"เบรกด้วยเครื่องยนต์" เกียร์อัตโนมัติ มีอะไรมากกว่าที่คิด ที่หลายคนยังไม่รู้
ระบบเกียร์อัตโนมัติ (ย่อว่าAT ) เป็น ระบบเกียร์หลายสปีดที่ใช้ในยานยนต์ซึ่งไม่ต้องการการสั่งการจากผู้ขับขี่เพื่อเปลี่ยนเกียร์เดินหน้าภายใต้สภาวะการขับขี่ปกติ
กระปุกเกียร์แบบ "รถไร้แรงม้า" ของ Sturtevant ปี 1904 มักถูกมองว่าเป็นเกียร์อัตโนมัติรุ่นแรกที่แท้จริง เกียร์อัตโนมัติที่ผลิตจำนวนมากรุ่นแรกคือ เกียร์อัตโนมัติไฮดรอลิกสี่สปีด Hydramatic ของ General Motors ซึ่งเปิดตัวในปี 1939
ระบบเกียร์อัตโนมัติเป็นที่นิยมอย่างมากในระบบส่งกำลังของยาน พาหนะ โดยเฉพาะยานพาหนะที่ต้องมีการเร่งความเร็วอย่างรวดเร็วและสภาวะการทำงานที่เดินเบา/ชั่วขณะบ่อยครั้ง โดยทั่วไปมักจะอยู่ในยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์/โดยสาร/อเนกประสงค์
เพจ รื้อไปเรื่อย ให้ควาสมรู้เรื่อง เกียร์อัตโนมัติ ที่หลายคนยังไม่รู้
เกียร์อัตโนมัติในรถของท่านมีระบบล็อคคันเกียร์เพื่อป้องกันการเข้าเกียร์ไม่ถูกต้องซึ่งหมายความว่าท่านสามารถเลื่อนคันเกียร์ออกจากตำาแหน่ง“P” ได้ในขณะเหยียบเบรกเท่านั้น (ขณะสวิตช์สตาร์ทอยู่ที่ตำแหน่ง ON”)
(ก) คันเกียร์
ตำแหน่งการเข้าเกียร์จะปรากฏขึ้นบนแผงมาตรวัดด้วย
P: จอดรถ สตาร์ทเครื่องยนต์ และดึงกุญแจสตาร์ทออก
R: ถอยหลัง
N: เกียร์ว่าง
D: ขับขี่ปกติ (สามารถเข้าเกียร์โอเวอร์ไดร์ฟได้)
3: เบรกด้วยเครื่องยนต์ (ไม่สามารถเลื่อนไปที่ตำแหน่งโอเวอร์ไดร์ฟ)
2: เพิ่มการเบรกด้วยเครื่องยนต์มากขึ้น
L: ให้กําลังเบรกด้วยเครื่องยนต์สูงสุด
(ข) การขับขี่ปกติ
1. สตาร์ทเครื่องยนต์ โดยเกียร์ต้องอยู่ที่ตำแหน่ง "P” หรือ “N”
2. เหยียบเบรกค้างไว้ จากนั้นเลื่อนคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง “D”
เมื่อคันเกียร์อยู่ในตำแหน่ง "D” ระบบเกียร์อัตโนมัติจะเลือกตำแหน่งเกียร์ที่เหมาะสมที่สุดกับสภาพการขับขี่ เช่น ขับขี่ด้วยความเร็วปกติ ขับขึ้นเขา การลากจูง ฯลฯ
เข้าเกียร์ตำแหน่ง "D” ไว้ตลอดเวลาเพื่อช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและลดเสียงรบกวนขณะขับขี่ ถ้าอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นเครื่องยนต์ต่ำเกียร์จะไม่สามารถเข้าเกียร์โอเวอร์ไดร์ฟได้แม้เกียร์จะอยู่ในตำแหน่ง "D” ก็ตาม
**คำเตือนอย่าเหยียบคันเร่งขณะเปลี่ยนเกียร์**
3. ปลดเบรกมือและปล่อยเท้าจากการเหยียบเบรก แล้วเหยียบคันเร่งช้าๆ เพื่อการออกตัวอย่างนุ่มนวล
(ค) การเบรกด้วยเครื่องยนต์
การใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรก ท่านสามารถลดเกียร์ลงได้ดังนี้:
เลื่อนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง “3” เกียร์จะลดลงเป็นเกียร์ 3 และจะเกิดแรงเบรกจากเครื่องยนต์
• เลื่อนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง “2” เกียร์จะลดลงเป็นเกียร์ 2 เมื่อความเร็วของรถตกลงต่ำหรือต่ำกว่า 87 กม./ชม. จะเกิดกำลังเบรกด้วยเครื่องยนต์มากขึ้น
