ภาพถ่ายสมองเผยให้เห็นว่าคนเรา 'สนับสนุน' การฆ่าอย่างไร
งานวิจัยชิ้นใหม่ได้ไขข้องใจในวิธีที่คนนั้นสามารถกลายไปเป็นฆาตกรได้อย่างไรในบางสถานการณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การทำงานของสมองนั้นแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับว่าการฆ่านั้นถูกมองว่าทำไปด้วยเหตุผลที่ถูกต้องหรือไม่
ในการวิจัยดังกล่าวซึ่งนำโดยดร. Pascal Molenberghs นั้นได้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Social Cognitive and Affective Neuroscience แล้วผู้เข้าร่วมการทดลองในงานวิจัยครั้งนี้ได้ทำการเล่นเกมซึ่งพวกเขาได้จินตนาการถึงตัวเองว่า กำลังยิงพลเมืองที่ไม่มีความผิด (ความรุนแรงที่ไม่มีเหตุผลอันถูกต้องมารองรับ) หรือทหารข้าศึก (ความรุนแรงอันมีเหตุผลมารองรับ)
ซึ่งการทำงานของสมองของผู้เข้าทดสอบนั้นได้ถูกบันทึกไว้ผ่านการถ่ายภาพสนามแม่เหล็ก (fMRI) ในระหว่างที่พวกเขากำลังเล่นเกมดร. Molenbergs กล่าวว่า ผลลัพธ์ที่ได้นั้นได้มอบความเข้าใจที่สำคัญว่า มนุษย์นั้นในบางสถานการณ์เช่นสงครามจะสามารถก่อความรุนแรงมากๆ ต่อผู้อื่นได้“เมื่อเปรียบเทียบผู้เข้าร่วมทดสอบจินตนาการว่า ตัวเองกำลังยิงพลเมืองธรรมดากับยิงทหารข้าศึกนั้น การทำงานที่สูงกว่าจะสามารถพบได้ในส่วนของสมองชั้นนอกที่เรียกว่า lateral orbitofrontal cortex (OFC)
ซึ่งเป็นพื้นที่สมองที่สำคัญและมีความเกี่ยวข้องกับการทำการตัดสินใจทางด้านศีลธรรมต่าง” ดร. Molenberghs กล่าว“ยิ่งผู้เข้าทดสอบรู้สึกผิดกับการยิงพลเมืองมากเท่าไหร่ การตอบสนองของสมองส่วน OFC ก็จะมากขึ้นเท่านั้น แต่เมื่อเวลาที่พวกเขาจินตนาการว่า กำลังยิงทหารข้าศึกอยู่นั้น เราไม่พบการทำงานของสมองส่วน OFC เลย”ผลลัพธ์ที่ได้นั้นแสดงให้เห็นว่ากลไกของระบบประสาทที่ปกติจะเกี่ยวข้องกับการทำอันตรายต่อผู้อื่นนั้นมีปฏิกิริยาน้อยลงเมื่อความรุนแรงที่กระทำต่อกลุ่มผู้ถูกกระทำบางกลุ่มนั้นถูกมองว่าสมเหตุสมผลหรือเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว“
การค้นพบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเมื่อคนๆ หนึ่งนั้นจะต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เขาเห็นว่า เป็นความรุนแรงที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องนั้น เขาจะมีความรู้สึกผิดที่เกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าวที่แตกต่างกัน -
ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เราสามารถเห็นว่าความรู้สึกผิดนั้นเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองเฉพาะส่วนอย่างไรบ้าง” ดร. Molenberghs กล่าวกลุ่มนักวิจัยได้หวังที่จะศึกษาเพิ่มเติมว่าคนนั้นรู้สึกเฉยชาต่อความรุนแรงได้อย่างไร รวมถึงว่าบุคลิกนิสัยและการเป็นสมาชิกกลุ่มของทั้งผู้กระทำและผู้่ถูกกระทำนั้นส่งผลอย่างไรต่อกระบวนการเหล่านี้ด้วยที่มา : http://www.sciencedaily.com/releases/2015/04/150408100651.htm