มารู้จัก ทารันทูล่า กันเถอะ
ม เป็นสัตว์ขาปล้อง จัดอยู่ในกลุ่ม อาร์โธพอด (กิ้งกือ แมงป่อง กุ้ง ปู) ลักษณะเด่น คือ มีแปดขา และ สามารถชักใย ได้
แมงมุมถือเป็นสิ่งมีชีวิตโบราณ มีมาตั้งแต่สมัยก่อนที่มนุษย์จะถือกำเนิด มีหลากหลายสายพันธุ์ และ มีอยู่ในทุกทวีป
แต่ที่เราจะนำเสนอวันนี้ คือ แมงมุมที่มีสายพันธุ์เก่าแก่ ตัวใหญ่ ขนเยอะ นั่นก็คือ " ทารันทูล่า "
ทารันทูล่า เป็นแมงมุมขนาดใหญ่ มีอยู่มากมาย หลายสายพันธุ์ กระจายตัวในทุกทวีปทั่วโลก ทั้ง อเมริกา แอฟริกา เอเชีย และ ออสเตรเลีย
ทารันทูล่า สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ๆ คือ ทารันทูล่าอาศัยบนต้นไม้ และ ทารันทูล่าอาศัยบนดิน (จริงๆ มีแบบกึ่งต้นไม้ด้วย แต่จะนิยมแยกแค่ 2 แบบมากกว่า)
โดย ทารันทูล่า จะต่างจาก แมงมุมอื่นๆ ตรงที่จะไม่สร้างใยเพื่อคอยดักเหยื่อ แต่จะออกล่าเหยื่อมากกว่า ส่วนใยที่สร้าง จะใช้สร้างเป็นรังของมัน
ทารันทูล่า สามารถอดอาหารได้นาน เป็นเดือนๆ และ เชื่อหรือไม่ว่า แมงมุมทารันทูล่า ตัวเมีย มีอายุไขถึง 20 - 30 ปีเลยทีเดียว ในขณะที่ตัวผู้
จะมีอายุไข เพียงแค่ 5 ปี เท่านั้น (ซึ่งห่างกันมาก
ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับทารันทูล่า.......
ทารันทูล่า ถูกเข้าใจผิด ว่าเป็นแมงมุมที่มีพิษร้ายแรง และ เมื่อโดนมันกัดจะทำให้เสียชีวิตได้ !!!
โดยแท้จริงแล้ว แมงมุมทุกชนิดบนโลก มีพิษทุกตัว เนื่องจากใช้ในการฆ่าเหยื่อ แต่เนื่องจากมีขนาดที่เล็กจึงทำให้พิษนั้นใช้ได้ผลกับเฉพาะแมลงด้วยกันเท่านั้น ส่วนทารันทูล่า ถือเป็นแมงมุมที่มีขนาดใหญ่ พิษจึงมีประสิทธิภาพ ที่สามารถฆ่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กได้ด้วย เช่น หนู หรือ นกตัวเล็กๆ แต่ไม่สามารถฆ่าคนได้ นอกจากผู้ที่มีอาการแพ้ส่วนตัวเท่านั้น
เมืองไทยมีทารันทูล่าหรือไม่?
