เลิกบ้าโรงลิเกป้อมมหากาฬได้แล้ว เมรุปูนยังรื้อ วัดสระเกศยังโดนผ่าเลย
เห็นคนเห็นแก่ตัวแถวป้อมมหากาฬ บอกให้อนุรักษ์วิกลิเก นี่มันดรามาชัด ๆ เลิกบ้าโรงลิเกที่ไม่มีแม้สถานที่จริงได้แล้ว มาดูตัวอย่างเมรุปูนเลยดีกว่า เจ๋งกว่าโรงลิเก ยังโดนรื้อทิ้งมาแล้ว วัดสระเกศยังโดนถนนตัดผ่ามาแล้ว ไม่เห็นหนักหัวใครเลย!
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (www.area.co.th) ขออนุญาตมองต่างมุมกับกระแสดรามาอนุรักษ์วิกลิเกที่ไม่มีอยู่จริงในชุมชนป้อมมหากาฬ อย่าอ้างประวัติศาสตร์ชั่ว ๆ มั่ว ๆ มาเอาประโยชน์ใส่ตัวเลยครับ
รูปภาพลิเกพระยาเพชรปาณี แต่โปรดสังเกต ภาพเขียนว่าวัดสระเกศ ไม่ใช่วัดราชนัดดา
ตามภาพข้างต้น มีการอ้างอิงว่าถ่ายในที่ตั้งด้านหลังของป้อมมหากาฬ แต่ในภาพเขียนไว้ชัดเจนว่าวัดสระเกศ ถ้าวิกลิเกนี้อยู่หลังป้อมมหากาฬจริง ก็น่าจะเขียนว่าวัดราชนัดดา ซึ่งสร้างในปี 2389 (http://bit.ly/2dnR5Yq) ก่อนที่อ้างว่ามีวิกลิเกในบริเวณนี้ถึง 51 ปี เจ้าของลิขสิทธิ์ภาพ (San Diego Museum of Man) ก็ระบุว่าถ่ายที่งานวัดสระเกศ (http://bit.ly/2dhaJ9E)
ในโฉนดหรือเอกสารสิทธิ์ที่มีให้กันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 นั้น ก็ไม่เคยมีชื่อพระยาเพชรปาณีเป็นเจ้าของที่ดินแต่อย่างใด นายศักดิ์ชัย บุญมา ผู้อำนวยการกองจัดกรรมสิทธิ์ สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ก็ยืนยันว่า คณะลิเกวิกนี้ แต่เดิมอยู่ที่บ้านหม้อ แต่เนื่องจากมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้ง และถูกศาลสั่งปรับ จึงได้ย้ายมาตั้งอยู่ที่ดินของวัดราชนัดดา (http://bit.ly/2crHISJ) ที่สำคัญที่ตั้งของวิกที่ว่านั้น ก็มีบ้านหลังหนึ่งปลูกอยู่ แสดงว่าคนชุมชนก็ไม่เห็นค่าอะไร แล้วจะมาเรียกร้องอนุรักษ์อะไร นอกเสียจะเป็นการอ้างเพื่อหวังครองสมบัติของส่วนรวมให้เป็นของตัวเอง ในสมัยรุ่นพ่อแม่ก็ขอร้องให้ชะลอการรื้อเพื่อให้ลูกโตก่อน ตอนนี้ก็ขอชลออีก ไม่สิ้นสุด ไม่มีหิริโอตตัปปะเอาเสียเลย ทีนี้มาดู "เมรุปูนวัดสระเกศ" ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 "เพื่อใช้สำหรับพระราชทานเพลิงพระศพเจ้านาย และศพข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่มีการก่อสร้างอย่างประณีตสมบูรณ์ยิ่งกว่าเมรุปูนของวัดอรุณราชวราราม และวัดสุวรรณาราม. . .