วัดประจำรัชกาลที่ 1 -9 แห่งราชวงศ์จักรี
ดประจำรัชกาลที่ 1 -9 แห่งราชวงศ์จักรี
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
วัดประจำรัชกาลที่ ๑
วัดอรุณราชวราราม
วัดประจำรัชกาลที่ ๒
วัดราชโอรสาราม
วัดประจำรัชกาลที่ ๓ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
วัดประจำรัชกาลที่ ๔
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
วัดประจำรัชกาลที่ ๕, รัชกาลที่ ๗ วัดบวรนิเวศวิหาร
วัดประจำรัชกาลที่ ๖
วัดสุทัศนเทพวราราม
วัดประจำรัชกาลที่ ๘ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
วัดประจำรัชกาลที่ ๙
โดยมักจะแสดงออกเป็น ๓ ลักษณะ คือ อุปถัมภ์ศาสนธรรม เช่นสังคายนาพระไตรปิฎก อุปถัมภ์ศาสนบุคคลโดยการให้การบำรุงพระภิกษุสามเณร และอุปถัมภ์ศาสนวัตถุโดยการสร้างบูรณะปฏิสังขรณ์วัด สำหรับพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีไทย ได้มีการสร้างวัดประจำพระองค์ขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นต้นมา โดย
วัดประจำรัชกาลที่ ๑ คือ วัดพระเชตุพน
วิมลมังคลาราม มีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกไว้ว่า หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระบรมมหาราชวังแล้ว ทรงพระราชดำริว่า มีวัดเก่าขนาบพระบรมมหาราชวัง ๒ วัด ด้านเหนือ คือ วัดสลัก (วัดมหาธาตุฯ) ด้านใต้คือ วัดโพธาราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางเจ้าทรงกรม ช่างสิบหมู่อำนวยการบูรณะปฏิสังขรณ์ เริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๑ ใช้เวลา ๗ ปี ๕ เดือน ๒๘ วัน จึงแล้วเสร็จ และโปรดฯ ให้มีการฉลองเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๔ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ นอกจากนี้ที่ใต้พระแท่นประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ท่านไว้ด้วย ต่อมา รัชกาลที่ ๔ ได้โปรดฯ ให้เปลี่ยนท้ายนามวัดเป็น "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม"
วัดประจำรัชกาลที่ ๒ คือ วัดอรุณราชวราราวรมหาวิหาร หรือวัดแจ้ง
ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่สำเร็จเพียงกุฏิสงฆ์ ก็สิ้นรัชกาลที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๓๕๒ ครั้นเมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ จึงโปรดให้สร้างพระอุโบสถและพระวิหารต่อจนแล้วเสร็จ พร้อมทั้งทรงปั้นหุ่นพระพุทธรูป ด้วย ฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง และโปรดให้หล่อขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ และพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดอรุณราชธาราม ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้มีการก่อสร้างพระปรางค์องค์ใหญ่ ซึ่งมีความสูง ๘๒ เมตร กว้าง ๒๓๔ เมตร แต่มาเสร็จสมบูรณ์ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดอรุณราชวราราม"
วัดประจำรัชกาลที่ ๓ คือ วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เดิมชื่อวัดจอมทอง
พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงยกทัพไปสกัดทัพพม่าที่ด่านพระเจดีย์สามองค์ ใน พ.ศ. ๒๓๖๓ เมื่อกระบวนทัพเรือมาถึงวัดจอมทอง ฝั่งธนบุรีทรงหยุดพักและทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงครามพร้อมทรงอธิษฐานขอให้การไปราชการทัพครั้งนี้ได้ชัยชนะ แต่ปรากฏว่าไม่มีทัพพม่ายกเข้ามา เมื่อยกทัพกลับ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่และถวายเป็นพระอารามหลวงแด่รัชกาลที่ ๒ ซึ่งเป็นผู้โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดราชโอรส" ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกสั้นๆจากชื่อเต็มว่า วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เพื่อเป็นเกียรติแก่พระราชโอรสซึ่งเป็นผู้บูรณะ
วัดประจำรัชกาลที่ ๔ คือ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ข้างสวนสราญรมย์ เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๗ เพื่อเป็นวัดธรรมยุตินิกาย เพื่อให้เจ้านายและข้าราชการทั้งฝ่ายนอกและฝ่ายใน ได้บำเพ็ญกุศลกันได้สะดวกขึ้น เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวังและทรงพระราชทานนามว่าวัดราชประดิษฐ์สถิตธรรมยุติการาม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดราชประ-ดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
วัดประจำรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๗ คือ วัดราชบพิธ หรือชื่อเต็มว่า วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
คำว่า ราชบพิธ หมายถึง พระราชาทรงสร้าง ซึ่งก็คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับพระอัครมเหสีพระราชเทวีและเจ้าจอมพระสนมเอกของพระองค์ ส่วน สถิตมหาสีมาราม ก็คือเป็นวัดที่ประดิษฐานเสมาขนาดใหญ่ เพราะตามปกติแล้วเสมาของวัดโดยทั่วไปจะอยู่ตามมุมหรือติดอยู่กับตัวพระอุโบสถ แต่เสมาของวัดนี้ตั้งอยู่บนกำแพงรอบวัดถึง ๘ ด้าน จึงเป็นการขยายเขตทำสังฆกรรมของสงฆ์ให้กว้างขึ้น วัดนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๕ เท่านั้น แต่ยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๗ ด้วย เพราะในรัชสมัยของ รัชกาลที่ ๗ มิได้มีการสร้างวัด แต่ท่านก็ได้รับพระราชภาระในการทำนุบำรุงและบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธนี้ด้วย ดังนั้นจึงถือเป็นวัดประจำพระองค์ด้วยเช่นกัน
