เข้านอนตอนท้องว่าง นอนในขณะที่หิว ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร
1.อาจจะนอนไม่หลับ
การเข้านอนโดยไม่รับประทานอาหารเย็น หรือจบมื้อเย็นก่อนเข้านอนหลายชั่วโมง อาจจะทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น อาจทำให้รู้สึกหิวเล็กน้อยขณะที่กำลังจะหลับ ความหิวจะกระตุ้นสมอง ทำให้นอนหลับไม่ลึกเพียงพอ การที่นอนไม่หลับยังส่งผลเสียตามมา อย่างเช่น การมีระดับการเผาผลาญภายในร่างกายลดลง อยากอาหารมากขึ้น ภูมิคุ้มกันต่ำลงและมีความเสี่ยงมากขึ้นในการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด
2.อาจจะมีน้ำหนักเพิ่มได้
ในความเป็นจริง ยิ่งหิวมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีการรับประทานมากขึ้นทีหลัง หากรอจนหิวมาก ๆ แล้วค่อยกิน ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดต่ำลงมากจนอาจเกิดผลเสียได้ การเข้านอนในขณะที่หิวจะทำให้ตื่นขึ้นมารับประทานอาหารปริมาณมากในตอนเช้า และทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้นเกินความพอดี ส่งผลต่อระบบเผาผลาญของร่างกายตลอดทั้งวัน
3.อาจสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ
งานวิจัย พบว่า การนอนในขณะที่หิว จะลดสารอาหารที่จะนำโปรตีนเข้าสู่กล้ามเนื้อ ร่างกายจะเริ่มทำการสลายกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงานแทน เพื่อให้คุณได้ประโยชน์จากการออกกำลังกายมากที่สุด ให้รับประทานอาหารเย็นก่อนเข้านอนเป็นเวลาหลายชั่วโมงและดื่มน้ำมาก ๆ รับประทานอาหารแต่พอดีจะช่วยให้หลับได้อย่างสบาย ร่างกายสามารถทำงานต่าง ๆ ในขณะที่นอนหลับได้ อย่างเช่น การซ่อมแซมและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เป็นต้น
4.สามารถควบคุมการกินได้
การตั้งเวลาในการรับประทานให้เป็นมื้อจะช่วยลดน้ำหนักได้ หากหิวก่อนเข้านอน ก็จะตื่นมารับประทานอาหารในตอนเช้ามากขึ้น เลือกรับประทานอาหารเช้าที่มีเส้นใยอาหารและโปรตีนมาก และทำให้ร่างกายเคยชินกับการรับประทานอาหารเป็นเวลา จะทำให้ลดการกินขนมคบเคี้ยวระหว่างวันได้
5.อาจจะมีพลังงานลดลง
ร่างกายมีการใช้พลังงานตลอด 24 ชั่วโมง จึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารให้เพียงพอต่อการใช้งานของร่างกายแม้ในขณะที่นอนหลับ งานวิจัยหนึ่ง พบว่า ผู้ชายที่รับประทานโปรตีนปั่น 30 กรัมก่อนเข้านอน จะมีระดับการใช้พลังงานขณะพักสูงขึ้นในตอนเช้าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับประทาน หากเข้านอนในขณะที่หิว ร่างกายที่ขาดพลังงานจะส่งผลต่อร่างกายตลอดทั้งวันได้
6.อาจจะมีอารมณ์ฉุนเฉียว
งานวิจัยหนึ่ง พบว่า ผู้ที่ไม่ได้รับประทานอาหารนั้นจะมีระดับ serotonin ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมนั้นจะมีระดับที่ไม่คงที่ ส่งผลต่อการทำงานของสมองที่ควบคุมอารมณ์โกรธ
7.อาจจะผอมลง
นักวิจัย พบว่า การรับประทานในตอนดึก จะทำให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ การนอนหลับในขณะที่อาหารยังไม่ย่อย จะทำให้มีระดับอินซูลินและน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง เมื่อมีการเคลื่อนไหวที่ลดลงในตอนกลางคืน ร่างกายก็จะเปลี่ยนพลังงานส่วนเกินเหล่านี้ให้กลายเป็นไขมันในขณะที่หลับ
นักวิจัยบางส่วน แนะนำให้รับประทานอาหารเย็นและอาหารเช้าของวันถัดไปห่างกันอย่างน้อย 12 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการรับประทานขนมคบเคี้ยวต่าง ๆ ในระหว่างวัน และให้เลือกขนมที่มีประโยชน์มีโปรตีนและเส้นใยอาหารในปริมาณมากแทน เพื่อหลีกเลี่ยงอาการหิวในช่วงดึก
8.ภาวะทุพโภชนาการ
ภาวะทุพโภชนา เป็นการบริโภคแคลอรี่น้อยกว่า 1,800 กิโลแคลอรี่ต่อวัน รวมถึงการขาดวิตามิน แร่ธาตุ และส่วนประกอบสำคัญอื่น ๆ ที่จำเป็นต่ออาหารที่สมดุล ภาวะทุพโภชนาการในระยะยาวอาจส่งผลให้เด็กเจริญเติบโตช้าลง รวมถึงปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ในทั้งเด็กและผู้ใหญ่




