Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน กินอะไรดี
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

30 ปีที่ผ่านมา ภัยพิบัติจากโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล

โพสท์โดย มารคัส

สรุปสาระสำคัญ

เช้าวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2529 เกิดอุบัติภัยนิวเคลียร์ครั้งสำคัญในเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลในประเทศยูเครน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในสมัยนั้น มีการปลดปล่อยกัมมันตรังสีขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งนับว่ามีปริมาณมากกว่าการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ในจังหวัดฮิโรชิมาและนางาซากิของประเทศญี่ปุ่นนับพัน ๆ เท่า การระเบิดของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์นี้นับว่าเป็นอุบัติภัยนิวเคลียร์พลเรือนครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ และยังคงส่งผลกระทบมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเหตุการณ์นั้นจะผ่านพ้นไปเป็นเวลา 27ปีแล้ว



26 เมษายน พ.ศ. 2529 เวลา 1.23 น. ในชั่วพริบตา ระบบทดสอบเตาปฏิกรณ์กลายเป็นภัยพิบัติ

การเกิดระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลเริ่มจากการทดสอบ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้ทดสอบว่ากังหันไฟฟ้าจะผลิตพลังงานได้เพียงพอหรือไม่ที่จะทำให้ปั๊มหล่อเย็นทำงาน หากเกิดกรณีไฟฟ้าตกในช่วงเวลาก่อนที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลฉุกเฉินจะเริ่มทำงาน ตารางเวลาการทดสอบได้ถูกเลื่อนจากช่วงเวลากลางวันเป็นกลางคืนเนื่องจากต้องการทดสอบว่าเตาปฏิกรณ์จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงพอกับความต้องการในช่วงกลางคืนซึ่งเป็นช่วงที่มีอัตราการใช้ไฟฟ้าสูงได้หรือไม่

ก่อนที่การทดสอบจะเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 1.23 น. ไม่มีเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการเข้าเวรในช่วงเวลาดังกล่าว อีกทั้งระบบรักษาความปลอดภัยถูกปิดโดยเจตนา หลังจากการทดสอบเริ่มขึ้น เตาปฏิกรณ์ก็เริ่มอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถควบคุมได้ แกนเชื้อเพลิงในเตาปฏิกรณ์ปะทุออกทำให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง ฝาครอบน้ำ หนัก 1,000 ตันที่คลุมอาคารเตาปฏิกรณ์ระเบิดออก อุณหภูมิกว่า 2,000 องศาเซลเซียสทำให้แท่งเชื้อเพลิงหลอมละลาย แท่งกราไฟต์ที่หุ้มเตาปฏิกรณ์ติดไฟและลุกไหม้เป็นเวลา 9 วัน

มีความพยายามในการดับไฟนานหลายวัน และได้มีการสร้าง “โลงหินโบราณ” เพื่อปกคลุมเตาปฏิกรณ์ที่ได้รับความเสียหาย 

หลังจากใช้เวลาก่อสร้าง 10 ชั่วโมงเจ้าหน้าที่ก็ละทิ้งพื้นที่โดยทันที จากวันที่ 27 เมษายนถึงวันที่ 5 พฤษภาคม เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบินอยู่เหนือบริเวณที่เกิดการเผาไหม้ เพื่อโปรยตะกั่วปริมาณ 2,400 ตัน และทรายปริมาณ 1,800 ตันลงสู่เปลวไฟที่ลุกโชนเพื่อดูดซับกัมมันตรังสี ความพยายามครั้งนั้นกลับไม่เป็นผลสำเร็จ แต่กลับยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงเนื่องจากเกิดการสะสมของความร้อนภายใต้กองวัสดุที่ทิ้งลงไป อุณหภูมิในเตาปฏิกรณ์พุ่งสูงขึ้น อีกทั้งยังมีกัมมันตรังสีพวยพุ่งออกมาจำนวนมาก ในระยะสุดท้ายของการผจญเพลิง แกนเชื้อเพลิงของเตาปฏิกรณ์ถูกทำให้เย็นลงด้วยสารไนโตรเจน กว่าเจ้าหน้าที่จะสามารถควบคุมไฟและการปล่อยกัมมันตรังสีไว้ได้ก็ล่วงเลยเข้าวันที่ 6 พฤษภาคมแล้ว

