ทำไมพระนอน ต้องตะแคงขวา
หรือเมื่อพูดถึงพระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์ ท่านที่เป็นชาวพุทธก็ย่อมจะนึกถึงภาพของพระนอนที่มีขนาดต่างๆ ตั้งแต่เล็กสุดจนถึงใหญ่สุด ที่ประดิษฐานอยู่ตามัดวาอารามทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด
พระพุทธไสยาสน์นี้จะอยู่ในอิริยาบถนอนตะแคงข้างขวา หลับพระเนตรพระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายวางทอดทาบไปตามร่างกายด้านซ้ายพระหัตถ์ขวาหงายอยู่กับพื้นข้างพระเขนย พระบาททั้งสองตั้งเรียงซ้อนกัน ลักษณะการนอนดังกล่าวนี้ เรียกว่าสีหไสยาสน์ เป็นการนอนของราชสีห์ว่ากันว่า ราชสีห์นั้นเป็นสัตว์ที่มีอำนาจ และสง่างามในท่วงท่าและอิริยาบถ แม้ในการนอนก็ต้องนอนด้วยอาการอันสำรวม คือเวลานอนจะใช้เท้าลูบฝุ่นที่นอนให้เรียบเสมอกัน แล้วจึงจะตะแคงตัวด้านขวาลงนอน เท้าทั้งสี่จะอยู่ในอาการอันสำรวม ไม่เหนียดหรือกางออกเหมือนสัตว์อื่น และจะกำหนดในใจว่าจะนอนอย่างมีสติสัมปชัญญะ และตื่นขึ้นในเวลาที่กำหนด
ด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมมีหลายระดับ เมื่อปฏิบัติถึงจุดๆหนึ่ง สมาธิจะเกิดเนืองๆทั้งยามตื่นและยามหลับ ขณะที่หลับจะรู้ชัดในกายได้ตลอด
ถ้านอนตะแคงซ้าย จะได้ยินเสียงของหัวใจเต้นดังมากๆ เหมือนเอาหูไปแนบฟังที่ตรงหัวใจ แม้เปลี่ยนอิริยาบทเป็นนอนหงาย ก็ยังคงได้ยินเสียงหัวใจเต้นดังอย่างชัดเจน
เมื่อเปลี่ยนอิริยาบทเป็นนอนตะแคงขวา เสียงการเต้นของหัวใจจะดังเบาที่สุด เหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงทรงนอนตะแคงขวา
ระดับของสมาธิมีหลายระดับ สภาวะความรู้สึกตัวทั่วพร้อมจึงมีหลายสภาวะ
๑. สภาวะเมื่อจิตเป็นสมาธิ ลมหายใจละเอียดจนมีความรู้สึกลมหายใจไม่มี ไม่สามารถจับลมหายใจหรือรู้ที่ลมหายใจได้
๒. สภาวะต่อมา จะมารู้ที่กายส่วนอื่นๆแทน เช่น ท้องพองยุบ เป็นวาโยโผฏฐัพพะ เหตุของลมหายใจเข้าและออก
๓. สภาวะต่อมา รู้ที่การเคลื่อนไหวของกายส่วนอื่นๆ เช่น เสียงชีพจรที่เต้นตามจุดต่างๆของร่างกาย
๔. สภาวะต่อมา รู้ชัดในความว่างของความว่างที่เกิดขึ้นแทนกายที่ตั้งอยู่
๕. สภาวะต่อมา มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมแม้ขณะกำลังนอน จะรู้ชัดในกายทุกๆส่วน โดยเฉพาะเสียงหัวใจเต้นจะรู้ชัดมากที่สุด จิตจะรู้ชัดอยู่อย่างนั้นทั้งคืน
สภาวะที่๓และ๔ อาจจะสลับสับเปลี่ยนกันได้ ไม่จำเป็นต้องรู้ที่ท้องพองยุบเสมอไป แต่ผู้ที่มีสมาธิเกิดขึ้นเนืองๆในทุกๆอิริยาบท จะเป็นผู้ที่มีลมหายใจละเอียด จะสามารถรู้ชัดในกายได้อยู่เนืองๆ ไม่ว่าจะทำอะไรอยู่
๖. มีความคิดเกิด ขณะจิตเป็นสมาธิอยุ่ ไม่รู้สึกรำคาญอย่างใด บางครั้งก็ไม่เกิด ไม่ได้เกิดขึ้นตลอด แล้วแต่ว่า จิตจะวิตกอะไรขึ้นมาเอง