(มี) พลับพลา โรงธรรม โรงครัว โรงมหรสพ ตลอดจนพุ่มกัลปพฤกษ์ และระทา (หอสี่เหลี่ยมทรงยอดเกี้ยว ใช้สำหรับจุดดอกไม้ไฟ พลุ ตะไล ในพิธี) ซึ่งสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ล้วนทำด้วยการก่ออิฐถือปูนทั้งสิ้น. . .(ต่อมา ร.5). . .ให้ตัดถนนบำรุงเมือง. . .ทำให้กุฎีวัดสระเกศกับบริเวณเมรุปูนแยกออกจากกันคนละฝั่งถนน. . . (ต่อมาเลิกเมรุปูน). . .มอบสถานที่นั้นให้เป็นที่ตั้ง. . . “วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร” จนปัจจุบัน http://bit.ly/2d1ppEz)
บริเวณเมรุนี้ "เคยใช้เป็นแหล่งพักผ่อน ของคนไทยในสมัยนั้น เพื่อชมมหรสพ จึงมีการเรียกสถานที่แห่งนี้อีกชื่อหนึ่งว่า “วิกเมรุปูน” นอกจากนั้นยังมีการนำของกินของใช้มาจำหน่ายให้กับผู้คนที่เข้ามาดู โขน ลิเก ละคร หุ่นกระบอก" (http://bit.ly/2cs88bB) ดังนั้นวิกลิเกกแห่งแรกของไทยจึงไม่น่าจะอยู่หลังกำแพงเมืองในที่ดินของวัดราชนัดดาแล้ว
จะเห็นได้ว่าในความจำเป็นต้องเวนคืน ต้องตัดถนนบำรุงเมืองเพื่อการพัฒนาเมือง แม้แต่วัดสระเกศยัง "ไม่รอด" ยังต้องถูกตัดออกเป็นสองส่วน และขนาด "เมรุปูนวัดสระเกศ" ที่สร้างขึ้นมาใช้เพื่อใช้ในพิธีพระราชทานเพลิงศพเจ้านายก็ยังเลิกไปแล้ว และจะนับประสาอะไรกับ "วิกลิเกพระยาเพชรปาณี" ซึ่งไม่ได้อยู่ในชุมชน แต่น่าจะอยู่ใกล้ "ประตูผี" ทำไมจะย้ายไม่ได้ ทำไมกลับนำมาอ้างโดยไม่มีมูล และไม่เคยมีโฉนดที่ดินฉบับใดเป็นของพระยาเพชรปาณีเลย และยิ่งกว่านั้นการตั้งวิกลิเก ก็เป็นสิ่งชั่วคราว จะนำมา "ตู่" เพื่อจะหาทางไม่ยอมย้าย ทั้งที่ผิดกฎหมายไมได้เลย
ชุมชนประวัติศาสตร์ที่แท้ เช่น ชุมชนบ้านบุ ชุมชนบ้านช่างหล่อ ชุมชนบ้านครัว เป็นชุมชนที่อยู่สืบต่อกันมาสองร้อยปีตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน ไม่ใช่ชุมชนบุกรุกเข้ามาอยู่อาศัยใหม่ ไม่ใช่ชุมชนที่เพิ่งเกิดขึ้น วิถีชีวิตของชาวชุมชนก็เปลี่ยนไปแล้ว ไม่ (เคย) มีวิกลิเก ไม่มีการเลี้ยงนกสืบต่อกันมายาวนานดังอ้าง เพราะบ้านเลี้ยงนกแต่เดิมเป็นของคนจีน ไม่มีบ้าน ดร.ป๋วย ดังที่มีการอ้างส่งเดชแต่อย่างใด (http://bit.ly/2cEJG31)
อย่าอ้างประวัติศาสตร์ที่ไม่จริง ที่ผ่านมา วัดวาอาราม เจดีย์ วัง บ้านเรือนคหบดีใหญ่โตก็ต้องถูกเวนคืนเพื่อการพัฒนาเมืองทั้งสิ้น (http://bit.ly/1NhEq1X) อย่าอ้างเข้าข้างผลประโยชน์ของตนเองเลย
ที่มา: http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1622.htm