาย ประมาณ 53,000 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน กระจายอยู่ทุกชุมชน ส่วนใหญ่เป็นวัยแรงงาน ในปี 2559 มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จจำนวน 4,131 คน เป็นชายมากกว่าผู้หญิง 4 เท่าตัว อายุต่ำสุด 10 ปี สูงสุด 100 ปี
ส่วนใหญ่เป็นโสด ประเทศต้องสูญเสียเศรษฐกิจปีละกว่า 400 ล้านบาท ข่าวการฆ่าตัวตาย แต่ละครั้งกระทบต่อความมั่นคงและปลอดภัยในจิตใจแต่ละคน โดยเฉพาะกับคนใกล้ชิด
อัตราการฆ่าตัวตายมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก และนี่เป็นอีกครั้งที่ประเทศในทวีปเอเชียติด 6 อันดับแรกจากหัวตารางถึง 4 ประเทศในการจัดอันดับประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในโลกประจำปี 2018 โดย World Population Review ที่สำรวจและเก็บข้อมูลการฆ่าตัวตายใน 177 ประเทศทั่วโลก
ไทยอยู่อันดับที่ 28 มีอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 16 คนต่อประชากร 1 แสนคน นับเป็นประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในอาเซียน
แหล่งที่มา: ณรงค์กร มโนจันทร์เพ็ญ