พลังงานใต้พิภพคืออะไร
|
พลังงานความร้อนใต้พิภพมาจากภูมิศาสตร์ของกรีก หมายถึง โลก และ ความร้อน ดังนั้น พลังงานความร้อนใต้พิภพคือพลังงานที่ได้มาจากความร้อนของโลกตามธรรมชาติ อุณหภูมิของโลกมีความแปรปรวนอย่างกว้างขวาง และพลังงานความร้อนใต้พิภพสามารถใช้งานได้ในตั้งแต่อุณหภูมิระดับปกติ จนถึง 300 องศาฟาเรนไฮต์ เพื่อการพาณิชย์ แหล่งเก็บความร้อนสามารถผลิตออกมาในรูปแบบของน้ำอุ่นซึ่งเป็นแหล่งผลิตที่จำเป็น โดยทั่วไป แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพจะอยู่ในรูปอุณหภูมิต่ำ (ต่ำกว่า 150 องศาเซลเซียส) หรือ อุณหภูมิสูง (สูงกว่า 150 องศาเซลเซียส) โดยที่พลังงานในรูปอุณหภูมิสูงจะถูกใช้เป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อการพาณิชย์ มีแหล่งพลังงานที่เรียกว่า “ระบบความร้อนใต้พิภพ” ซึ่งเป็น แหล่งพลังงานตามธรรมชาติ จากการที่โลกสร้างกระแสความร้อนขึ้นบริเวณผิวโลก ในรูปของไอน้ำและน้ำร้อน ตัวอย่างของแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพได้แก่ ภูเขาอิมพีเรียล วัลเลย์ ในเซาเธิร์น แคลิฟอร์เนีย
ปัจจุบัน โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานความร้อนใต้พิภพที่มี 3 ประเภท ดังนี้ 1.โรงไฟฟ้าแบบ Dry Steam 2.โรงไฟฟ้าแบบ Flash Steam 3. โรงไฟฟ้าแบบ Binary Cycle ข้อดีของระบบนี้คือ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากน้ำที่อุณหภูมิต่ำกว่า 2 แบบแรก (ตั้งแต่ 225 องศาฟาเรนไฮต์ ถึง 360 องศาฟาเรนไฮต์) โดยใช้สารทำงานที่มีจุดเดือดต่ำกว่าน้ำ นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าระบบนี้ยังไม่ปล่อยมลพิษสู่ชั้นบรรยากาศอีกด้วย ยกตัวอย่างโรงไฟฟ้าชนิดนี้ได้แก่ โรงไฟฟ้าใน คาซ่า เดียโบล ฮ็อต สปริง ที่โมโน เคาน์ตี้ รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
ขอบคุณที่มาเนื้อหา energysavingmedia.com |