ตำรวจอินโดออกกฎควบคุมนักข่าวต่างประเทศ
กฎระเบียบใหม่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ของอินโดนีเซีย ที่กำหนดขั้นตอนต่างๆเกี่ยวกับ การอนุญาตสำหรับนักข่าวต่างประเทศ ได้จุดชนวนให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรสื่อ และ องค์กรทางกฎหมาย ซึ่งระบุว่านโยบายดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อเสรีภาพสื่อ และ จำกัดการรายงานข่าวของสื่อต่างประเทศในประเทศ...
พลตำรวจเอก "ลิสตโย ซิกิต ปราโบโว" ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ลงนามในระเบียบตำรวจฉบับที่ 3/2025 ว่าด้วยการกำกับดูแลการทำงานของชาวต่างชาติ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2025 ว่า "ระเบียบดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกัน ภัยคุกคามต่อความมั่นคง การจารกรรม การก่อวินาศกรรม และ กิจกรรมโฆษณาชวนเชื่อต่อรัฐบาล"
นักวิจารณ์และประชาชน ต่างแสดงความไม่พอใจต่อมาตรา 5 และ 9 ของข้อบังคับดังกล่าว ซึ่งระบุข้อกำหนดบางประการ สำหรับชาวต่างชาติในการทำงานด้านสื่อสารมวลชน หรือ การวิจัยในอินโดนีเซีย ซึ่งรวมถึงการยื่นคำขอเป็นลายลักษณ์อักษร ที่มีข้อมูลส่วนบุคคลและการมีใบอนุญาต สื่อสารมวลชนอย่างเป็นทางการ... ซึ่งพวกเขาบอกว่า "บทบัญญัติดังกล่าว อาจป้องกันไม่ให้นักข่าวต่างประเทศ ทำงานในประเทศได้!!"
เพื่อตอบโต้คำวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าว "ลิสตโย ซิกิต ปราโบโว" กล่าวว่า "นักข่าวต่างชาติไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาต จากตำรวจจึงจะรายงานข่าวในอินโดนีเซียได้!!" และ "แม้จะไม่ได้รับอนุญาตจากตำรวจ นักข่าวต่างประเทศก็ยังปฏิบัติหน้าที่ได้ ตราบใดที่ไม่ละเมิดกฎหมายที่บังคับใช้" และ "ในระเบียบไม่ได้ระบุคำว่า "บังคับ" ไว้ แต่เราสามารถออกหนังสือดังกล่าวได้ หากมีผู้ค้ำประกันร้องขอ" และ "นักข่าวต่างประเทศสามารถร้องขอความคุ้มครองจากตำรวจได้ เมื่อรายงานข่าวในพื้นที่เสี่ยงต่อการขัดแย้ง เช่น ปาปัว"
แม้ว่า "ลิสตโย ซิกิต ปราโบโว" จะให้คำแนะนำที่ดี แต่ผู้สังเกตการณ์สื่อก็กล่าวว่า "กฎระเบียบใหม่นี้ ได้เพิ่มข้อกำหนดอีกชั้นหนึ่ง ที่นักข่าวต่างชาติจะต้องปฏิบัติตาม เมื่อรายงานข่าวจากอินโดนีเซีย"
การรายงานข่าวต่างประเทศในอินโดนีเซีย อยู่ภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ เช่น กฎหมายสื่อมวลชน และ กฎหมายการกระจายเสียง
นักข่าวต่างประเทศที่ต้องการเข้าประเทศอินโดนีเซีย จะต้องจัดเตรียมวีซ่าเยี่ยมชม C5 เป็นเวลา 60 วันโดยมีผู้สนับสนุนจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
สภาสื่อมวลชน ซึ่งได้รับอำนาจในการกำกับดูแลนักข่าวต่างประเทศ โดยกฎหมายสื่อมวลชน รู้สึกเสียใจต่อการออกกฎระเบียบของตำรวจ โดยเรียกว่าเป็น "ความพยายามในการควบคุมและเฝ้าติดตามการทำงานด้านสื่อสารมวลชน"
ประธานสภาสื่อมวลชนอินโดนีเซีย "นินิก ราฮายู" กล่าวว่า "ข้อบังคับนี้จะสร้างอำนาจที่ซ้ำซ้อน ยืดเวลาการบริหารราชการ และ เสี่ยงต่อการถูกเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เอารัดเอาเปรียบ" และ "เรามองว่าข้อบังคับนี้ ละเมิดหลักการของสื่อที่เป็นประชาธิปไตยและเป็นอิสระ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการยืนหยัดเพื่อเสรีภาพของสื่อมวลชน"
สถาบันความช่วยเหลือทางกฎหมาย สำหรับสื่อมวลชน เรียกกฎระเบียบดังกล่าวว่า "การแทรกแซงที่มากเกินไป และ การใช้อำนาจตำรวจเกินขอบเขต"
"มูฮัมหมัด อิสนูร์" จากมูลนิธิความช่วยเหลือทางกฎหมายแห่งอินโดนีเซีย กล่าวว่า "กฎระเบียบภายในของตำรวจเป็น การทรยศต่อรัฐธรรมนูญ และ ประชาธิปไตย" และ "กฎระเบียบดังกล่าว คุกคามความพยายามที่จะได้รับความไว้วางใจ จากชุมชนนานาชาติในอินโดนีเซีย" และ "ผมขออเรียกร้องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยกเลิกกฎระเบียบดังกล่าว" และ "งดออกนโยบายที่ละเมิดหลักการธรรมาภิบาล และ การเคารพสิทธิมนุษยชน!!"

















