เด็กๆปิดเทอมผู้ปกครองต้องคอยดูRip Current ทะเลดูด ระวังด้วยนะครับ!
เด็กๆปิดเทอม ผู้ปกครอง ต้องคอยดูครับ
อันนี้ต้องจำไว้เลยนะครับ และเวลาไปเที่ยวทะเล หัดสังเกตแนวของ rip current นี้ด้วย มีทุกชายหาดครับ มันเป็นช่องทางที่น้ำไหลกลับทะเล ที่สังเกตง่ายๆ ก็คือฟองคลื่นและเกลียวคลื่นมันนหายไปแหวกเป็นช่อง และที่ต้องระวังคือมันอยู่ในระดับที่ตื้นมาก แค่ครึ่งน่องก็สามารถดูดเราลงทะเลไปได้
ที่มีข่าวคนจมน้ำทะเลถูกคลื่นดูดลงทะเล หรือเดินอยู่แล้วถูกคลื่นกวาดลงทะเลก็คือกระแสน้ำ rip current นี้ทั้งนั้นเลยครับ บ้านเราข่าวเอาแต่ลงว่าจมน้ำตาย แต่ไม่เคยหาสาเหตุและให้ความรู้แก่ประชาชนเลย ไม่เคยบอกว่าการเอาตัวรอดง่ายนิดเดียว ปล่อยน้ำพัดไปแล้วพยายามว่ายขนานกับฝั่งให้หลุดออกมานอกแนวของกระแสน้ำ จากนั้นคลื่นทะเลจะพัดเรากลับเข้าฝั่งเอง
Rip Current คืออะไร
|
Rip Current
เป็นกระแสน้ำที่พัดในแนวตั้งฉากกับชายฝั่งออกสู่ทะเล เกิดจากแนวสันทรายหรืออุปสรรคใต้น้ำ
ปิดกั้นมิให้ไหลกลับคืนท้องทะเลได้สะดวกนอกจากบางช่องทางเท่านั้น
หรือเกิดจากการที่น้ำไหลพัดสอบมาปะทะแล้วไหลย้อนกลับออกไปในทะเล
สิ่งกีดขวางกระแสน้ำ เช่น แนวหิน แนวประการัง หรือสันทรายที่อยู่ใต้น้ำ แนวหินหรือแนวประการังมักจะอยู่คงที่ และเจ้าหน้าที่สามารถบอกเตือนกันได้ แต่แนวสันทรายมักจะมีการเคลื่อนพังหรือก่อตัวขึ้นใหม่ ยากแก่การระวังป้องกัน
แนวสันทรายใต้น้ำ มักเกี่ยวพันกับฤดูกาล และสภาพอากาศ หลังฝนตกหนัก
หรือ ในช่วงที่คลื่นน้ำทะเลปั่นป่วน มักมีผลให้ทรายตามชายหาดพังไหลย้อนลงไปตกตะกอนนอกแนวขอบชายฝั่งทะเล
ซึ่งทรายเหล่านี้เองเป็นสันทรายใต้น้ำที่ขัดขวางการไหลย้อนกลับของน้ำทะเลที่ถาโถมเข้าฝั่งด้วยอิทธิพลของคลื่น น้ำทะเลจำนวนมากถูกบังคับให้ไหลย้อนกลับออกไปในช่องเปิดของสันทราย และกลายเป็น Rip Current ที่ทรงอานุภาพพร้อมจะปลิดชีพของคนที่ไม่รู้จักมัน
เพราะฉะนั้น หลังฝนตกหนัก หรือ หลังจากวันที่ทะเลปั่นป่วน จงงดเล่นน้ำทะเลสัก 2-3 วันเพราะหลังจากนั้น สันทรายทะเลที่เกิดขึ้นจะพัง และทรายจะถูกกอบขึ้นมากองบนทรายตามเดิม
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ดร.สมเกียรติ ขอเกียรติวงศ์ หัวหน้ากลุ่มงานสมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง บอกว่า ปกติชายหาดแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะทางธรณีวิทยาแตกต่างกัน ทำให้บางฤดูไม่เหมาะกับการเล่นน้ำ โดยฝั่งอ่าวไทยในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้โอกาสที่จะได้รับอันตรายจากคลื่นลมแรงมีมาก เพราะชายฝั่งส่วนใหญ่มีลักษณะเปิด
เมื่อมีคลื่นเคลื่อนตัวเข้าหาฝั่งที่มีลักษณะตรงหรือโค้ง บวกกับความแรงที่ผิวน้ำ และลักษณะความลึกที่ไม่เท่ากัน โอกาสที่จะเกิดการเบี่ยงเบนของคลื่นของฝั่งซ้ายและขวาที่ปะทะกันทำให้เกิดแรงดันน้ำดูดลงไปใต้น้ำ โดยคนที่อยู่ในตำแหน่งพอดีจะถูกคลื่นดูดลงไปที่ก้นอ่าว
