ภาพยนตร์สิ่งแวดล้อมที่คนรักษ์โลกจะต้องชอบ
เขียน โดย Shuk-Wah Chung
การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ภัยแล้งรุนแรง พายุภัยพิบัติ ผู้คนโหยหาอาหาร สิ่งเหล่านี้ดูเหมือนฉากหลังของภาพยนตร์เกี่ยวกับโลกหลังหายนะ แต่นี้คือสถานการณ์จริงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เกิดขึ้นจริงอยู่ในขณะนี้
“วิกฤตโลกร้อนกำลังเกิดขึ้นจริง และกำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้”
ลีโอนาร์โด ดิคาปิโอ เจ้าของรางวัลออสการ์สาขาดารานำชาย และนักสิ่งแวดล้อม
ไม่ว่าจะเป็น ภาพยนตร์ An Inconvenient Truth ของ Al Gore หรือภาพยนตร์เรื่องการเปลี่ยนแปลงโลกของกรีนพีซ How to Change the World
ภาพยนตร์ล้วนสามารถบอกเล่าเรื่องราวปัญหาสิ่งแวดล้อมและช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เพียงจำกัดแค่ภาพยนตร์สารคดี หรือเรื่องราวที่แต่งขึ้นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Cli-Fi) ที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงผ่านการเล่าถึงกระแสวิกฤตภัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความจำเป็นที่ต้องลงมือทำอะไรสักอย่าง
อย่างไรก็ตาม ดังที่เจ้าของรางวัลออสการ์ตัวแรก และนักกิจกรรมด้านสภาพภูมิอากาศ ลีโอนาร์โด ดิคาปิโอ กล่าวไว้ว่า
“วิกฤตโลกร้อนกำลังเกิดขึ้นจริง และกำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้” และกำลังคุกคามทุกสรรพชีวิตบนโลก เราจำเป็นต้องร่วมมือกัน เลิกผลัดวันประกันพรุ่งในการแก้ปัญหา”
และนี่คือภาพยนตร์สิ่งแวดล้อมที่คนรักษ์โลกต้องไม่พลาด
A Plastic Ocean (พ.ศ. 2559)
เมื่อนักเล่นเซิร์ฟ นักข่าว และ ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์อย่าง Craig Leeson ได้ยินเรื่องเกี่ยวกับพลาสติกในมหาสมุทร เขารู้สึก“ตกใจและหวาดกลัว”
ผมอยากจะคิดว่าผมตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและผมรักทะเล และผมก็ใช้ทรัพยากรของโลกอย่างไม่ดูแลรักษา ผมถูกล้างสมองให้เชื่อว่าพลาสติกเป็นสิ่งที่ใช้แล้วทิ้ง เหมือนที่ทุกๆคนคิด เขาพูดกับสำนักข่าว South China Morning Post
ผลคือการออกเดินทางแบบส่วนตัวเพื่อค้นหาสาเหตุและวิธีการที่ขยะมากมายเหล่านั้นจบลงในมหาสมุทรของเรา เพราะท้ายที่สุดแล้ว หากพวกเราไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เราอาจจะลงเอยด้วยการที่ในมหาสมุทรมีพลาสติกมากกว่าปลาในปี พ.ศ. 2593
Behemoth (พ.ศ. 2558)
Zhao Liang ผลิตสารคดีที่แสดงถึงความกล้าหาญ เช่น คนที่อาศัยอยู่กับเชื้อHIV และ ชาวบ้านในกรุงปักกิ่ง แต่เขาเองก็อยากจะผลิตหนังที่เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมมานานแล้ว ผลก็คือภาพยนตร์เรื่อง Behemoth ภาพยนตร์หลอน 90 นาที ที่มีความสวยงามสไตล์กอธิค ประกอบเสียงซาวน์แทร็คมองโกเลียน และไม่มีบทพูด
ภาพยนตร์เรื่องนี้ตีแผ่ให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมและค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของการทำเหมืองถ่านหิน คนงานที่ทุกข์ทรมานจาก “โรคฝุ่นจับปอด” หรือ “Black Lung disease” ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ฝุ่นผงถ่านหินนั้นฝังตัวอยู่ในปอด ภาพของเหมืองถ่านหินตัดกันกับทุ่งหญ้าสีเขียวอันอุดมสมบูรณ์ และขยายตัวอย่างรวดเร็วลุกล้ำเมืองอันว่างเปล่า
