Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน กินอะไรดี
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

10 บริษัทพัฒนาที่ดินที่ใหญ่ที่สุด

โพสท์โดย doctorsopon

            บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) ยังครองแชมป์ติดต่อกันมาเป็นปีที่ 5 แล้วในฐานะบริษัทพัฒนาที่ดินที่ใหญ่ที่สุดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งถือเป็นตลาดที่มีขนาดถึงครึ่งหนึ่งของตลาดที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) แถลงผลการสำรวจตลาดที่อยู่อาศัย ณ สิ้นปี 2567 พบผู้นำวงการอสังหาริมทรัพย์ว่าได้แก่ บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) ซึ่งเปิดตัวโครงการรวม 42 โครงการ จำนวน 8,757 หน่วย มีมูลค่า 47,778 ล้านบาท มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 5.456 ล้านบาท โดยเป็น “แชมป์” ทั้งในแง่จำนวนหน่วยและในแง่มูลค่าการพัฒนา

 

 

            บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) ที่พัฒนาสินค้าใหม่จำนวน 8,757 หน่วยนี้ ถือเป็น 14.2% ของหน่วยขายทั้งหมดที่เปิดในปี 2567 หรือประมาณหนึ่งในเจ็ดของทั้งหมด  ส่วนในแง่ของมูลค่าการพัฒนาที่เปิดตัวถึง 47,778 ล้านบาทนั้น ก็มีสัดส่วนเป็น 11.5% ของทั้งหมดที่เปิดตัว ณ มูลค่า 11.5% ของทั้งหมด หรือราวหนึ่งในเก้าของมูลค่าทั้งหมด ซึ่งถือว่าสูงมาก สูงกว่าบริษัทอันดับรองๆ ลงมาเป็นอย่างมาก

            ในด้านจำนวนหน่วย บริษัทที่พัฒนาเป็นอันดับที่ 2-5 ได้แก่ บมจ.โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ เป็นอันดับที่ 2 บมจ.ศุภาลัยเป็นอันดับที่ 3 บมจ.แสนสิริ เป็นอันดับที่ 4 และ บมจ.แอสเซทไวส์ เป็นอันดับที่ 5  ส่วนในด้านมูลค่าการพัฒนา ปรากฏว่าอันดับที่ 2 คือ บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น อันดับที่ 3 คือ บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮาส์ อันดับที่ 4 คือ บมจ.แสนสิริ และอันดับที่ 5 คือ บมจ.โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์

            บริษัทที่ขายสินค้าในราคาสูงสุดคือ บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ที่เปิดตัว 2 โครงการ จำนวนเพียง 62 หน่วย มีมูลค่ารวมถึง 15,696 ล้านบาท หรือเป็นเงินหน่วยละ 253.155 ล้านบาท  กรณีนี้อาจถือเป็นข้อยกเว้น บริษัทที่มักพัฒนาสินค้าราคาเฉลี่ยสูงสุดเป็น บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่นที่พัฒนาจำนวน 17 โครงการ รวมมูลค่า 32,676 ล้านบาท มี 1,648 หน่วย หรือหน่วยละ 19.827 ล้านบาท

            ในช่วง 31 ปีที่ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จะพบกว่าก่อนหน้านี้ “แชมป์” คงเป็น บจม.บางกอกแลนด์ ที่มีการพัฒนาเมืองทองธานีอย่างหลากหลายโครงการย่อย ต่อมาก็เป็น บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮาส์ที่เน้นการพัฒนาหลากหลายทำเล และต่อมาก็เป็น บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท เพราะนอกจากพัฒนาหลายทำเลแล้ว ยังพัฒนาหลายระดับราคาด้วย จึงครองแชมป์อย่างยาวนาน จนเมื่อราว 5 ปีก่อนหน้านี้ บมจ.เอ พี (ไทยแลนด์) จึงเข้ามาแทนที่ และ บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท ก็ไปพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อื่นที่มีรายได้เข้ามาประจำ เช่น อาคารสำนักงาน โรงพยาบาล การเกษตร เป็นต้น