8 เดือนหลังเกิดเหตุระเบิด ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2529 ได้มีการสร้าง “โลงหินโบราณ” หรือสิ่งปกคลุมขนาดใหญ่ที่ทำจากเหล็กกล้าหนัก 7, 000 ตัน และคอนกรีต 410,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อปกคลุมเตาปฏิกรณ์ที่ระเบิด และเพื่อเป็นการหยุดการปลดปล่อยกัมมันตรังสีขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ หลังจากเหตุอุบัติภัยนิวเคลียร์ครั้งนี้ผ่านพ้นไป 3 ปี รัฐบาลสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตก็หยุดการก่อสร้างเตาปฏิกรณ์ที่ 5 และ 6 ที่เชอร์โนบิล หลังการเจรจาต่อรองในระดับนานาชาติซึ่งกินเวลามายาวนาน มีมติให้ปิดพื้นที่นั้น ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2543 นับเป็นเวลา 14 ปีหลังเกิดอุบัติเหตุ 

ผลลัพธ์จากอุบัติภัยนิวเคลียร์ที่เกิดจากมนุษย์ครั้งร้ายแรงที่สุดนี้ ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของกัมมันตรังสีในวงกว้าง เกิดการอพยพย้ายถิ่นฐาน รวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพระยาว ที่ยังคงส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน

ในแต่ละเดือน เจ้าหน้าที่ เซย์เก อากีโมวิช คราซิคอฟต้องนั่งรถไฟข้ามผืนดินที่ถูกท้ิงร้างใกล้โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เชอร์โนบิล 12 ครั้ง เพื่อเข้าไปทำงานในอาคารที่สร้างครอบเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 อาคารหลังนี้เป็นที่รู้จักกันในนาม   “โลงหินโบราณ”

ภารกิจหนึ่งของเขาซึ่งมีอยู่มากมายคือการสูบของเหลวปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่ไหลลงไปรวมอยู่ภายในเตาปฏิกรณ์ที่ไหม้ไฟออกมา ของเหลวนี้จะต้องถูกสูบออกมาเมื่อมีฝนหรือหิมะตก
 
อาคารครอบหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อ 25 ปีก่อนด้วยความตื่นกลัวเนื่องจากหลังจากเตาปฏิกรณ์ระเบิด รังสีได้แพร่กระจายไปสู่บริเวณที่มีผู้คนอาศัยอยู่ ปัจจุบันอาคารนี้เต็มไปด้วยรอยแตก
 
น้ำจะเข้าไปสัมผัสสิ่งที่อยู่ลึกเข้าไปในเตาปฏิกรณ์ไม่ได้ สิ่งนั้นคือเชื้อเพลิงที่หลอมละลายและเศษซากปรักต่างๆประมาณ 200 ตัน ซึ่งลุกไหม้ผ่านพื้นลงไปแข็งตัวที่บริเวณหนึ่งเป็นรูปตีนช้าง ก้อนเชื้อเพลิงนี้ยังคงมีกัมมันตภาพรังสีในระดับที่สูงจนนักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถเข้าใกล้ได้ บริเวณหลังคาอาคารวัดค่ารังสีได้ประมาณสามเร็มต่อชั่วโมง ที่ระดับนั้น เมื่อสัมผัสเพียง 45 นาที คนงานจะได้รับรังสีถึงขีดจำกัดที่แนะนำให้รับได้ในหนึ่งปี นักวิทยาศาสตร์คำนวณว่าระดับรังสีสูงสุดใกล้ก้อนเชื้อเพลิงนั้นเท่ากับ 800 เร็มต่อชั่วโมง
 
คราซิคอฟซึ่งมีไหล่กว้างและตาสีฟ้าสดใส เป็นคนงานคนหนึ่งที่ดูแลโรงงานนรกแห่งนี้มาเป็นเวลาแปดปีแล้ว เขาจะทำงานที่นี่จนเกษียณ แล้วจะมอบภารกิจแก่อีกคนซึ่งคนนั้นก็จะรับหน้าที่นี้ต่อไปจนเขาเกษียณ เมื่อถามว่าภารกิจนี้จะต่อเนื่องไปอีกนานเท่าใด เขายักไหล่
 “ร้อยปีมั้ง” เขาตอบ “บางทีเมื่อถึงตอนนั้น อาจมีคนประดิษฐ์อะไรบางอย่างขึ้นมาแล้วก็ได้”
 
ขณะที่ธาตุกัมมันตรังสีบางชนิดในเชื้อเพลิงนิวเคลียร์สลายตัวไปอย่างรวดเร็ว ซีเซียมมีค่าครึ่งชีวิต 30 ปี ส่วนสตรอนเชียมมีค่าครึ่งชีวิต 29 ปี นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่า กว่าชีวิตและกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจต่างๆจะสามารถหวนกลับมาสู่พื้นที่ได้ จะต้องปล่อยให้ธาตุเหล่านี้สลายตัวไปเป็นเวลาสิบถึง 13 ช่วงครึ่งชีวิต นั่นหมายความว่า พื้นที่ปนเปื้อนกัมมันตรังสีซึ่งรัฐสภายูเครนกำหนดไว้ 38,850 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะได้รับผลกระทบจากรังสีนานกว่า 300 ปี



