มา Programmer คนแรกของโลก
Programmer คนแรกของโลก
โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลกคือใคร?
ทุกวันนี้เทคโนโลยีได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือแม้กระทั่งเครื่องจักร และหุ่นยนต์ ที่สามารถทำงานได้อย่างอัศจรรย์ใจโดยอัตโนมัติ แล้วสิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นมาได้ยังไง มันคงไม่มีทางที่จัดเกิดขึ้นมาเองโดยธรรมชาติแน่นอน กราฟิกหรือ เว็บไซต์ต่าง ดนตรีที่สามารถบันทึกลงแผ่นเสียงได้ เว็บไซต์ หรือ social ต่างๆ ที่ทำให้คนเราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เร็วมากขึ้น จนแทบรู้สึกว่าอยู่ใกล้กันแค่เอื้อมมือ
วัตถุดิบที่ใช้ในการสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาก็มีมากมาย จนเกิดมาเป็นชิ้นเป็นรูปเป็นร่าง เป็นอุปกรณ์ต่างๆ แต่ทว่า อุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นเหมือนของที่ไม่มีชีวิต และแทบไม่มีประโยชน์เลยหากไม่มีการป้อนคำสั่ง หรือสั่งให้มันทำงาน แล้วมันจะทำงานได้ยังไงล่ะ เราไม่อาจใช้พลังจิตหรือใช้ปากพูดให้มันทำงานได้เลยทันที หรือปัจจุบันอาจจะมีเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่สามารถสั่งให้ทำงานด้วยเสียง แต่ว่าก่อนที่จะสั่งด้วยเสียงนั่นเอง เราทำอะไรมันมาก่อน
นั่นแหละครับ จึงมีการคิดสร้างภาษา สำหรับเครื่อง Analytical Engine (เครื่องวิเคราะห์) และจากนั้นก็ได้พัฒนาและคิดค้นแนวคิดต่างๆมาเรื่อยๆ เป็นภาษา เพื่อใช้เป็นคำสั่งให้สิ่งเหล่านี้มีชีวิตขึ้นมา โดยอุปกรณ์เหล่านี้จะไม่สามารถเข้าใจภาษามนุษย์ จึงได้มีการคิดค้นภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อที่จะโปรแกรมให้อุปกรณ์ต่างๆทำงาน โดยผู้พัฒนาภาษาเขาเรียกว่า โปรแกรมเมอร์ หรือแปลว่า นักโปรแกรม นั่นเองครับ
เอดา ไบรอน เลิฟเลซ (Lady Augusta Ada Byron, Countess of Lovelace)
เป็นบุตรสาวของ ไบรอน (Lord Byron) เกิดเมื่อปี 1815 หลังจากเธอเกิดไม่นาน พ่อแม่ของเธอก็แยกทางกัน แม่ของเอดา จึงตัดสินใจเลี้ยงดูเธอให้เป็นผู้หญิงสมัยใหม่ และให้ศึกษาด้าน คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ ต่างไปจากกุลสตรีในตระกูลใหญ่ๆ ของอังกฤษ ทั่วไป คือสังคมชั้นสูงที่ แต่งสวยไปวันๆ
เมื่ออายุ 17 ปี ก็มีผู้แนะนำให้เอดารู้จัก Mrs. Somerville แห่ง เคมบริดจ์ ผู้หญิงเก่งแห่งยุค ที่เคยแปลงานของ Laplace มาเป็นภาษาอังกฤษ เอดาจึงเข้ามาคลุกคลีกับเพื่อนกลุ่มนี้ จนได้รู้จักกับ ชาลส์ แบบบิจ (Charles Babbage) บิดาของคอมพิวเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคณิตศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับอย่างสูง ในงานสังสรรค์แห่งหนึ่ง ในที่สุด ในงานวันนั้น ตอนที่แบบบิจ กล่าวว่า “what if a calculating engine could not only foresee but could act on that foresight” (จะเป็นอย่างไร ถ้าหากเครื่องคำนวณไม่เพียงสามารถหยั่งรู้ได้ หากแต่สามารถ ตอบสนองต่อการหยั่งรู้นั้นได้ด้วย) ไม่มีใครสนใจแนวคิดนี้ของ แบบบิจ เลย ยกเว้นเอดา ซึ่งเธอรู้สึกสนใจในงานนี้เป็นอย่างมาก จนอาสาที่จะช่วยพัฒนา โดยสิ่งที่เธอทำคือ การสร้างภาษาสำหรับ เครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของ แบบบิจ หลังจากนั้นไม่นาน เอดาได้แต่งงานกับท่าน เอิร์ลแห่ง เลิฟเลซ และมีบุตรด้วยกันสามคน
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ทั้งเอดาและแบบบิจ ยังเป็นเพื่อนกันทางจดหมาย และแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องเครื่องวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ โดยจดหมายของทั้งสองถูกเก็บไว้อย่างดีในยุคนี้ เพราะมีข้อมูลน่าสนใจมากมาย (ทั้งเรื่องจริง และจินตนาการ) เช่น เอดาบอกว่า เธอเชื่อว่าต่อไปเครื่องมืออันนี้ จะมีความสามารถที่จะแต่งเพลง ที่ซับซ้อน สร้างภาพกราฟิก นำมาใช้เพื่อการคำนวณขั้นสูง และพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์ได้ ในจดหมายฉบับหนึ่ง เอดาแนะนำ แบบบิจ ว่า ให้ลองเขียนแผนการทำงานของเครื่องมืออันนี้ ให้สามารถคำนวณ
Bernoulli numbers ขึ้นมา (Bernoulli numbers คือจำนวนอนุกรมที่อยู่ในรูป )
Lovelace's translation of Menabrea's "Analytical Engine"
ต่อมา แผนการทำงานที่ แบบบิจ เขียนขึ้นมาชิ้นนั้น ก็ถูกยกย่องว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตัว แรกของโลก เธอจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก เอดาก็ช่วยเขียนบรรยาย รายละเอียดการทำงานของเครื่องวิเคราะห์ แต่สุขภาพของเธอก็เริ่มมีปัญหา และสุดท้ายก็เสียชีวิตจากโรคมะเร็งด้วยเพียง 37 ปี
อีกร้อยกว่าปีต่อมา ในปี 1979 กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาได้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ มาตรฐาน ISO ขึ้นมาตัวแรก พร้อมตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ เลดี้ เอดา ว่า ภาษา “ADA” และในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ เอดาได้รู้จัก และอาสาช่วยงาน พร้อมทั้งอุปการะ นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ รวมทั้งนักเขียนหลายคน เช่น Sir David Brewster คนคิดคาไลโดสโคป,ชาลส์ วีทสโตน,ชาลส์ ดิกเก้นส์, และ ไมเคิล ฟาราเดย์