๗. มีความรู้สึกเกิดขึ้น บางครั้งมีกามราคะ(ความกำหนัดในกาม) เกิดขึ้นเอง เป็นความรู้สึก ไม่มีนิมิต ไม่ได้คิดถึงอะไร
ก็ในพระพุทธศาสนานั้น พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุผู้กระทำความเพียรเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ให้สำเร็จการนอนอย่างราชสีห์ หรือสีหไสยาสน์ ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่มีข้อแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย เพราะที่กล่าวมาแล้วนั้น กล่าวตามลักษณะของพระพุทธรูปที่ช่างปั้นขึ้น
แต่จริง ๆ แล้ว ท่านสอนให้นอนตะแคงขวา ศีรษะหนุนหมอน มือซ้ายวางทาบไปตามร่างกายด้านซ้าย มือขวาวางหวายแนบกับในหน้า เพื่อไม่ให้คอพลิกไปมา วางเท้าเหลื่อมเท้า กำหนดในใจ มีสติสัมปชัญญะตลอดเวลาและจะตื่นขึ้นในเวลาที่กำหนด
ข้อที่บอกว่าวางเท้าเหลื่อมเท้านั้น เพราะว่าคนเรามีอุ้งเท้าที่โค้ง เมื่อวางเท้าซ้ายเหลื่อมเท้าขวา อุ้งเท้าซ้ายจะวางอยู่บนสันเท้าขวา ซึ่งมีความโค้งมนส้นเท่าขวาจะรองรับน้ำหนักของเท้าซ้ายได้พอดี และไม่พลัดตกลงมาเท้าทั้งสองที่เหยียดออกไปก็ไม่ถึงกับต้องตรง แต่จะงอเข่าทั้งสองข้างลงเล็กน้อยจะทำให้หัวสะบ้าเข่าข้างซ้ายกดทับลงบนข้อพับด้านขาขวา ข้อพับขวาจะมีลักษณะโค้งอ่อนนุ่ม ก็จะพยุงหัวเข่าซ้ายไว้ไม่ให้พลิก มือซ้ายที่วางบนร่างกายด้านซ้ายนั้น ไม่เหยียดตรง แต่จะงอเล็กน้อยให้น้ำหนักอยู่ตรงกลางระหว่างข้อศอกกับปลายก็จะเป็นท่านอนที่ถูกต้องกับสรีระของคนเรา
ผิดกับรูปปั้นที่ช่างต้องปั้นให้มีเท้าทั้งสองซ้อนกัน เพื่อที่ต้องการแสดงให้เห็นว่า พระบาทของพระพุทธเจ้าเรียบเสมอกัน และต้องปั้นให้พระบาททั้งสองเหยียดตรง และพระหัตถ์ซ้ายที่วางทาบบนพระวรกายนั้นก็เหยียดตรงเช่นกัน
พระพุทธเจ้าของเรานั้นทรงแสดงธรรมตอนหัวค่ำช่วง ๒๒.๐๐-๒๔.๐๐ น.แก่สาวกที่มาจากทิศต่าง ๆ เวลาพ้นเที่ยงคือไปจนตี่สองทรงแสดงธรรมแก่เหล่าเทวดา เวลาใกล้รุ่งค่อนสว่างทรงพิจารณาถึงหมู่สัตว์ว่าผู้ใดจะมีอุปนิสัยบรรลุก็จะเสด็จไปโปรด
เพราะฉะนั้นในช่วงเวลาทั้งสามยามนี้พระองค์จะเสด็จบรรทมสีหไสยาสน์ซึ่งแต่ละช่วงจะไม่เกิน ๒ ชั่วโมง
เห็นได้ว่าการนอนในท่าสีหไสยาสน์นี้ จะมีคุณอเนกประการแก่ผู้ที่ตรากตรำทำงานอย่างเคร่งเครียด เช่น นักเรียน นักศึกษา ที่ต้องดูหนังสือสอบ รวมทั้งนักบริหารทั้งหลาย ขอให้ท่านทั้งหลายลองสำเร็จการนอนแบบสีหไสยาสน์แล้วจะพบว่าเมื่อตื่นขึ้นมาท่านจะทำงานต่อไปได้อย่างสดชื่น และจะรู้ว่าจิตนี้อัศจรรย์จริง
จากหนังสือ ธรรมลีลา ฉบับที่ 37 ธันวาคม 2546
cr https://walailoo2010.wordpress.com/2011/06/02/ทำไมพระพุทธเจ้าทรงนอนต/