Pripyat เคยเป็นที่อยู่อาศัยของประชากร 50,000 คนรวมทั้งแรงงานจากโรงงานเชอร์โนบิลซึ่งอยู่ใกล้เคียง จนกระทั่งหลังการระเบิดของเตาปฏิกรณ์ 36 ชั่วโมง ได้มีการอพยพออกไป โดยบอกพวกเขาว่าจะอพยพไปเพียงสองสามวันเท่านั้น แต่ชาวเมืองก็ไม่ได้กลับมายังที่อาศัยของพวกเขาอีกเลย



ทุกวันนี้เป็นเวลากว่าสองทศวรรษแล้ว ถนนของเมืองรก โรงเรียน อพาทเมนท์ และร้านค้า พังทลายตามกาลเวลา ตั้งแต่ของเล่นในโรงเรียนอนุบาล โฆษณาชวนเชื่อในยุคโซเวียต ที่ถูกลืม การเดินเล่นผ่าน Pripyat ทำให้รู้สึกเหมือนเป็นฉากหนึ่งในฮอลลีวูด



หนึ่งในสถานที่ที่นักท่องเที่ยวอยากเข้าชมที่สุดคือสวนสนุกที่เปิดตัวในในช่วงไม่กี่วันก่อนเกิดการระเบิดของเตาปฏิกรณ์ ชิงช้าสวรรค์ที่ไม่เคยเปิดใช้ซึ่งบัดนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่ไม่อาจลืมของภัยพิบัติ


 

 

 

 

 

 

 


ทางยูเครนได้ประกาศการจำกัดการเข้าชม ถึงแม้จะอนุญาติให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมได้ แต่ก็ยกเว้นบริเวณรัศมี 30 กิโลเมตรจากเครื่องปฏิกรณ์ที่ระเบิด

โฆษกรัฐยูเครนกล่าวว่า "การเดินทางไปเยี่ยมชมเชอร์โนบิลจะเปลี่ยนพวกเขา คนจะรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ควรตระหนักถึงจากกรณีภัยพิบัตินิวเคลียร์"

ชาวยูเครนบางส่วนที่หวังว่าการให้ความรู้กับบรรดาแฟนคลับฟุตบอลที่มุ่งหน้าสู่ฟุตบอลยูโร 2012 ซึ่งสาธารณรัฐโซเวียตร่วมเป็นเจ้าภาพกับโปแลนด์ โดยหากจะมีผู้สนับสนุนใดที่จัดการเดินทางควบไปยังพื้นที่ที่เคยประสบอุบัติเหตุนิวเคลียร์ของโลกที่เลวร้ายที่สุด ระหว่างรอชมการแข่งขันเพื่อเป็นประสบการณ์


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 





















ภาพถ่ายทั้งหมดนี้เป็นฝีมือของ David Schindler

ในปี 2011(2554) ครบรอบ 25 ปี (ปีที่ช่างภาพได้ไปถ่ายภาพชุดนี้) 25 ปี  ภายหลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัติที่น่าเศร้าสลด บริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล  ยังคงสภาพเหมือน เมืองร้าง เมืองผี สภาพโดยรอบ ๆ ยังดูน่าสะพึงกลัวและน่าสลดหดหู่ใจ เมื่อมองภาพเหล่านี้  ลองจินตนาการว่า ผู้คนต่างต้องรีบอพยพหนีจากบ้านเกิดเมืองนอน ทิ้งข้าวของส่วนใหญ่ไว้เบื้องหลัง  รวมทั้งบ้านเรือนที่ไม่อาจหวนกลับมาอยู่ได้อีกเลย

หมายเหตุ  ช่วงหลัง 20 ปีเริ่มมีคนลักลอบเข้าไปในเมืองนี้ เพื่อค้นหาทรัพย์สินที่ตกค้าง  ขนไปใช้เองหรือขายในตลาดมืด

ผู้สนใจติดตาม TotallyCoolPix 
โดยเฉพาะช่างภาพ David Schindler เดวิด ชินด์เดอร์
ได้เดินทางไปถ่ายภาพต่าง ๆ ที่เชอร์โนบิล
ทั้งหมดล้วนเป็นภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจและน่าเศร้า
จากการมองย้อนกลับไปวันวานในช่วงปี 1986(2529)

 

     ในบริเวณใกล้เคียงและเขตยกเว้นยังคงมีหมู่บ้านร้างจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีสภาพที่ดีกว่า Pripyat เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะสามารถเห็นการดำรงชีวิตชนบทแบบโซเวียต โบสถ์ St Michael ในหมู่บ้าน Krasnoe ยังคงมีการใช้สำหรับเป็นที่สวดมนต์โดยเหล่าผู้สูงอายุที่แอบกลับมายังบ้านของพวกเขา
คำเตือน : ระดับรังสีในฝุ่นละอองและมอสที่นี่จะสูงกว่าพื้นที่ปกติดังนั้นจะต้องระมัดระวังในทุกย่างก้าว