ในขณะที่ประเทศจีนอาจกำลังก้าวไปสู่อนาคตพลังงานหมุนเวียนอย่างรวดเร็ว และกำลังดำเนินการปิดตัวเหมืองถ่านหิน ความจริงแล้วหลายๆส่วนของประเทศและเมืองใหญ่ๆนั้นกำลังทุกข์ทรมานจากผลข้างเคียงของอุตสาหกรรมถ่านหิน – มลพิษทางอากาศ ความเสี่ยงด้านสุขภาพ สิทธิแรงงาน และ ค่าตอบแทน และ จะยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปอีกหลายปี
Surviving El Nino (พ.ศ. 2559)
“พวกเราควรที่จะทำการเพาะปลูกตอนนี้ แต่ไม่มีน้ำ และไม่มีฝนก็แปลว่าไม่มีรายได้”
ภัยแล้งรุนแรงในประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์เอลนีโญได้ทำลายพืชผลเกษตรกรชาวฟิลิปปินส์จำนวนมาก ความถี่และความรุนแรงของเหตุการณ์เหล่านี้คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้เกิดภัยแล้งและพายุไต้ฝุ่นที่รุนแรง
หนังสั้นเรื่องนี้เกี่ยวกับเกษตรกรรมเชิงนิเวศที่สามารถเพิ่มความยืดหยุ่นทางการเกษตรของชาวนาในการต่อกรกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงและยากต่อการคาดเดา ยิ่งไปกว่านั้นเกษตรกรชาวฟิลิปปินส์จะพบว่าการใช้วิธีการเลี้ยงสัตว์เชิงนิเวศเป็นการปฎิบัติที่ช่วยให้พวกเขาปรับตัวให้เข้ากับวิกฤตสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน
Tomorrowland (พ.ศ. 2558)
จอร์จ คลูนีย์ และบริตต์ โรเบิร์ตสัน นำแสดงในภาพยนตร์อเมริกัน cli-fi แนวผจญภัยลึกลับเกี่ยวกับนักประดิษฐ์สติเฟื่องผู้ไม่แยแสอย่างแฟรงค์ วอล์คเกอร์ (คลูนีย์) และผู้หญิงอัจฉริยะทางวิทยาศาตร์อย่าง เคซี่ นิวตัน (โรเบิร์ตสัน) เมื่อเคซี่สะดุดกับเข็มกลัดวิเศษ มันแสดงให้เธอเห็นทันทีถึงโลกที่มีสภาพภูมิอากาศเลวร้าย เธอขอความช่วยเหลือจากแฟรงค์ ผู้ที่รู้ถึงพลังของเข็มกลัดนั้นด้วย พวกเขาสามารถรักษาโลกนี้จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่คาดการณ์ไว้ในอนาคตได้หรือไม่?
Mermaid (พ.ศ.2559)
ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฮ่องกงที่เป็นที่รู้จักกันสำหรับการสร้างหนังประเภทคอมเมดี้-แอ็คชั่น เช่น นักเตะเสี้ยวลิ้มยี่ (Shaolin Soccer) และคนเล็กหมัดเทวดา (Kung Fu Hustle) ภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของเขาอย่างเดอะ เมอร์เมดก็ไม่แตกต่างกันภาพยนตร์เรื่องอื่น แต่มีจุดสำคัญอย่างหนึ่งที่เด่นออกมาเหนือแอ๊คชั่นและแอฟเฟคซีจี คือ ลึกลงไปภาพยนตร์นี้เกี่ยวกับวิธีที่มนุษย์ทำลายสิ่งแวดล้อม และแน่นอนรวมไปถึงนางเงือกด้วย
ตั้งแต่ภาพยนตร์เริ่มฉาย ก็ทำรายได้มหาศาล กลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดของจีน ใช้ภาพมลพิษทางน้ำและสัตว์ทะเลที่ตายจริงๆ ทิ้งข้อสงสัยให้ผู้ชมไว้หนึ่งคำถาม
“สมมุติว่าถ้าโลกไม่มีหยดน้ำสะอาดสักหยดหรืออากาศบริสุทธิ์ให้เราหายใจ สิ่งที่คุณต้องการมากที่สุดคืออะไร”
Under the Dome (พ.ศ. 2558)
กว่าหนึ่งปีที่นักข่าวสืบสวนอย่าง Chai Jing เข้าไปเยี่ยมโรงงาน สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของรัฐ พูดกับผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมและเจ้าของธุรกิจ และเธอได้พบว่าเธอมีเนื้องอกในมดลูกในขณะตั้งครรภ์ลูกสาวของเธอ
ผลลัพธ์ก็คือ? เรื่องนี้กลายเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดของจีน มีผู้ชมมาแล้วกว่า 150 ล้านครั้ง!
หนังเรื่องนี้เกี่ยวกับอะไรน่ะหรือ? มลพิษทางอากาศ
Shuk-Wah Chung เป็นบรรณาธิการด้านเนื้อหา ที่กรีนพีซเอเชียตะวันออก
หากต้องการชมภาพยนตร์เพิ่มเติม ลองดูภาพยนตร์และวิดีโอกรีนพีซ ที่นี่
แปลโดย ชนนิกานต์ วาณิชยพงศ์ อาสาสมัครกรีนพีซ