"เวลาที่น้ำดูด ถ้าเป็นคนว่ายน้ำแข็งจะพยายามว่ายกลับมาจุดเดิม แต่มักจะถูกน้ำพาไหลออกไปเรื่อยๆ วิธีการช่วยเหลือเบื้องต้นคือ ต้องว่ายเลี่ยง น้ำดูดไม่ใช่มีแต่ในอ่าวไทย แต่ฝั่งอันดามัน เช่น หาดกะตะ กะรน ป่าตอง และสุรินทร์ จ.ภูเก็ต ก็มีคนเสียชีวิตจากน้ำดูดในช่วงมรสุมเช่นกัน" ดร.สมเกียรติ กล่าว ด้านนายเฉลิมศักดิ์ วานิชสมบัติ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางอุทยานฯ มีการติดป้ายเตือนนักท่องเที่ยว และติดธงบริเวณหาดแม่รำพึงให้ระวังอันตรายจากการเล่นน้ำในบริเวณดังกล่าวแล้ว และมีรถตระเวนเตือนนักท่องเที่ยวเป็นประจำ ซึ่งหาดดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อนักท่องเที่ยว เพราะเป็นหาดที่มีคลื่นแรง และลักษณะของหาดลาดเทลงไปในทะเล หากเล่นน้ำโดยไม่ระมัดระวังก็อาจจะเกิดอันตรายได้ อย่างไรก็ตาม ลักษณะดังกล่าวนี้มีชื่อเรียกว่า "rip current หรือ ริปเคอร์เร้นท์" เป็นกระแสน้ำที่พัดในแนวตั้งฉากกับชายฝั่งออกสู่ทะเล โดยเกิดจากการที่น้ำทะเลถูกอุปสรรคใต้น้ำปิดกั้นมิให้ไหลกลับคืนท้องทะเลได้สะดวกนอกจากบางช่องทางเท่านั้น หรือเกิดจากการที่น้ำไหลพัดสอบมาปะทะแล้วไหลย้อนกลับ ออกไปในทะเล อุปสรรคเช่น แนวหิน แนวปะการัง หรือสันทรายที่อยูใต้น้ำแนวหินหรือแนวปะการังมักจะอยู่คงที่ และเจ้าหน้าที่สามารถบอกเตือนกันได้ แต่แนวสันทรายมักจะมีการเคลื่อนพังหรือก่อตัวขึ้นใหม่ ยากแก่การระวังป้องกัน
นอกจากนี้ "rip current" ยังเกี่ยวพันกับฤดูกาล และสภาพอากาศหลังฝนตกหนักหรือในช่วงวันที่คลื่นน้ำทะเลปั่นป่วน มักจะมีผลให้ทรายตามชายหาดพังไหลย้อนลงไปตกตะกอนนอกแนวขอบชายฝั่งทะเล ซึ่งทรายเหล่านี้เองเป็นสันทรายใต้น้ำที่ขัดขวางการไหลย้อนกลับของน้ำทะเลที่ถาโถมเข้าฝั่งด้วยอิทธิพลของคลื่น น้ำทะเลจำนวนมากถูกบังคับให้ไหลกลับออกไปในช่องเปิดของของสันทราย และกลายเป็น RipCurrent ที่ทรงอานุภาพพร้อมจะปลิดชีพของคนที่ไม่รู้จักมัน เพราะฉะนั้น หลังฝนตกหนัก หรือ หลังจากวันที่ทะเลปั่นป่วน จงงดลงเล่นน้ำทะเลสักสองสามวัน เพราะหลังจากนั้นสันทรายทะเลที่เกิดขึ้นจะพังและทราย ก็จะถูกกอบขึ้นมากองบนหาดทรายตามเดิม
เมื่อคลื่นม้วนตัวกลับลงทะเลหลังจากซัดเข้ากระทบฝั่ง สันและเนินทรายต่างๆ ที่วางตัวเรียงอยู่ใต้พื้นน้ำจะเป็นอุปสรรคขวางไม่ให้น้ำไหลคืนลงทะเลได้สะดวก ทำให้น้ำจะไปไหลรวมกันย้อนลงทะเลที่ช่องรอยต่อระหว่างสันทราย เกิดเป็นกระแสดูดออกจากฝั่งที่เรียกว่า Rip Current กระแสน้ำที่เกิดขึ้นนี้อาจจะมีความเร็วได้ตั้งแต่ 0.5-2.5 เมตร/วินาที ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความแรงของคลื่น และสภาพพื้นทะเลใต้ผิวน้ำ |