     แม้จะมีการผ่อนปรนให้เข้าไปเยี่ยมชมยังเชอร์โนบิล แต่ไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะเห็นเครื่องปฏิกรณ์ที่ระเบิดเพราะระดับรังสียังคงอยู่ในระดับที่สูง จุดสังเกตที่ใกล้ที่สุดอยู่ห่าง 200 เมตรและเป็นจุดที่ดีสำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่มีระดับรังสีที่มากเกินไป








ปลาในแม่น้ำ pripyat รอบๆโรงไฟฟ้า มีอยู่จำนวนมาก ปลาดุกตัวใหญ่ๆนี่ยาว 2 เมตรนะครับ
แต่ยังทานไม่ได้ เพราะในกระดูกปลายังพบรังสีที่สุงเกินค่ามาตรฐาน
 





⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
มารคัส's profile


โพสท์โดย: มารคัส
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
28 VOTES (4/5 จาก 7 คน)
VOTED: มีน อุรัสญา มาค่ะ, frankenstein, JapanAV, มารคัส, HellCat
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
นามสกุลที่ลงท้ายแบบนี้ เป็นลูกหลานชาวโคราชแน่นอนของจริงแม่ให้มา! มายด์ประกาศกร้าวจนหมอศัลย์ต้องดูคลิปซ้ำ การันตีงานธรรมชาติล้วนๆWHO ประกาศเลิกจ้างพนักงานจำนวนมาก ท่ามกลางการตัดเงินทุนของมะกันระทึก!! เกิดเหตุเพลิงไหม้โรงแรมดาราเทวี เชียงใหม่ ความเสียหายยังประเมินราคาไม่ได้ 😢ไม่ตรงปกอย่างแรง! หนุ่มจีนเจอสาวผ่านแอพหาคู่ สุดท้ายกลายเป็น “กะlทยมีงู” ชาวกัมพูชา กลางนครพนมเปญชาวธัญบุรีลุกฮือ! ร้อง “ลูกพีช” ทำเสียชื่อจังหวัด ปมขับ BMW ชนลุงป้า ‎จากพิซซ่าสู่รันเวย์แฟชั่น: โอกาสที่เปลี่ยนชีวิตหนุ่มพนักงานพิซซ่าในนิวยอร์กรวมภาพเรียกรอยยิ้มประจำวันนี้รวม เลขปฏิทินจีน งวด 2/5/68“มอว์ซินราม” หมู่บ้านกลางเมฆที่เปียกที่สุดในโลก ฝนตกเฉลี่ยปีละเกือบ 12,000 มิลลิเมตร!"เซน เมจกา" ล่ามของ "แจ็คสัน หวัง" ในโหนกระแส..ดีกรีไม่ธรรมดา สกิลภาษาสุดปัง!เพจดังแฉพระเอกดังไม่ยอมแต่งงานกับนางเอกดัง คลับคล้าย กรณี"โตโน่"–ชาวเน็ตแห่เดาไม่หยุด
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
จากพิซซ่าสู่รันเวย์แฟชั่น: โอกาสที่เปลี่ยนชีวิตหนุ่มพนักงานพิซซ่าในนิวยอร์กญี่ปุ่นพิจารณาขยายการนำเข้าข้าว จากมะกันแบบปลอดภาษีรวม 5 สิ่งที่ทำให้ งู นั้น "กลัว" ได้ มีอะไรบ้างมาดูกันได้เลยจ้าระทึก!! เกิดเหตุเพลิงไหม้โรงแรมดาราเทวี เชียงใหม่ ความเสียหายยังประเมินราคาไม่ได้ 😢“มอว์ซินราม” หมู่บ้านกลางเมฆที่เปียกที่สุดในโลก ฝนตกเฉลี่ยปีละเกือบ 12,000 มิลลิเมตร!เรื่องของยุงที่คุณต้องรู้ แม้ตัวเล็กแต่ภัยร้ายไม่เล็ก
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
ถ้าความตายคือจุดจบ แล้วเราจะกลัวมันไปทำไม?รวม 5 สิ่งที่ทำให้ งู นั้น "กลัว" ได้ มีอะไรบ้างมาดูกันได้เลยจ้าเผยภาพลูกหมึกมหึมา หรือ หมึกโคลอสซัล (Colossal squid) ตำนานหนึ่งในสัตว์ทะเลหายากได้เป็นครั้งแรก!!มนุษย์เกิดมาเพื่ออะไร? คำถามที่เรียบง่าย แต่เปลี่ยนชีวิตคนได้ทั้งชีวิต
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง