ที่มาของคำว่า "อีแรด"
แรด (Rhinoceros) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Animalia, Chordata, Mammalia, Perissodactyla, Rhinocerotidae
ลักษณะ : แรดจัดเป็นสัตว์พวกกีบคี่ คือมีเล็บ 3 เล็บทั้งเท้าหน้าและเท้าหลัง ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ 1.6-1.8 เมตร น้ำหนักตัว 1,500-2,000 กิโลกรัม แรดมีหนังหนา (ในเมื่อมีหนังหนาแล้วต้องเพิ่มปัญญาควายเข้าไปด้วย) และมีขนแข็งขึ้นห่างๆ สีพื้นเป็นสีเทาออกดำ ส่วนหลังมีรอยพับของหนัง 3 รอย ตรงบริเวณหัวไหล่ ด้านหลังของขาคู่หน้าและด้านหน้าของขาคู่หลัง แรดตัวผู้มีนอเดียวยาวไม่เกิน 25 เซนติเมตร ส่วนตัวเมียจะเห็นเป็นเพียงปุ่มนูนขึ้นมา
อุปนิสัย : ในอดีตเคยพบแรดออกหากินรวมกันเป็นฝูง แต่ปัจจุบันแรดหากินตัวเดียวโดดๆ หรืออยู่เป็นคู่ในฤดูผสมพันธุ์ อาหารของแรดได้แก่ ยอดไม้ ใบไม้ กิ่งไม้ และผลไม้ที่ร่วงหล่นบนพื้นดิน แรดไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอนจึงสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนานประมาณ 16 เดือน
แรด มีรูปร่างโดยทั่วไปคือ ตาเล็ก ปากงุ้มเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม มีหนังที่หนามาก ในบางชนิดอาจเห็นเป็นชั้นคล้ายเกราะ และมีลักษณะเด่นที่สุด คือ เขาบริเวณสั้นจมูกที่งอกแหลมยื่นยาวอกมา เรียกกันว่า "นอ" ซึ่งใช้เป็นอาวุธในการพุ่งชนป้องกันตัว ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว นอไม่ใช่เขาหรือกระดูกหากแต่เป็นขนที่ขึ้นอย่างหนาแน่นจนกลายเป็นของแข็ง นอแรดอาจยาวได้ถึง 1.5 เมตร แรดโดยทั่วไปจะมีนอ 2 นอ แต่บางชนิดจะมีเพียงนอเดียว
แรด เป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อ ดังนั้นจึงชอบนอนแช่โคลนหรือแช่ปลักเหมือนหมูหรือสัตว์ชนิดอื่น ๆ เพื่อดับความร้อนและไล่แมลงที่มารบกวน หากินในเวลากลางคืน กลางวันนอนพักผ่อนซึ่งอาจนอนหลับในท่ายืนก็ได้
แรด เป็นสัตว์ที่มีสายตาแย่มาก แต่มีประสาทรับกลิ่นและประสาทหูดีเยี่ยม จึงเป็นสัตว์ที่มีนิสัยฉุนเฉียวง่าย โกรธง่าย ประกอบกับขนาดลำตัวที่ใหญ่จึงมักไม่ค่อยมีศัตรูตามธรรมชาติ ในปัจจุบันมีแรดหลงเหลืออยู่เพียง 5 ชนิด เท่านั้น พบในทวีปแอฟริกา 2 ชนิด ในเอเชีย 3 ชนิด และทุกชนิดเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์แล้วทั้งสิ้น ศัตรูของแรดเพียงอย่างเดียว คือ มนุษย์ ที่ล่าแรดเพื่อเอานอเนื่องจากเชื่อว่ามีสรรพคุณทางยา โดยเฉพาะยาจีนเชื่อว่าเป็นยาเย็น สามารถดับพิษไข้ได้
"แรด" ยังเอาใช้กับผู้หญิงที่ทำตัวไม่เหมาะสม ไม่เป็นกุลสตรี ทำกิริยาไม่เหมาะสมเวลาอยู่กับผู้ชาย ท่านเคยสงสัยหรือไม่ว่าคำว่า "แรด" ทำไมถึงเอามาใช้กับคนได้
แรด เมื่อเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์ แรดตัวเมียจะมีความต้องการผสมพันธุ์สูง ทำทุกวิถีทางให้ได้มาซึ่งความต้องการทางเพศ ตัวผู้จะถูกไล่ต้อนให้มาผสมพันธุ์โดยเพศเมีย โดยการไล่ขวิด แต่ถ้าหากตัวผู้ไม่ยอมผสมพันธุ์ด้วยก็จะโดนแรดตัวเมียไล่ขวิดจนตาย แล้วไปหาตัวผู้ตัวอื่นต่อ
แต่หากไม่มีแรดตัวผู้มาผสมพันธุ์กับตัวเมียได้แล้ว แรดตัวเมียก็พร้อมที่จะผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ได้ โดยจะเห็นได้ทั่วไปในป่าสงวนในแอฟฟริกา ที่ช้างแอฟฟริกาผสมพันธุ์กับแรดตัวเมีย