ใครว่ากิน “นมแม่” แล้วปลอดภัยควรเปลี่ยนความคิดเสียใหม่
จากความเชื่อดั้งเดิมที่ว่า “กินนมแม่แล้วปลอดภัยที่สุด” คุณแม่ยุคใหม่ต้องอ่านบทความนี้ เพราะความเชื่อเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แต่ดั้งเดิมที่เราได้รับการปลูกฝังว่าดีที่สุดอาจจะไม่ถูกต้องเสียทีเดียว โดยการวิจัยของสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่ง สหรัฐอเมริกา ยังคงยืนยันว่า “นมแม่” เป็นแหล่งโภชนาการมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพของเด็กมากที่สุด แต่เด็กก็ยังคงได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน โดยผลงานการวิจัยชิ้นใหม่นี้ชี้ให้เห็นว่า “ยิ่งกินนมแม่นานมากเท่าไหร่ ยิ่งเพิ่มโอกาสของสภาวะ วิตามิน D บกพร่อง”
ทางการแพทย์ได้แนะนำให้แม่ที่เลี้ยงลูกด้วยด้วยนมแม่ ควรบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำพวกแร่ธาตุและวิตามินเพิ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “วิตามิน D” เพราะปริมาณของวิตามินในนมของแม่อาจมีปริมาณไม่มากพอกับพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็ก ซึ่งทางการแพทย์นั้นได้ย้ำเสมอว่า วิตามิน D เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียม ดังนั้นการได้รับวิตามิน D ในปริมาณที่น้อยจนเกินไป เด็กอาจมีความเสี่ยงของโรคกระดูกอ่อน และโรคกระดูกโค้งงอผิดรูป ซึ่งทาง สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่ง สหรัฐอเมริกา (The American Academy of Pediatrics) แนะนำให้เด็กใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำพวกวิตามิน D สำหรับช่วงขวบปีแรกไม่ว่าเด็กจะกินนมแม่หรือนมสำเร็จรูปก็ตาม
นอกจากนี้จากงานวิจัยของคุณหมอ ซาร่า โรนิส (Dr.Sarah Ronis) กุมารแพทย์จากสถาบันการแพทย์ และ โรงพยาบาลเด็ก แห่งมหาวิทยาลัย เคสเวสเทิร์น คลิฟแลนด์ สหรัฐอเมริกา ที่ตีพิมพ์ในวารสารด้านสาธารณสุขของอเมริกัน (American Journal of Public Health) ฉบับล่าสุดพบว่าเด็กที่ทำการวิจัยกว่า 2,000 คนในประเทศแคนาดา ที่กินอาหารเด็กและนมแม่ควบคู่กันมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการของโรคขาด “วิตามิน D” คุณหมอ ซาร่ายังพบอีกว่าเด็กที่กินนมแม่ถึงอายุ 3 ขวบจะมีความเสี่ยงของระดับวิตามิน D ต่ำ ถึงร้อยละ 29 และเด็กที่กินนมแม่ถึงอายุ 2 ปีจะมีโอกาสเสี่ยงร้อยละ 16 ถึงแม้ว่าหลังจากช่วงที่หยุดกินนมแม่จะกินอาหารเด็กตามปกติแล้วก็ตาม
งานวิจัยของคุณหมอ ซาร่า นี้ไม่ได้ขัดแย้งกับคำแนะนำใดๆของทางองค์การอนามัยโลก (W.H.O.) และยังกล่าวย้ำด้วยว่า “นมแม่ยังคงเป็นแหล่งโภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับทารกแรกเกิด” และสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานถึงสองปี โดยไม่ต้องเป็นกังวลกับโรคขาด “วิตามิน D” ตราบใดที่คุณแม่มีนมเพียงพอให้เด็กดื่มอย่างน้อย 32 ออนซ์ต่อวัน แต่หากปริมาณของนมไม่เพียงพอควรต้องเสริม “วิตามิน D” จากแหล่งอาหารอื่น ๆ ซึ่งทางคุณหมอ ซาร่า นั้นได้ย้ำว่า โรคขาดวิตามิน D นั้นมีความอันตรายจริงๆ ซึ่งในเคสที่ร้ายแรงอาจจะนำไปสู่ “โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง” แถมยังอาจเกิดภาวะการทำงานผิดพลาดของแคลเซียมซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในกระดูกของเด็กได้อีกด้วย
ที่มา: http://thairats.com/ข่าวเด่น_ประเด็นร้อน/กินนมแม่-แล้วปลอดภัยควร