“ตำลึง”ไม่ใช่แค่ผักริมรั้ว..แต่มีสรรพคุณต้านสารพัดโรค!! ที่คุณต้องทึ่ง!!
ตำลึง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Coccinia grandis (L.) Voigt) เป็นไม้เลื้อยที่มีมือจับใช้สำหรับเลื้อยเกาะต้นไม้ใหญ่หรือไม้ปักหลัก มีสีเขียวจัดเป็นสมุนไพรไทย ตำลึงมีชื่อท้องถิ่นอื่นอีกคือ ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเด๊าะ (กะเหรี่ยงและแม่ฮ่องสอน) ตำลึง,สี่บาท (ภาคกลาง) ผักตำนิน (ภาคอีสาน)
ตำลึงนั้นมี 2 ชนิด
มีตำลึงตัวผู้และตำลึงตัวเมีย ตำลึงที่เรากินกันทุกวันจะเป็นตำลึงตัวเมีย เพราะใบสวยงามกว่าตำลึงตัวผู้ ตำลึงตัวผู้ถ้าคนที่ธาตุอ่อนกินเข้ามาก จะทำให้ท้องเสียได้ ดังนั้นเวลากินต้องระวังถ้าเราจะเก็บตำลึงมากินเองตามรั้วบ้าน ก็ควรสังเกตให้ดีว่า เป็นตัวผู้หรือว่าตัวเมีย ถ้าเป็นตำลึงตัวผู้ จะมีใบจะไม่สวย เล็กๆ โดยสังเกตที่ใบเว้าลึกๆจะแตกต่างจากตัวเมีย ดอกตำลึงเป็นสีขาว มีแฉก 5 แฉกตำลึงตัวผู้ออกดอก แต่ไม่มีลูกเหมือนตัวเมีย
ตำลึงตัวเมีย
เป็นตำลึง ใบเดี่ยวรูปหัวใจใบจะใหญ่สมบูรณ์ ไม่เว้าลึก มีดอกสีขาว มีลูกอ่อนสีเขียวลายขาวคล้ายแตงกว่า สวยงาม และสามารถปลูกเป็นไม้ประดับริมรั้วก็จะสวยงาม เพราะมีทั้งใบ ดอก และผลที่สวยงาม
ตำลึงเป็นผักที่เกิดขึ้นได้ง่าย ปลูกไม่ยาก มีทุกฤดูกาล เป็นผักที่ปลอดสารพิษ มักพบมากในฤดูฝน ผักตำลึงมีรสชาติอร่อย เป็นผักที่ไม่มีรสขม รับประทานง่าย สามารถนำมาทำอาหารได้หลายเมนู อาทิเช่น ต้มจืดตำลึง แกงจืดตำลึง ผัดยอดตำลึง ไข่เจียวทอดใส่ตำลึง นำยอดตำลึงมาลวกจิ้มน้ำพริกก็อร่อย เรียกได้ว่ามีคุณค่าทางอาหารสูง และมีสรรพคุณทางจัดเป็นสมุนไพรชั้นเลิศ ที่หาได้ง่ายและราคาไม่แพงอีกด้วยค่ะ
คุณค่าทางอาหารของตำลึง
ยอดของตำลึงใช้ปรุงอาหาร ตำลึง 100 กรัม ประกอบไปด้วยโปรตีน 3.3 กรัม
วิตามินบี1 0.17 มิลลิกรัม
แคลเซียม 126 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม
ไนอาซีน 1.2 มิลลิกรัม
วิตามินซี 13 มิลลิกรัม
ใยอาหาร 2.2 กรัม
และเบต้าแคโรทีนสูงถึง 699.88 ไมโครกรัม มากกว่าฟักทองและมันเทศซึ่งมีเบต้าแคโรทีน 225 และ 175 ไมโครกรัมตามลำดับ ต่อปริมาณ 100 กรัมเหมือนกัน
ประโยชน์ของตำลึง
ใบดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ตัวร้อน ดับพิษฝี แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้คัน ดอก แก้คัน เมล็ด ตำผสมน้ำมันมะพร้าวทาแก้หิด เถา ใช้น้ำจากเถาหยดตา แก้ตาฟาง ตาแดง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบในตา ดับพิษ แก้อักเสบ ชงกับน้ำดื่มแก้วิงเวียนศีรษะ ราก ดับพิษทั้งปวง แก้ตาฝ้า ลดไข้ แก้อาเจียน น้ำยาง ต้น ใบ ราก แก้โรคเบาหวาน หัว ดับพิษทั้งปวง
รักษาโรคเบาหวาน : ใช้เถาแก่ ๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ หรือน้ำคั้นจากผลดิบ ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จะสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้
รักษาอาการแพ้ ลดอาการคัน อาการอักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย เช่น ยุงกัด มดคันไฟ ใบตำแย แพ้ละอองข้าว โดยนำใบตำลึงสด 1 กำมือ ( ใช้มากน้อย ตามบริเวณที่มีอาการ ) ล้างให้สะอาด แล้วตำให้ละเอียดผสมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นน้ำจากใบเอามาทาบริเวณที่มีอาการ พอน้ำแห้งแล้วทาซ้ำบ่อยๆจนกว่าจะหาย
ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ : ควรรับประทานสด ๆ เพราะเอนไซม์ในตำลึงจะย่อยสลายง่ายเมื่อโดนความร้อน
แผลอักเสบ : ใช้ใบหรือรากสด ตำพอกบริเวณที่เป็น แก้งูสวัด, เริม : ใช้ใบตำลึงสด 2 กำมือ นำล้างให้สะอาด ผสมพิมเสนหรือดินสอพอง 1 ใน 4 ส่วน พอกหรือทาบริเวณที่เกิดอาการ
แก้ตาช้ำตาแดง : ตัดเถาเป็นท่อนยาวประมาณ 2 นิ้วนำมาคลึงพอช้ำ แล้วเป่า จะเกิดฟองใช้หยอดตา ทำให้ใบหน้าเต่งตึง : นำยอดตำลึง 1/2 ถ้วย น้ำผึ้งแท้ 1/2 ถ้วย นำมาผสม ปั่นให้ละเอียด พอกหน้า ทิ้งไว้ 20 นาที แล้วล้างออก ทำทุกวันได้จะดีมาก
– ใบใช้ในการแก้ไข้ ตัวร้อน ตาแดง ตาเจ็บ
– เถานำน้ำต้มจากเถาตำลึงมาหยอดตาแก้ตาแดง ตาฟาง
– ดอกตำลึงช่วยทำให้หายจากอาการคันได้
– รากใช้แก้อาการอาเจียน ตาฝ้า
– น้ำยางจากต้นและใบช่วยลดน้ำตาลในเลือด
โอ้โห..ไม่น่าเชื่อเลยใช่ไหมละคะ ว่า ผักที่ขึ้นเองริมรั้ว หรือ ข้างทาง จะมีสรรพคุณทางยา รักษาได้หลายโรคขนาดนี้ รู้อย่างนี้แล้วต้องรีบไปเก็บตำลึงอยู่รอบๆรั้วบ้าน มาทำเมนูเพื่ออร่อยสุขภาพทานดีกว่านะคะ ต้องขอตัวลาไปก่อนค่ะพบกับสาระน่ารู้เรื่องราวดีดีเกี่ยวกับสุขภาพได้ใหม่ในครั้งต่อไปนะคะ สวัสดีค่ะ