พบหลักฐานชิ้นแรกจากอาหารมื้อสุดท้ายของไดโนเสาร์จำพวก “ซอโรพอด” ที่จะมายืนยันว่าแท้จริงแล้วพวกมันเป็นสัตว์กินเนื้อหรือกินพืชกันแน่
ซอโรพอด (sauropod) เป็นชื่อของไดโนเสาร์กลุ่มหนึ่ง โดยส่วนมากไดโนเสาร์จำพวกนี้จะมีขนาดใหญ่ ส่วนของกระโหลกจะเล็กเมื่อเทียบกับลำตัวของมัน มีคอยาวไม่น้อยกว่า 5 เมตร เดินสี่ขา หางยาว และถือว่าเป็นสัตว์กินพืช โดยปัจจุบันนักบรรพชีวินวิทยาได้พบหลักฐานที่ยืนยันว่าไดโนเสาร์จำพวกซอโรพอดเป็นสัตว์กินพืชจากซากฟอสซิลอาหารมื้อสุดท้ายของมันก่อนที่มันจะตาย
ในปี 2017 นักบรรพชีวินวิทยาได้ขุดพบ จูดี้ ซึ่งเป็นไดโนเสาร์จำพวกซอโรพอดสายพันธุ์พิเศษที่มีอายุมากกว่า 35 ล้านปี จูดี้ถูกค้นพบในเขตป่าห่างไกลของควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งชื่อของมันถูกตั้งตาม “จูดี้ เอลเลียต” หนึ่งในผู้ก่อตั้งพิพิธภัฑ์ Australian Age of Dinosaurs ในเมืองวินตัน โดยพวกเขาได้ยกให้จูดี้เป็นโครงกระดูกและผิวหนังของซอโรพอดที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยพบในออสเตรเลีย บริเวณท้องของจูดี้ยังมีชั้นหินที่แปลกประหลาดซึ่งเต็มไปด้วยซากฟอสซิลของพืช เป็นชั้นหินนี้มีพื้นที่ประมาณ 2 ตารางเมตรและหนาประมาณ 10 เซนติเมตรโดยเฉลี่ย
การวิเคราะห์โครงกระดูกของจูดี้โดยอาสาสมัครในห้องปฏิบัติการของพิพิธภัณฑ์ ทำให้เราสามารถจำแนกเธอได้ว่าเป็น Diamantinasaurus หรือเรียกอีกชื่อว่า matildae พวกเขาได้สแกนลำไส้ของจูดี้ด้วยรังสีเอกซ์ที่ Australian Synchrotron ในเมลเบิร์น และที่องค์การวิจัยอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์แห่งเครือจักรภพ (CSIRO) ในเพิร์ธ และสแกนด้วยนิวตรอนที่องค์กรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของออสเตรเลียในซิดนีย์
สิ่งนี้เผยให้เห็นว่าเนื้อหาในลำไส้กลายเป็นหินโดยจุลินทรีย์ในสภาพแวดล้อมที่มีกรด (อาจเป็นน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร) โดยแร่ธาตุน่าจะได้มาจากการสลายตัวของเนื้อเยื่อในร่างกายของจูดี้เอง จากการศึกษาข้อมูลในลำไส้ของจูดี้นั้นยืนยันได้ว่าซอโรพอดกินผักใบเขียวเป็นอาหาร แต่แทบจะไม่ได้เคี้ยวเลย แต่จะมีจุลินทรีย์ในลำไส้ทำหน้าที่ย่อยอาหารเป็นส่วนใหญ่
พืชที่ปรากฏอยู่ในลำไส้ของจูดี้บ่งบอกถึงการกินอาหารที่อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเป็นสิ่งชี้ว่ามันมันตายทั้ง ๆ ที่ยังไม่โตเต็มวัย ถึงแม้ว่าอาหารของซอโรพอดบางตัวจะเปลี่ยนไปเล็กน้อยเมื่อพวกมันโตขึ้น แต่พวกมันก็ยังคงเป็นสัตว์กินพืชตลอดไป












