ภาวะอุจจาระตกค้าง ขับถ่ายอุจจาระออกไม่หมดทำให้มีการตกค้างอยู่ภายในลำไส้
โพสท์โดย sompeansomped
อุจจาระตกค้าง เป็นภาวะที่ขับถ่ายอุจจาระออกไม่หมดทำให้มีการตกค้างอยู่ภายในลำไส้ หากปล่อยไว้เป็นเวลานานจนอุจจาระเกาะติดแน่น เมื่อมีอุจจาระใหม่ก็จะไม่สามารถขับอุจจาระเก่าออกไปได้ กลายเป็นอุจจาระที่แข็งติดแน่นสะสมไม่สามารถออกไปจากลำไส้ได้ ส่งผลให้มีอาการท้องผูกรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ หายใจติดขัด แน่นท้อง รู้สึกมีลมจำนวนมาก
สาเหตุของภาวะอุจจาระตกค้าง
ภาวะอุจจาระตกค้าง สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แม้แต่ผู้ที่มีสุขภาพดี หรือ อุจจาระทุกวัน โดยมีสาเหตุ ดังนี้
สาเหตุของอุจจาระอุดตันที่มาจากพฤติกรรม
- การเบ่งถ่ายอุจจาระผิดวิธี เช่น การเบ่งถ่ายขณะหายใจเข้าแล้วแขม่วท้อง
- การกลั้นอุจจาระ ผู้ป่วยอาจปวดอุจจาระในระหว่างการเดินทาง ระหว่างการประชุม หรือ สถานการณ์ต่าง ๆ จนต้องกลั้นอุจจาระไว้ไม่สามารถเข้าห้องน้ำขณะรู้สึกปวดได้
- ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยเรื้อรัง ที่เคลื่อนไหวน้อย
- รับประทานอาหารไขมันสูง เช่น เนื้อแดง หรือ อาหารที่ย่อยยาก ไม่มีกากใย รวมถึงอาหารที่ทำให้เกิดอาการอืดแน่นท้อง
- ไม่รับประทานผัก ผลไม้ หรือ รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยเกินไป
- การรับประทานอาหารประเภท แป้ง ไขมัน และ น้ำตาล มากจนเกินไป
- ขาดการออกกำลังกาย จึงขาดการกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่าย
- ดื่มน้ำน้อย ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
สาเหตุของอุจจาระอุดตันที่มาจากความผิดปกติของร่างกาย
- ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดบ่อย จนลำไส้เป็นพังผืด มีซอกหลืบให้อุจจาระไปตกค้าง
- ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคท้องผูก
- เกิดความผิดปกติของร่างกายบริเวณลำไส้
- ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุ ได้รับอาการบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง
- การใช้ยาที่มีคุณสมบัติลดการเคลื่นไหวของลำไส้เป็นเวลานาน เช่น ยากลุ่ม calcium channel blockers ซึ่งใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง ยาแก้ปวดกลุ่ม narcotics และยาลดกรด เป็นต้น
- โรคต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยโรคได้รับผลกระทบกับพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร เช่น โรคซึมเศร้า หรือ โรคไทรอยด์
อาการของภาวะอุจจาระตกค้าง
- ปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง ไม่สบายท้อง
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ต้องใช้แรงในการเบ่งอุจจาระอย่างมาก
- รู้สึกว่าอุจจาระไม่สุด หรือ อุจจาระไม่หมดท้อง
- มีเลือดปนอุจจาระ
- ปัสสาวะบ่อยจากการที่กระเพาะปัสสาวะถูกกดทับ
- ปวดหลังส่วนล่าง
- หายใจติดขัด หายใจได้ครึ่งเดียว ต้องหายใจลึก ๆ ตลอดเวลา
- รับประทานอาหารได้น้อย เบื่ออาหาร
- ขมคอ เรอเปรี้ยว และ ผายลมตลอดทั้งวัน
- อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ
การรักษาโรคอุจจาระอุดตัน
- แพทย์จะทำการสวนทวารหนักของผู้ป่วยด้วยนิ้ว
- การรักษาด้วยการเหน็บยา
- รักษาด้วยการให้ยา
- หากผู้ป่วยมีอาการของโรคอุจจาระอุดตันรุนแรง แพทย์จะทำการผ่าตัด เพื่อนำอุจจาระออกมาจากลำไส้ของผู้ป่วย
การป้องกัน ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอุจจาระอุดตัน
- ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลาทุกวัน โดยเฉพาะช่วงเช้าหลังตื่นนอน ประมาณ 5-7 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด
- ฝึกเบ่งถ่ายอุจจาระอย่างถูกวิธี ให้นั่งบนโถชักโครกแล้วโค้งตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย กรณีที่เท้าเหยียบไม่ถึงพื้นหรือเป็นเด็ก ควรมีที่วางเท้า เพื่อออกแรงเบ่งอุจจาระได้ดีขึ้น
- สำหรับคนที่ขับถ่ายยาก วิธีถ่ายให้หมดท้อง อาจใช้มือกดท้องด้านซ้ายล่างขณะขับถ่ายเพื่อช่วยกระตุ้นให้ลำไส้เคลื่อนตัวได้ดีขึ้น
- ลดอาหารที่มีไขมันสูง เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ต่าง ๆ
- ดื่มน้ำให้พอเพียง
- ไม่กลั้นอุจจาระเด็ดขาด ควรขับถ่ายทันทีที่ปวด
- หากยังไม่ปวดอุจจาระแต่จำเป็นต้องออกนอกบ้าน ไม่ควรพยายามเบ่งขณะที่ยังไม่ปวด เนื่องจากการเบ่งอุจจาระแรง ๆ เป็นการกระตุ้นและเพิ่มแรงดันในลำไส้ หากทำบ่อยอาจทำให้ลำไส้โป่งพอง เกิดริดสีดวงทวารได้
- กรณีมีภาวะท้องผูก ควรรับประทานอาหารที่มีโปรไบโอติกเพิ่ม เช่น นมเปรี้ยว ชาหมัก
- ฝึกหายใจให้ถูกวิธี โดยหายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟบ
- ไม่ควรเกร็งขณะเบ่งถ่าย
- ลุกขึ้นขยับร่างกายหลังรับประทานอาหาร เพื่อช่วยให้ลำไส้ได้บีบตัว และ กระเพาะอาหารย่อยอาหารได้ดีขึ้น
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- ปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: momon, thecrow
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
น้ำใจยิ่งใหญ่! หนุ่มไร้เงินขอติดรถกลับบ้าน เจอผู้ให้เต็มคันสุดอบอุ่น