คำตอบก็คือ มี เมืองไทยของเราเป็นประเทศเขตร้อน ป่าในประเทศไทยจึงเป็นป่าเขตร้อน มีความอุดมสมบูรณ์สูง แมงมุมทารันทูล่าเองก็ชอบลักษณะอากาศแบบประเทศไทยเช่นกัน โดยในภาษาไทย ทารันทูล่าถูกเรียกในชื่อ " บึ้ง " นั่นเอง โดยชนิดที่พบเจอในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ
4 ชนิด คือ
บึ้งดำ (Haplopelma minax)
เป็นชนิดที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด ชาวบ้านในบางถ้องถิ่น นิยมนำมารับประทาน เพราะเนื้อนุ่มคล้ายเนื้อปู
อุดมไปด้วยสารอาหาร เป็นแมงมุมทารันทูล่าที่อาศัยอยู่บนดิน โดยจะขุดรูอยู่เป็นโพรงดิน และ อาศัยอยู่ในโพรง
ตอนกลางวัน และ จะออกหากินในตอนกลางคืน มีนิสัยที่ดุร้าย เมื่อถูกคุกคาม ก็จะทำการขู่ทันที (ถ้ายังโดนคุกคามอยู่ ก็จะกัด)
บึ้งน้ำเงิน (Haplopelma lividum)
เป็นชนิดที่สวยงามที่สุด ในประเทศไทย และเป็นที่นิยมเลี้ยง ในหมู่ของชาวต่างประเทศ
จนได้รับชื่อว่า Cobalt Blue เป็นทารันทูล่า ที่อาศัยอยู่บนดิน และขุดโพรงเช่นกัน มีนิสัยดุร้าย และ ก้าวร้าว
บึ้งลาย หรือ บึ้งม้าลาย (Haplopelma albostriatum)
มีลักษณะเด่น คือ ลาย ที่อยู่บริเวณทั้ง 8 จึงเป็นที่มาของชื่อ เป็นสายพันธุ์ที่พบน้อยที่สุดในประเทศไทย
(แต่ก็ไม่ถึงกับหายาก) เป็นทารันทูล่า ที่อาศัยอยู่บนดิน และ ขุดโพรงอาศัยอยู่เช่นเดียวกัน นิสัยดุ และ ก้าวร้าว
แต่จะน้อยกว่า บึ้งดำ และ น้ำเงิน
บึ้งน้ำตาล Chilobrachys huahini
เป็นทารันทูล่าที่อาศัยอยู่บนดิน และ ขุดโพรงดินอาศัยอีกเช่นกัน มีสีน้ำตาลอมแดงนิดๆ
นิสัยดุร้าย และ ก้าวร้าว เช่นกัน
นอกจาก 4 ชนิดนี้ ยังมีอีกหลายชนิด แต่ยังไม่ได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ และ ยังรอการตีพิมพ์อยู่อีกหลายๆ ชนิด
เรามาดูทารันทูล่า ในต่างประเทศกันบ้าง ว่าในต่างประเทศจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร.
ทารันทูล่าอาศัยบนดิน
Flame knee (Brachypelma auratum)
Golden Knee (Grammostola pulchripes )
Horn Baboon (Ceratogyrus darling)
Mexican golden red rump (Brachypelma albiceps)
Costarican tiger rump (Cyclosternum fasciatum) ตัวนี้มีขนาดเล็ก
Curlyhair (Brachypelma albopilosum)
Grammostola rosea
Orange baboon (Pterinochilus murinus usambara)
Mexican red knee (Brachypelma smithi)
Mexican fire leg (Brachypelma boehmei)
GBB (Green Bottle Blue) Chromatopelma cyaneopubescens
Monocentropus balfouri
Goliath bird eating spider หรือ แมงมุมกินนก สาเตุที่ได้ชื่อนี้มา ก็เพราะว่า เมื่อครั้งที่ค้นพบครั้งแรก มันกำลังกิน นกฮัมมิ่งเบริ์ด อยู่นั่นเอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Theraphosa blondi ซึ่งชนิดนี้ เป็นทารันทูล่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยอาจจะใหญ่ประมาณจานกินข้าวเลยทีเดียว
ทารันทูล่าอาศัยบนต้นไม้
Blue fang (Ephebopus cyanognathus)
Poecilotheria regalis
Poecilotheria ornata
Avicularia versicolor
Pink teo (Avicularia avicularia)
Venezuelan Sun tiger (Psalmopoeus iriminia)
Poecilotheria metallica
เอาแค่พอรู้จัก เล็กๆน้อยๆ เพราะ ทารันทูล่าทั่วโลกมีประมาณ 700 ชนิด
วันนี้ไปล่ะครับ เอาไว้เจอกันใหม่ในโพสหน้าน่ะครับ