วัดประจำรัชกาลที่ ๖ คือ วัดบวรนิเวศวิหาร
เดิมชื่อ วัดใหม่ เป็นวัดโบราณ กรมพระราชวังบวรมหาศิกดิ์ดิพลเสพในรัชกาลที่ ๓ ทรงสถาปนาขึ้นใหม่ เมื่อรัชกาลที่ ๔ ทรงผนวชได้เสด็จมาประทับและทรงตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุตติกนิกายขึ้นที่วัดนี้เป็นครั้งแรก ถือเป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่ง เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ รัชกาลที่ ๗ และรัชกาลปัจจุบันทรงผนวช ณ วัดนี้
วัดประจำรัชกาลที่ ๘ คือ วัดสุทัศนเทพวราราม
เป็นวัดที่รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๕๐ เดิมพระราชทานนามว่า วัดมหาสุทธาวาส และให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม จึงเรียกกันว่า วัดพระโต วัดพระใหญ่ หรือวัดเสาชิงช้าบ้าง จนกระทั่งในสมัย รัชกาลที่ ๒ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ และทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ แต่มาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. ๒๓๙๐ และพระราชทานนามว่า วัดสุทัศนเทพวราราม ปรากฏในจดหมายเหตุว่า วัดสุทัศนเทพธาราม และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามพระประธานในพระวิหารว่า พระศรีศากยมุนี พระประธานในพระอุโบสถว่า พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ และพระราชทานนามพระประธานในศาลาการเปรียญว่า พระพุทธเสรฏฐมุนี ภายในวัดสุทัศนเทพวรารามเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และได้อัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์มาบรรจุที่ผ้าทิพย์ด้านหน้าพุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนีเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ และมีพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลในวันที่ ๙ มิถุนายน ของทุกปี
(รัชการที่ ๙) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำริให้สร้างวัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก
ขึ้นโดยก่อสร้างเป็นวัดเล็กๆ เพื่อเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของชุมชนที่ตั้งอยู่ บริเวณใกล้เคียงและเพื่อให้เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางพุทธศาสนาและกิจกรรมต่างๆ ในการเผยแพร่ศีลธรรมและจริยธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชน สำหรับ พระประทานที่ประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดพระรามเก้าฯ นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยเลือกแบบพระพุทธรูปปางมารวิชัย (ปางชนะมาร) จากการออกแบบเสนอโดยเรืออากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น อดีตอธิบดีและสถาปนิกของกรมศิลปากรทั้งหมด ๗ แบบ โดยพระองค์ทรงแก้ไขแบบด้วยพระองค์เอง โดยพระพุทธรูปปางมารวิชัยนี้มีลักษณะแบบรัตนโกสินทร์ ความสูงจักทับเกษตร (หน้ากระดาน) ถึงปลายรัศมี ๑๘๐ เซนติเมตร ขนาดหน้าพระเพลา ๑๒๐ เซนติเมตร โดยมีพระพุทธสาวกเบื้องซ้าย และเบื้องขวาของ พระประธาน ฐานชุกชีทำด้วยหินอ่อน ส่วนองค์พระพุทธรูปทำด้วยทองเหลือผสมทองที่มีลักษณะ ผสมผสานระหว่างอุดมคติ และเหมือนจริงด้วยการห่มจีวรแบบพระสงฆ์ แต่มีพระเกศาแบบอุดมคติ สวยงาม กลมกลืนและปราณีตยิ่งนัก และทรงพระราชทานนามว่าพระพุทธ-กาญจนธรรมสถิต จะเห็นได้ว่า การก่อสร้างหรือบูรณะปฏิสังขรณ์วัดของพระมหากษัตริย์ ไม่ว่าจะในยุคใดสมัยใด ได้มีการกระทำกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในรัชสมัยของราชวงศ์จักรีไทย ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ จนถึงรัชกาลที่ ๙ (รัชกาลปัจจุบัน) ก็ได้มีการกระทำเรื่อยมา จึงแสดงได้ว่าพระมหากษัตริย์ของไทยทรงเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งธรรมและเป็นองค์อัครราชูปถัมภกทางด้านพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และเนื่องในศุภวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ ที่จะถึงนี้ ถือได้ว่าเป็นปีมหามงคลสมัยพิเศษของปวงชนชาวไทยทั้งประเทศ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติให้ตรวจสอบ ข้อมูลเกี่ยวกับโบราณสถาน โบราณวัตถุ วัดและศาสนสถานทั่วประเทศให้ครอบคลุมทุกศาสนา ที่มีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป และสมควรได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ให้สวยงาม เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองและถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พร้อมทั้งเป็นการแสดงความจงรักภักดีของปวงชนชาวไทยทุกเชื้อชาติ ศาสนา ที่พระองค์ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกของศาสนิกชนไทยทุกศาสนา ทรงเป็นมิ่งขวัญและศูนย์รวมความสามัคคีของปวงชนชาวไทย ทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่นและประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก:กระทรวงวัฒนธรรม
แหล่งที่มา: http://google.co.th