            หากพิจารณาจากภาพรวมจะเห็นได้ว่า 10 บริษัทแรกล้วนเป็นบริษัทมหาชน มีจำนวนหน่วยรวม 56% ของทั้งหมด หรือ 34,711 หน่วยจากทั้งหมด 61,453 หน่วย  ส่วนในด้านมูลค่าการพัฒนาใหม่ในปี 2567 บริษัท 10 บริษัทแรกก็มีมูลค่ารวมสูงถึง 260,538 ล้านบาท จากทั้งหมด 413,773 หน่วย หรือเท่ากับ 63% หรือเกือบสองในสามของทั้งตลาด  แสดงว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นธุรกิจกึ่งผูกขาด

          แม้บริษัทในตลาดหลักทรัพย์จะมีส่วนแบ่งในตลาดเพิ่มขึ้นกว่าเมื่อ 10 ปีก่อน แต่ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะมีบริษัทใดที่ครอบงำตลาดเพียงบริษัทเดียว หรือสองสามบริษัท เพราะมีการแข่งขันที่ดี ในกลุ่มบริษัทใหญ่ ๆ ด้วยกัน และตามหลักการแล้ว ไม่มีใครสามารถครองส่วนแบ่งในตลาดได้มากถึงครึ่งหนึ่ง เพราะสินค้าอสังหาริมทรัพย์ยึดติดกับทำเล ไม่มีใครสามารถให้บริการได้ทุกทำเล ทั้งนี้ต่างกับสังหารัมทรัพย์ที่ยกไปขายได้ทั่วโลก

          อย่างไรก็ตามรัฐบาลควรเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises หรือ SMEs) ด้วยการบังคับให้ทุกบริษัททำสัญญาคุ้มครองเงินดาวน์ของผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันเป็นการทำกันตามความสมัครใจ บริษัทมหาชนใหญ่ ๆ ก็ไม่ยอมทำเพราะไม่ต้องการเพิ่มต้นทุน บริษัทเล็ก ๆ ทำก็จะเสียเปรียบรายใหญ่เพราะมีต้นทุนเพิ่มขึ้น หากบังคับให้ทุกบริษัททำประกันโดยทั้งบริษัทและผู้ซื้อต้องร่วมกันรับผิดชอบการคุ้มครองนี้ ก็จะทำให้แบรนด์ของบริษัทเล็ก ๆ มีความทัดเทียมกัน เพราะในขณะนี้บริษัทใหญ่ ๆ ใช้แต่ชื่อเสียงเป็นหลักประกันความอุ่นใจแก่ลูกค้า แต่จากประสบการณ์วิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมา ไม่ว่าบริษัทรายใหญ่และรายเล็กต่างไม่สามารถคุ้มครองประโยชน์ลูกค้าได้เช่นกัน

          ดังนั้นรัฐบาลจึงควรแก้ไขกฎหมาย หรือขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการทุกรายให้ทำสัญญาคุ้มครองเงินดาวน์ของคู่สัญญา มิฉะนั้นผู้ซื้ออาจจะได้แต่กระดาษสัญญาซื้อขาย หรือเสาบ้าน ในยามที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเช่นเมื่อครั้งปี พ.ศ.2540

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://www.area.co.th/t/8567
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
doctorsopon's profile


โพสท์โดย: doctorsopon
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
20 VOTES (5/5 จาก 4 คน)
VOTED: sky555, nuudaw, nj009, njgulf0408
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
หมอปลาทักแรง ภาคอีสานระวัง "ภูเขาไฟ" ดับไปแล้ว กำลังจะตื่นอีกทำไมเยอรมนีจึงเป็นประเทศแห่งวิศวกรรม ?
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
หมอปลาทักแรง ภาคอีสานระวัง "ภูเขาไฟ" ดับไปแล้ว กำลังจะตื่นอีกเลขเด็ด "แม่นมาก ขั้นเทพ" งวดวันที่ 2 พฤษภาคม 68 มาแล้ว!..รีบส่องเลย ก่อนหวยหมด!!
กระทู้อื่นๆในบอร์ด บ้าน คอนโด ที่ดิน
การให้ต่างชาติครองอสังหาฯ ผิดกฎหมาย คนไทยมีผิดหนักด้วยแชร์ประสบการณ์วัยรุ่นสร้างตัวด้วยการซื้อคอนโดปล่อยเช่าออกไปอยู่ชานเมืองแทนห้องชุดกลางเมือง คุ้มไหม ชั่งใจดูอาคารของไทยยังแข็งแรง แม้มีแผ่นดินไหว
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง