หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

นอนกรน ภัยเงียบร้ายที่คุณต้องระวัง

เนื้อหาโดย Cho Chocobo

เชื่อว่าหลายคนคงประสบปัญหากับตัวเองหรือจากคนรอบข้างตัวคุณ ซึ่งอาการนอนกรนเป็นภัยร้ายที่หลายคนยังไม่รู้ ไม่ใช่โดนคนข้างถีบนะอันนั้นก็อีกเรื่องนึง วันนี้นี้เราจะมาพาทุกท่านได้ทราบว่านอนกรนมีอัตรายขนาดและควรป้องกันอย่างไร

 

นอนกรน คือภาวะที่มีเสียงแหบ ๆ หรือเสียงผิดปกติเกิดขึ้นระหว่างหายใจในขณะนอนหลับ เกิดขึ้นจากการถูกปิดกั้นของทางเดินหายใจบางส่วน และจะกรนดังมากขึ้นเมื่ออยู่ในท่านอนหงาย โดยการนอนกรนส่งผลต่อทั้งสุขภาพของผู้ที่นอนกรนเองและรบกวนบุคคลที่นอนข้าง ๆ นอนกรนพบได้มากในเพศชาย และจะมีอาการหนักขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งผู้ที่นอนกรนมาก ๆ มีความเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับ จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

 

โรคร้ายที่แฝงมากับการนอนกรน

1. อัมพฤกษ์ อัมพาต

2. โรคหัวใจ

3. ปวดศีรษะ

4. ภาวะหัวใจเสียจังหวะ

5. กรดไหลย้อน

6. ภาวะความดันหลอดเลือดแดงในปอดสูง

7. ระบบประสาทและสมอง

8. โรคสมองเสื่อม

9. โรคมะเร็ง

 

สาเหตุของนอนกรน

 

1. ทางเดินหายใจบริเวณจมูกถูกปิดกั้น พบได้ในผู้ป่วยภูมิแพ้ ผู้ป่วยไซนัสอักเสบ ผู้ป่วยริดสีดวงจมูก หรือผู้ที่มีโครงสร้างของจมูกผิดปกติ เช่น ผนังกั้นช่องจมูกคด เป็นต้น

2. ลิ้นและกล้ามเนื้อที่ลำคอหย่อนคลายตัว ทำให้ถอยกลับไปปิดกั้นทางเดินหายใจ พบได้ในผู้ที่หลับลึก ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากโดยเฉพาะในช่วงก่อนนอน ผู้ที่ใช้ยานอนหลับ รวมถึงผู้สูงอายุ

3. เนื้อเยื่อที่ลำคอมีขนาดใหญ่ พบได้ในคนอ้วน มีน้ำหนักตัวมาก คอหนาหรือมีขนาดของรอบคอมากกว่า 43 เซนติเมตร ผู้ที่มีต่อมทอนซิลหรือต่อมแอดีนอยด์โต

4. เพดานอ่อนหรือลิ้นไก่ยาว ทำให้ทางเดินหายใจหลังจมูกและลำคอตีบแคบลง และเมื่อเพดานอ่อนหรือลิ้นไก่สั่นหรือชนกันจะไปปิดกั้นทางเดินหายใจ

 

วิธีรักษาอาการนอนกรน

 

แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับผู้ที่นอนกรนในระดับที่ไม่รุนแรง เช่น ลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะในช่วงเวลาก่อนเข้านอน เปลี่ยนท่านอนจากนอนหงายเป็นนอนตะแคง เป็นต้น หากอาการของคุณอยู่ในช่วงที่เสี่ยงต่อการภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ก็จะมีอีกวิธีคือการผ่าตัด วิธีผ่าตัดทำให้ขนาดของทางเดินหายใจส่วนบนกว้างขึ้น ทำให้อาการนอนกรน หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับลดลง  ควรพิจารณาวิธีนี้   ซึ่งการผ่าตัดจะทำมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตำแหน่งและสาเหตุของการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน  การผ่าตัดไม่ได้ทำให้อาการนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจหายขาด  หลังผ่าตัดอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับอาจยังเหลืออยู่ หรือ มีโอกาสกลับมาใหม่ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ 

 

จบกันไปแล้วสำหรับภัยร้ายเงียบอย่าง นอนกรน ที่หลายคนต้องกำลังเป็นอยู่ซึ่งต้องขอย้ำว่าให้ทุกท่านสังเกตุอาการนอนกรนของตัวเองด้วย หากเริ่มรู้สึกว่ามันผิดปกติหรือดังเกินไปคือไปพบแพทย์ที่จะหาทางรักษาโดยด่วน หวังว่าทุกท่านจะได้ประโยชน์จากบทความนี้

เนื้อหาโดย: Cho Chocobo
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Cho Chocobo's profile


โพสท์โดย: Cho Chocobo
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ชมภาพร่างทองหุ่นฟิตเปรี๊ยะของ ฟิล์ม ธนภัทร กาวิละวิธีใช้รีโมทแอร์ในโหมดต่าง ๆ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าเตือนภัย 2 เครื่องดื่มยอดฮิต ตัวการ "ดื้ออินซูลิน" อ้วนไม่รู้ตัว!"ดำ-ขาว คาเฟ่ : เปิดประตูสู่โลกการ์ตูนที่จับต้องได้"เลขเด็ด "แม่ทำเนียนลอตเตอรี่" งวด 1 ธันวาคม 2567 มาแล้ว!..รีบส่อง ก่อนหวยหมดเผยโฉม น้องเอวา เสือโคร่งตาแป๋ว-หน้าหวานรีวิวหนังดัง ALIEN ROMULUS เอเลี่ยน โรมูลัส
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ชมภาพร่างทองหุ่นฟิตเปรี๊ยะของ ฟิล์ม ธนภัทร กาวิละรีวิวหนังดัง ALIEN ROMULUS เอเลี่ยน โรมูลัส
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
หยุด! ล้างขวดน้ำแบบผิดๆ เสี่ยงติดเชื้อ แบคทีเรียเพียบ!น้ำตกสายทิพย์ ความจริงที่ขมคอ ณ ภูสอยดาวเตือนภัย 2 เครื่องดื่มยอดฮิต ตัวการ "ดื้ออินซูลิน" อ้วนไม่รู้ตัว!อาการเมาค้างและวิธีแก้
ตั้งกระทู้ใหม่