สมองชายกับหญิงขนาดไม่ได้ต่างกัน
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัย โรซาไลนด์ แฟรงคลิน ค้นพบหลักฐานที่หักล้างความเชื่อที่ว่า สมองของผู้ชายกับของผู้หญิงต่างกันมาก โดยเฉพาะในส่วนฮิปโปแคมปัสที่มีความเกี่ยวข้องกับอารมณ์ของสมอง
รศ.ดร.ลิเซ อิเลียต ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา คณะแพทยศาสตร์ และทีมวิจัยได้ศึกษาโครงสร้างของสมองด้วย MRI และพบว่าสมองส่วนฮิปโปแคมปัสของผู้ชายกับผู้หญิงไม่ได้มีขนาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยการวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นการวิเคราะห์เชิงสถิติที่เอาข้อมูลจากหลายๆการศึกษามารวมกัน คร้งนี้ นักวิจัยได้เปรียบเทียบงานวิจัยจากบทความวิชาการ 76 ฉบับ มีผู้เข้าร่วมการทดลองทั้งหมดกว่า 6,000 คน
"คนที่พยายามจะเหมารวมหาความแตกต่างระหว่างเพศชายกับหญิงก็มักจะคิดถึงเรื่องความแตกต่างในสมองอย่างห้ามไม่ได้" ดร.อิเลียต เผย
"พวกเขามักจะคิดไปไกลทั้งที่มีข้อมูลตัวอย่างเพียงนิดเดียว แต่การศึกษาจากฐานข้อมูลหลายๆที่ก็ทำให้เราสามารถรวมเอาข้อมูลของชายกับหญิงมาเป็นจำนวนมากได้ เราได้ค้นพบว่าความแตกต่างที่เคยคิดกันไว้นั้นไม่ได้มีอยู่จริงหรือมีน้อยมาก"
ฮิปโปแคมปัสเป็นสมองที่อยู่ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาของสมอง อยู่ภายใต้กลีบสมอง งานวิจัยนี้ยังเป็นการ"หักล้าง"ความเชื่อที่ว่าผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะอ่อนไหวกับอารมณ์ มีทักษะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ดีกว่า และจำเรื่องคำได้ดีกว่า เพราะมีฮิปโปแคมปัสที่ใหญ่กว่า
"หลายคนเชื่อว่า ความแตกต่างระหว่างสมองผู้ชายกับผู้หญิงเป็นเรื่องใหญ่จริงๆ แต่เมื่อเราศึกษาระดับประชากรจากการเอาข้อมูลมารวมกันแล้ว ความแตกต่างนั้นมีน้อยมากเลย"
นอกจากนี้ ดร.อิเลียต ยังได้ชี้ด้วยว่า สมองส่วนคอร์ปัส คอลโลซัม ของชายกับหญิงก็ไม่ได้ต่างกันมาก โดยสมองส่วนนี้เป็นส่วนสีขาวที่ทำให้สมองทั้งสองข้างสื่อสารกันได้เป็นอย่างดี นั่นคือ ผู้ชายกับผู้หญิงนั้นมีการประมวลผลทางภาษาที่ต้องใช้สมองทั้งสองข้าง ไม่ได้แตกต่างกันนัก โดยงานวิจัยนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ NeuroImage แล้ว
งานวิจัย: Rosalind Franklin University of Medicine and Science. "Male/female brain differences? Big data says not so much." ScienceDaily. ScienceDaily, 29 October 2015. <www.sciencedaily.com/releases/2015/10/151029185544.htm>.
งานวิจัย: Anh Tan, Wenli Ma, Amit Vira, Dhruv Marwha, Lise Eliot. The human hippocampus is not sexually-dimorphic: Meta-analysis of structural MRI volumes. NeuroImage, 2016; 124: 350 DOI:10.1016/j.neuroimage.2015.08.050