• เลื่อนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง “L” เกียร์จะลดลงเป็นเกียร์ 1 เมื่อความเร็วของรถตกลงต่ำหรือต่ำกว่า 43 กม./ชม. และจะเกิดการเบรกด้วยเครื่องยนต์สูงสุด
**คำเตือน : ระมัดระวังเมื่อลดเกียร์บนถนนลื่น การลด
เกียร์ลงทันทีทันใดจะทำให้รถเสียหลักได้**
:สร้างโดยโดยเพจ "รื้อไปเรื่อย"
(ง) การใช้เกียร์ตำแหน่ง “2” และ “L”
ตำแหน่งเกียร์ “2” และ ”L" นี้ใช้เพื่อให้เกิดกำลังเบรกด้วยเครื่องยนต์มากขึ้นดังที่กล่าวมาแล้วเมื่อเกียร์อยู่ที่ตำแหน่ง “2” หรือ ”L" ท่านสามารถขับเคลื่อนรถได้เช่นเดียวกับเมื่อเกียร์อยู่ที่ตำแหน่ง D”
เมื่อเกียร์อยู่ที่ตำแหน่ง “2” รถจะเริ่มออกตัวด้วยเกียร์ 1 แล้วจึงเลื่อนไปเกียร์ 2 โดยอัตโนมัติเมื่อเกียร์อยู่ที่ตำแหน่ง “L” เกียร์จะคงอยู่ที่เกียร์ 1
**ข้อควรระวัง**
• ระวังอย่าให้เครื่องยนต์หมุนรอบจัดเกินไป คอยสังเกตมาตรวัดรอบ อย่าให้เข็มชี้อยู่ในช่วงสีแดง
ระดับความเร็วสูงสุดโดยประมาณของแต่ละเกียร์กำหนดไว้ดังนี้:
"2" .... 99 กม./ชม.
"L".......54 กม./ชม.
• อย่าใช้เกียร์ตำแหน่ง “2” หรือ “L” ขับขึ้นเขาหรือลากจูงหนักๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้เกียร์อัตโนมัติร้อนจัดและเกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เพื่อป้องกันความเสียหายดังกล่าว ควรใช้เกียร์ตำแหน่ง “D” หรือ “3” ในการขับขึ้นเขาหรือลากจูงหนัก
(จ) การถอยหลัง
1. จอดรถให้สนิท
2.เหยียบเบรกค้างไว้แล้วเลื่อนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง “R”
**ข้อควรระวัง**
อย่าเข้าเกียร์ถอยหลังขณะที่รถกำลังเคลื่อนที่
(ฉ) การจอดรถ
1. จอดรถให้สนิท
2. ดึงเบรกมือขึ้นจนสุดเพื่อใส่เบรกมือให้มั่นคง
3. ขณะเหยียบเบรก ให้เลื่อนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง "P"
**คำเตือน**
อย่าพยายามเลื่อนคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง “P” ในขณะที่รถยังจอดไม่สนิทไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม เพราะอาจทำให้กลไกเสียหายอย่างหนักและอาจสูญเสียการควบคุมรถได้
(ช) การขับขี่อย่างถูกวิธี
ถ้าเกียร์เปลี่ยนขึ้น-ลงซ้ำๆ บ่อยครั้งระหว่างเกียร์สามและเกียร์โอเวอร์ไดร์ฟขณะขับรถขึ้นเขาที่ไม่ชันมากนัก ควรเลื่อนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง “3” ต้องแน่ใจว่าได้เลื่อนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง “D” ทันทีเมื่อขับรถบนทางราบ เพื่อรักษาประสิทธิภาพในการเบรกด้วยเครื่องยนต์ อย่าใช้เกียร์ตำแหน่ง "D” ขณะลากจูงรถ เกียร์ต้องอยู่ที่ตำแหน่ง “3”
**คำเตือน**
ขณะจอดรถโดยที่ยังไม่ดับเครื่อง ให้เหยียบเบรกไว้เสมอ เพื่อป้องกันรถเลื่อน
**ข้อควรระวัง**
เมื่ออยู่บนทางลาดชันให้เหยียบแป้นเบรกหรือใส่เบรกสำหรับจอดเสมอ อย่าจอดรถบนทางลาดชันโดยใช้วิธีการเหยียบแป้นคันเร่ง เพราะจะทำให้เกียร์ร้อนจัดจนเกินไป
(ซ) ถ้าท่านไม่สามารถเลื่อนคันเกียร์ออกจากตำแหน่ง “P” ได้
ถ้าท่านไม่สามารถเลื่อนคันเกียร์ออกจากตำแหน่ง
“P” ได้แม้ว่าจะเหยียบเบรกแล้วก็ตาม ให้ใช้ปุ่ม
ปลดล็อคคันเกียร์














