ขังวังหลวง จองจำอิสรภาพ“นางห้าม”
จากภาพด้านซ้ายคือ ทั้งสองพระองค์ทรงฉายพระรูป
จากภาพด้านขวาคือ ประตูศรีสุดาวงศ์ ประตูที่เปิดเข้าไปยังเขตพร
"ขังวังหลวง" หรือในอีกชื่อคือ "จำสนม" เป็น บทลงโทษอันร้ายแรงที่ใช้ลงโทษเหล่าพระราชวงศ์หญิง แต่การลงโทษนั้นจะมีรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากการลงโทษสามัญชนทั่วไป เพราะท่านๆเหล่านั้นได้ชื่อว่าเป็นเจ้าหญิงในพระราชวงศ์ ดังนั้นคำว่าขังวังหลวงในที่นี้ก็คือ การนำโซ่ตรวนทองคำ พร้อมเครื่องยศไปเชิญเสด็จองค์ผู้กระทำความผิดเข้าไปประทับยังตำหนักฝ่ายใน ภายในพระบรมมหาราชวัง ในขณะที่ถูกคุมขังอยู่นั้นจะเรียกสถานที่จองจำว่าคุกหลวงทันที ถึงแม้ว่าจะถูกคุมขังอยู่ในตำหนักของพระองค์เองก็ตาม แต่หากองค์ผู้กระทำความผิดนั้นมีตำแหน่งเป็นสนม-นางใน ของพระเจ้าอยู่หัว นอกจากจะถูกจองจำอิสรภาพทางกายแล้ว ยังส่งผลถึงอิสรภาพทางใจอีกด้วย เพราะถือว่าท่านพระองค์นั้นได้ถวายตัวเป็นคนของหลวงแล้ว จะไม่สามารถไปเสกสมรสกับชายอื่นได้ตลอดชีวิต ดังเรื่องที่จะนำมาเป็นกรณีศึกษาของวันนี้ คือ
ครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จไปงานประกวดภาพเขียน ณ โรงละครวังพญาไท ซึ่งเป็นงานชุมนุมของเหล่าพระราชวงศ์ และชนชั้นสูงในสมัยนั้น ภายในงานนั้นเองพระองค์ได้มีโอกาสพบปะ และพูดคุยกับ หม่อมเจ้าหญิง วรรณวิมล จากราชสกุล วรวรรณ จนกระทั่งเกิดมีใจปฏิพัทธ์ต่อกัน และแล้วในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 หลังจากงานที่วังพญาไทเพียงไม่กี่เดือนนั้น ได้มีประกาศสำนักพระราชวังสถาปนา หม่อมเจ้าหญิงวรรณวิมล ขึ้นเป็น "พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี" ในที่ของพระคู่หมั้น และตอกย้ำถึงความสนิทเสน่หาโดยการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุล จอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า ฝ่ายใน(ประดับเพชร สายสะพายสีชมพู)โดยมีพระบรมราชโองการตอนหนึ่งว่า "เพื่อจะกระทำการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในภายภาคหน้า"
พระองค์เจ้าวัลลภาเทวีผู้นี้ทรงคร่ำหวอดอยู่ในวงสังคมชั้น สูง ทรงมีพระอุปนิสัย และมีวิถีชีวิตที่แตกต่างไปจากราชนารีทั่วไป เพราะกล้าที่จะพูดและแสดงออกอย่างตรงไปตรงมา ทรงมักจะทำอะไรๆด้วยพระองค์เองดังที่บุรุษเพศทำได้ เช่นทรงนั่งรถไปเสวยชากาแฟที่โฮเต็ลด้วยตัวเอง และยังทรงเขียนบทความเรื่อง "ดำริหญิง" ลงในหนังสือรายสัปดาห์ ที่มีทำนองเนื้อหาส่งเสริมให้สตรีมีความเท่าเทียมกับบุรุษ โดยในเนื้อหามักจะสื่อว่า สตรีจะอุ้มชูหรือชักบุรุษให้ต่ำลงก็ย่อมทำได้ นับได้ว่าทรงมีกรอบแนวความคิดที่นำสมัยพอสมควร
แต่แล้ว!!...ก็เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2463 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้มีราชกิจจานุเบกษาประกาศถอนหมั้นจาก พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี โดยมีใจความสำคัญตอนหนึ่งในประกาศว่า"...มีพระราชอัธยาศัยมิได้ต้องกัน ซึ่งอาจจะเป็นเพราะพระองค์เจ้าวัลลภาเทวีมีพระโรคประจำพระองค์อันเป็นไปใน ทางเส้นประสาทไม่ปรกติ..." พร้อมกันนั้นได้มีพระบรมราชโองการให้ท้าวนางจ่าโขลนนำโซ่ตรวนทองคำใส่พานทอง ไปเชิญเสด็จพระองค์เจ้าวัลลภาเทวีมายังพระบรมมหาราชวัง
หลังจากวันนั้นเรื่องทรงถอนหมั้นนี้จึงเป็นกระแสอันโด่งดัง ไปทั่วพระนคร ไม่ว่าจะในราชสำนักหรือชาวบ้านประชาชนต่างก็พูดถึงสาเหตุที่ทำให้พระเจ้า อยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงโกรธจนประกาศถอนหมั้น โดยสาเหตุที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดก็คือ พระกริยาของพระองค์เจ้าวัลลภาเทวีที่ดูเป็นคนตรง มีความคิดที่ทันสมัยโดยเฉพาะในเรื่องของบทบาทสตรีเพศ และที่สำคัญคือ มีเรื่องกับมหาดเล็กคนสนิทของพระเจ้าอยู่หัว สืบเนื่องจากครั้งหนึ่งพระเจ้าอยู่หัวเสด็จโดยรถพระที่นั่งมาพร้อมกับพระ องค์เจ้าวัลลภาเทวีเมื่อถึงที่หมาย มหาดเล็กคนสนิทผู้นั้น ได้ยื่นมือไปรอรับเสด็จเพื่ออำนวยความสะดวกตามอย่างธรรมเนียมชั้นสูงของยุโร บ แต่ทันใดนั้น!..พระองค์เจ้าวัลลภาเทวีก็ทรงชักพระหัตถ์หนีพร้อมมีรับสั่ง ตำหนิด้วยถ้อยคำรุนแรง ...เล่ากันว่าในวันที่พระองค์ถูกจับกุมตัวนั้น พระองค์ไม่ทรงทูลขอพระราชทานอภัยโทษแต่อย่างใด และทรงห้ามมิให้ผู้ใดไปทูลขอพระราชทานอภัยโทษแทนพระองค์อีกด้วย ทรงประทับอยู่ในตำหนักฝ่ายในจนกระทั่งพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคต
เมื่อถึงแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัว รัชกาล 7 พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการให้ปลดปล่อย พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ออกจากพระบรมมหาราชวัง และพระราชทานที่ดินพร้อมตำหนักที่ประทับให้อยู่บริเวณแยกพิชัย ถนนนครไชยศรี ขณะที่ได้รับการปล่อยตัวออกมานั้น พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี มีพระชนม์ 33 พรรษา ทรงครองพระองค์เป็นโสดอย่างสมพระเกียรติยศในฐานะ"นางห้ามของร.6" ตราบจนสิ้นพระชนม์